ความอ่อนโยนและความสุขุม (⮫)


ความอ่อนโยนและความสุขุม

] ไทย – Thai – تايلاندي [

ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

แปลโดย : สะอัด วารีย์

ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

2014 - 1435

الرفق والأناة

« باللغة التايلاندية »

د. راشد بن حسين العبد الكريم

ترجمة: سعد واري

مراجعة: فيصل عبدالهادي

المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية

موقع الإسلام www.al-islam.com

2014 - 1435

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

ความอ่อนโยนและความสุขุม

อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

﴿ فَبِمَا رَحۡمَةٖ مِّنَ ٱللَّهِ لِنتَ لَهُمۡۖ وَلَوۡ كُنتَ فَظًّا غَلِيظَ ٱلۡقَلۡبِ لَٱنفَضُّواْ مِنۡ حَوۡلِكَۖ ﴾ [ال عمران: ١٥٩]

“เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์นั่นเอง เจ้า(มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบ ๆ เจ้ากันแล้ว” { อาลิอิมรอน:159 }

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

« إِنَّ اللَّهَ رَفِيقٌ يُحِبُّ الرِّفْقَ فِي الأَمْرِ كُلِّهِ » [متفق عليه]

“แท้จริงอัลลอฮฺคือผู้ทรงอ่อนโยน ทรงรักการอ่อนโยนในทุกกิจการ” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

ท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวกับ อะชัจญ์ อับดุลก็อยส์

« إِنَّ فِيكَ خَصْلَتَيْنِ يُحِبُّهُمَا اللهُ: الْحِلْمُ، وَالْأَنَاةُ » [أخرجه مسلم]

“ในตัวของท่านมีคุณสมบัติสองประการที่อัลลอฮฺทรงรัก คือ ความอ่อนโยน และความสุขุม” บันทึกโดยมุสลิม

(อะอะนาตุ หมายถึง สุขุม และไม่วู่วาม)

ท่านอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

« إِنَّ الرِّفْقَ لَا يَكُونُ فِي شَيْءٍ إِلَّا زَانَهُ، وَلَا يُنْزَعُ مِنْ شَيْءٍ إِلَّا شَانَهُ » [أخرجه مسلم]

“ความอ่อนโยน ไม่อยู่กับสิ่งใดนอกจากทำให้สิ่งนั้นสวยงาม และไม่ถูกถอดออกไปจากสิ่งใดนอกจากทำให้สิ่งนั้นมัวหมอง” บันทึกโดยมุสลิม

ท่านญะรีร บินอับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

« مَنْ يُحْرَمِ الرِّفْقَ، يُحْرَمِ الْخَيْرَ » [أخرجه مسلم]

“ผู้ใดถูกห้ามจากการมีความอ่อนโยน เขาก็ถูกห้ามจากความดีงาม” บันทึกโดยมุสลิม

ท่านอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

« أَلَا أُخْبِرُكُمْ بِمَنْ يَحْرُمُ عَلَى النَّارِ أَوْ بِمَنْ تَحْرُمُ عَلَيْهِ النَّارُ، عَلَى كُلِّ قَرِيبٍ هَيِّنٍ سَهْلٍ » [أخرجه الترمذي]

“เอาไหม ฉันจะบอกพวกท่านถึงผู้ที่เป็นที่ต้องห้ามของไฟนรก หรือท่านกล่าวว่า ผู้ที่นรกเป็นที่ต้องห้ามแก่เขา คือกับทุกคนที่อยู่ใกล้ชิด ที่อ่อนโยน เรียบง่าย” บันทึกโดยอัตติรมิซียฺ

ท่านอฺาอิซ บินอัมร์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

« إِنَّ شَرَّ الرِّعَاءِ الْحُطَمَةُ » [أخرجه مسلم]

“แท้จริงคนเลี้ยงสัตว์ที่เลวที่สุด คือคนที่ป่าเถื่อน” บันทึกโดยมุสลิม

(อัลหุเฏาะมะฮฺ คือผู้ที่ใช้ความรุนแรงในการเลี้ยงอูฐ)

คำอธิบาย

ความอ่อนโยน รอบคอบและไม่วู่วามเป็นลักษณะที่อัลลอฮฺทรงรัก และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้กระทำ และมันเป็นเหตุนำสิ่งที่ดีๆให้เข้ามา เพราะเป็นการทำให้ความเมตตา อาทรและความอ่อนโยนแพร่หลายในระหว่างพี่น้องมุสลิม ส่วนความโหดร้าย กักขระ และความรุนแรงเป็นกริยามารยาทอันน่าตำหนิที่อัลลอฮฺทรงกริ้ว ศาสนาอิสลามห้ามปรามไว้ และสมควรที่มุสลิมจะห่างไกลกับมัน เพราะเป็นสิ่งที่เกิดจากความผยองลำพองตน

ประโยชน์ที่ได้รับ

· แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักการสุขุมในทุกกิจการงาน

· ความสุขุมเป็นเหตุให้มีสิ่งดีๆเข้ามา

· ลักษณะของชาวสวรรค์ประการหนึ่งคือมีความเรียบง่ายและความอ่อนโยนในการปฏิบัติตัวกับสรรพสิ่งทั้งหลาย