มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิโดยสมบูรณ์ของอัลลอฮฺ เราขอสรรเสริญต่อพระองค์ เราขอความช่วยเหลือต่อพระองค์ และเราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายของตนเอง และจากความผิดพลาดที่เกิดจากการงานที่เราได้กระทำ ผู้ใดที่พระองค์ทรงให้ทางนำแก่เขาก็ไม่มีผู้ใดที่ทำให้เขาหลงทางได้และผู้ใดที่พระองค์ทรงให้เขาหลงทางก็ไม่มีใครสามารถทำให้เขาได้รับทางนำ
อนึ่ง...
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือผู้นำของลูกหลานอาดัม ซึ่งถือเป็นข้อเท็จจริงตามหลักการศาสนาที่ผู้ศรัทธาทุกคนต่างเห็นพ้องต้องกัน และการเห็นพ้องนี้เองที่ถือเป็นความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ที่ประชาชาตินี้ได้รับมา “อัลหัมดุลิลลาฮฺ”
ส่วนผู้ที่มีทัศนะผิดแปลกจากบางคนในประชาชาตินี้ที่ยกย่องอิมามบางคนเหนือท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทั้งในด้านความรู้หรือด้านอื่น ๆ [1] เพราะเรื่องราว(ที่อาจทำให้เข้าใจว่ามีคนอื่นประเสริฐกว่าท่านนบี)ที่ปรากฏในหนังสือบางเล่มนั้นก็จะมีผู้ที่มาอธิบายทำความเข้าใจ หรือไม่ก็จะมีสายรายงานอื่นที่ทำให้เรื่องราวนั้นขาดความน่าเชื่อถือไปโดยปริยาย
ตามจริงตำแหน่งและเกียรติศักดิ์ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และท่านคือผู้ที่มีสิทธิ์ในการให้ชะฟาอะฮฺ(ความช่วยเหลือในวันกิยามะฮฺ) และมีสิทธิ์ในสระน้ำ(อัลเหาฎฺ) และเป็นผู้ที่มีเกียรติศักดิ์อันสูงส่งทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นสิ่งที่ชัดเจนซึ่งข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่มีผู้ใดกล้าคัดค้านเช่นเดียวกัน
ปฏิเสธมิได้ว่า ความจำเริญ(ความบะเราะกะฮฺ)ที่มีอยู่ในตัวของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นได้ถูกส่งไปยังวงศ์เครือญาติของท่าน(อะฮฺลุลบัยตฺ)และบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม
โดยแน่นอน เกียรติศักดิ์ของวงศ์เครือญาติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังที่มีอายะฮฺอัลกุรอานและหะดีษของท่านเราะสูลุลลอฮฺที่ถูกรายงานโดยไม่ขาดตอน(มุตะวาติร)อย่างมากมายที่ได้สาธยายถึงเรื่องนี้ ซึ่งมันเองก็ได้ครอบคลุมถึงบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทั้งยังครอบคลุมถึงลูกหลานของพวกเขาด้วยเช่นกัน โดยที่ตัวบทเหล่านั้นเองที่มีการสาธยายถึงความประเสริฐและเกียรติศักดิ์ของพวกเขาทั้งหลาย
เช่นเดียวกัน ในทุกเรื่องราวที่กล่าวถึงบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม โดยแน่นอนวงศ์เครือญาติของท่านนบี อะลัยฮิมุสลาม ผู้ซึ่งได้รับเกียรติให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พวกเขาก็ย่อมเป็นกลุ่มชนแรกที่ถูกหมายรวมถึงในเรื่องราวเหล่านั้น
ที่จริงก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่พูดถึงบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไว้แล้ว ทำให้เนื้อหาในหนังสือเล่มเล็กๆ นี้ผมจะขอพูดถึงประเด็นของความรักความอ่อนโยนระหว่างบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม เป็นประเด็นหลัก ซึ่งสมควรที่เราอย่าให้ความรู้สึกเบื่อหน่ายมีผลต่อการพูดถึงเรื่องราวของบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ความประเสริฐของพวกเขา และความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างผู้ที่มีความจำเริญ(นั้นคือท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ซึ่งเป็นผู้ที่เราต้องให้การศรัทธาต่อการเป็นศาสนทูตของท่านกับบรรดาเศาะหาบะฮฺผู้ซึ่งได้รับเกียรติให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับท่านด้วยกับฉายาที่ถูกเรียกขานว่า “เศาะหาบีย์หรือเศาะหาบะฮฺ” รวมถึงประเด็นของเกียรติศักดิ์และตำแหน่งของพวกเขาในสวนสวรรค์อันสถาพรที่ไม่มีความเท่าเทียมกันโดยขึ้นอยู่กับการงานและการดิ้นร้นต่อสู้ของพวกเขาที่ทำร่วมกับผู้นำแห่งบรรดาศาสนทูต เช่นเดียวกับเกียรติศักดิ์ของชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศอร และผู้ที่มาหลังจากพวกเขาในโลกนี้(ก็ไม่มีความเท่าเทียมกัน) โดยพวกเขาเหล่านั้นอัลลอฮฺได้ทรงสัญญาถึงความดีงาม(นั้นคือสวนสวรรค์อันสถาพรที่พวกเขาจะได้รับ)ไว้ทั้งหมดแล้ว ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿لَا يَسۡتَوِي مِنكُم مَّنۡ أَنفَقَ مِن قَبۡلِ ٱلۡفَتۡحِ وَقَٰتَلَۚ أُوْلَٰٓئِكَ أَعۡظَمُ دَرَجَةٗ مِّنَ ٱلَّذِينَ أَنفَقُواْ مِنۢ بَعۡدُ وَقَٰتَلُواْۚ وَكُلّٗا وَعَدَ ٱللَّهُ ٱلۡحُسۡنَىٰۚ وَٱللَّهُ بِمَا تَعۡمَلُونَ خَبِيرٞ ١٠﴾ [الحديد : 10]
ความว่า “ในหมู่พวกเจ้านั้นมีผู้บริจาคและได้ต่อสู้ (ในทางของอัลลอฮฺ) ก่อนการพิชิต(นครมักกะฮฺ) ชนเหล่านั้นย่อมมีฐานะสูงส่งกว่าบรรดาผู้บริจาคและต่อสู้(ในทางของอัลลอฮฺ) หลังการพิชิต(นครมักกะฮฺ) และอัลลอฮฺทรงสัญญาความดีงาม (สวนสวรรค์) แก่ทั้งสองฝ่าย และอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (สูเราะฮฺ อัล-หะดีด : 10)
กล่าวได้ว่าพวกเขาเหล่านั้นมีความประเสริฐและเกียรติศักดิ์เป็นของตัวเอง และเราเองก็มีส่วนในเกียรติศักดิ์อันสูงส่งของเศาะหาบะฮฺด้วยเช่นกัน ซึ่งเกียรติศักดิ์ที่สูงส่งนี้มันมีขึ้นก็ด้วยกับบทบาทของพวกเขาเอง และเกียรติศักดิ์ของพวกเขาก็ขึ้นอยู่กับการงานที่ได้ทำ ดังนั้นพวกเขาจึงมีระดับชั้นที่แตกต่างกัน โดยที่กลุ่มชนแรกที่เข้ารับอิสลามพวกเขาจะมีเกียรติศักดิ์ที่สูงส่งที่สุด ส่วนผู้ที่อัลลอฮฺทรงผนวกพวกเขาให้เป็นทั้งเศาะหาบะฮฺและวงศ์เครือญาติของท่านนบี –นั้นคือวงศ์เครือญาติที่มีความบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน- ความศานติและความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺพึงมีแด่พวกเขาทั้งหลาย พวกเขาคือกลุ่มชนที่มีเกียรติศักดิ์ของการเป็นเศาะหาบะฮฺและได้รับสิทธิ์ในการเป็นวงศ์เครือญาติของท่านนบี โดยที่เกียรติศักดิ์ของพวกเขาก็ขึ้นอยู่กับการงานที่ได้ทำด้วยเช่นกัน
ผู้อ่านจะพบว่าการศึกษาถึงสาเหตุของความแตกแยกในประชาชาติอิสลามและการเยียวยาประเด็นที่สำคัญนี้นั้นถือเป็นภารกิจของผู้ศรัทธาและผู้คนในยุคร่วมสมัย เนื่องจากมันมีผลในวงกว้างต่อประชาชาตินี้ ซึ่งผมจะขอสรุปในการพูดถึงความรักความอ่อนโยนระหว่างบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับวงศ์เครือญาติของท่านนบี(อะฮฺลุลบัยตฺ) อะลัยฮิมุสลาม และต่อผู้คนทั้งหลายให้รวบรัดที่สุด ในการนี้เองแม้จะมีเหตุการณ์การสู้รบระหว่างพวกเขาด้วยกัน กระนั้นก็ตามพวกเขาก็ยังมีความรักความอ่อนโยนซึ่งกันและกันอยู่ ซึ่งนี่คือข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งที่แม้นว่านักเล่านิยายจอมปลิ้นปล้อนจะทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ หรือนักบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์บางคนจะไม่พูดถึงก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่ขาวบริสุทธิ์นี้ก็ยังคงปรากฏอยู่ที่พร้อมจะหักล้างเรื่องราวปรำปราและเรื่องราวที่นึกคิดเอาเองทางประวัติศาสตร์ของนักบันทึกส่วนใหญ่ ที่ทำให้ผู้ที่มักชอบในอารมณ์ใฝ่ต่ำและมีความทะเยอทะยานในผลประโยชน์ทางการเมืองและบรรดาศัตรูของอิสลามจะใช้ประโยชน์จากมัน เพียงเพื่อให้บรรลุถึงผลประโยชน์ของพวกเขา แม้ว่ามันจะเป็นบ่อเกิดของความแตกแยกและความขัดแย้งในประชาชาตินี้ก็ตาม
ผมขอเรียกร้องต่อนักศึกษาค้นคว้าและนักเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของประชาชาตินี้ และต่อผู้ที่เรียกร้องการผนึกกำลังและรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว รวมถึงผู้ที่กล่าวถึงพิษภัยของกระแสโลกาภิวัตน์และผลกระทบของมันซึ่งจำเป็นที่ต้องมีการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อเผชิญหน้า และรวมถึงผู้คนทั้งหลายของประชาชาตินี้
ผมขอพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า : ทำไมต้องยกประเด็นปัญหาทางประวัติศาสตร์มาโต้เถียงกัน ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะส่งผลในเชิงลบและอาจจะนำไปสู่การเป็นศัตรูกัน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีการศึกษาและพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ? หรือที่มันเป็นไปก็เพื่อให้คนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงจะได้ตกเป็นเหยื่อ หรือเพื่อให้ผู้คนเชื่อตามอย่างมืดบอด หรือเพื่อจะได้กอบโกยผลประโยชน์ทางด้านวัตถุเงินทอง ?
โดยแน่นอน ผู้อ่านต้องประหลาดใจในการใช้เวลาของนักเขียนและนักศึกษาหลายต่อหลายคนที่ได้ทุ่มเทความมุ่งมั่นของพวกเขาอย่างเต็มความสามารถในประเด็นปัญหาทางประวัติศาสตร์หรือแนวคิดต่าง ๆ ที่มันได้ก่อร่างจากสายรายงานที่ไร้ซึ่งความถูกต้อง(เฎาะอีฟ) ทั้งยังมีความคลุมเครือ หรือสอดคล้องกับอารมณ์ใฝ่ต่ำ ฯลฯ กระนั้นก็ตามในหมู่พวกเขาก็ยังมีความมั่นใจในสิ่งที่เขาได้ทำนั้นคือสิ่งที่ดีและทำให้เขาได้บรรลุถึงแก่นแท้ขององค์ความรู้แล้ว !!! เปล่าเลย...พวกเขาทำให้ประชาชาตินี้แตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ต่างหากล่ะ และถ้าผู้อ่านถามถึงผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาและการทุ่มเทความมุ่งมั่น(ในเรื่องดังกล่าว)ของพวกเขา ผู้อ่านก็จะไม่ได้รับคำตอบใด ๆ เลย !! อย่างดีที่สุดที่พวกเขาจะตอบนั้นคือ “ก็เป็นไปเพื่อความรู้ก็เพียงพอ !!!” แล้วไหนล่ะแก่นหลักขององค์ความรู้ที่พวกเขาต้องยึดมั่นไว้ ??
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในก่อนหน้านี้ว่า ในหนังสือ “เศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ” ได้มีการสาธยายถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับบรรดาเศาะหาบะฮฺผู้มีเกียรติของท่าน ซึ่งภารกิจบางประการของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นคือการอบรมขัดเกลาผู้ที่ศรัทธาต่อท่านซึ่งพวกเขาคือกลุ่มชนที่ไม่รู้จักหนังสือ(อุมมียีน) คือผู้ที่อัลลอฮฺทรงให้เกียรติแก่พวกเขาด้วยการศรัทธาต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และให้ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับท่าน ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿هُوَ ٱلَّذِي بَعَثَ فِي ٱلۡأُمِّيِّۧنَ رَسُولٗا مِّنۡهُمۡ يَتۡلُواْ عَلَيۡهِمۡ ءَايَٰتِهِۦ وَيُزَكِّيهِمۡ وَيُعَلِّمُهُمُ ٱلۡكِتَٰبَ وَٱلۡحِكۡمَةَ وَإِن كَانُواْ مِن قَبۡلُ لَفِي ضَلَٰلٖ مُّبِينٖ ٢﴾ [الجمعة : 2]
ความว่า “พระองค์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งเราะสูลขึ้นคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขาเองเพื่อสาธยายโองการต่าง ๆ ของพระองค์แก่พวกเขา และทรงทำให้พวกเขาผุดผ่อง และทรงสอนคัมภีร์และความสุขุมคัมภีร์ภาพแก่พวกเขา และแม้ว่าแต่ก่อนนี้พวกเขาอยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้งก็ตาม” (อัล-ญุมุอะฮฺ : 2)
ดังนั้น พวกเขาคือกลุ่มชนที่ท่านเราะสูลแห่งความเมตตาและแห่งทางนำ ได้อบรมสั่งสอนและขัดเกลาจิตวิญญาณของพวกเขา
ในหนังสือเล่มก่อนหน้านี้ก็ได้พูดถึงความสัมพันธ์ของท่านเราะสูลผู้เป็นแม่ทัพ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับทหารของท่าน
ท่านเราะสูลผู้ที่เป็นแบบอย่าง ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับผู้ที่ได้เจริญรอยตามท่าน
ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ผู้ที่เป็นเพื่อนบ้านกับผู้ที่อยู่เคียงข้างท่าน ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับท่าน
และท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ผู้เป็นผู้นำกับผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองของท่าน
เนื้อหาที่ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น(ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน)ที่ได้กล่าวถึงในหนังสือเล่มแรกนั้น ถ้าผู้อ่านท่านใดต้องการศึกษาเพิ่มเติมก็สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ “เศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ” -ยังไม่มีฉบับแปลเป็นภาษาไทย-
ผู้อ่านคงไม่มีข้อสงสัยหรือข้อกังขาใด ๆ ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเป็นผู้ที่ปฏิบัติภารกิจในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ให้แก่ท่านได้ดีที่สุด ทั้งการเผยแพร่คำสอนของศาสนา การขัดเกลาจิตวิญญาณบรรดาเศาะหาบะฮฺ และการอบรมสั่งสอนพวกเขา ฯลฯ ซึ่งส่วนหนึ่งของผลสัมฤทธิ์จากการอบรมขัดเกลานั้นเองที่ได้ผลิตอนุชนที่มีคุณภาพและได้กลายเป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่นของบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม
ซึ่งเพียงพอแล้วที่พวกเขาคือกลุ่มชนที่ดีเลิศยิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษยชาติ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿كُنتُمۡ خَيۡرَ أُمَّةٍ أُخۡرِجَتۡ لِلنَّاسِ ١١٠﴾ [آل عمران : 110]
ความว่า “พวกเจ้านั้น เป็นประชาชาติที่ดียิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษย์ชาติ” (สูเราะฮฺ อาลิอิมรอน : 110)
ดังนั้น ขอให้ผู้อ่านได้พินิจพิจารณาในคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลานี้เถิด (أُخۡرِجَتۡ لِلنَّاسِ) ใครกันที่เป็นผู้อุบัติพวกเขาขึ้นมา และทำให้พวกเขาได้รับเกียรติศักดิ์นี้ ? และเช่นนี้เองดังคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿وَكَذَٰلِكَ جَعَلۡنَٰكُمۡ أُمَّةٗ وَسَطٗا لِّتَكُونُواْ شُهَدَآءَ عَلَى ٱلنَّاسِ وَيَكُونَ ٱلرَّسُولُ عَلَيۡكُمۡ شَهِيدٗاۗ ﴾ [البقرة : 143]
ความว่า “และในทำนองเดียวกัน เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่เป็นกลาง เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานแก่มนุษย์ทั้งหลาย และเราะสูลก็จะเป็นสักขีพยานแด่พวกเจ้า” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 143)
ตามจริงยังมีอายะฮฺอัลกุรอานอีกหลายตัวบทที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมาเพื่อพรรณนาถึงคุณลักษณะของพวกเขา ยกย่องสรรเสริญพวกเขาและกล่าวถึงพวกเขา ซึ่งก่อนหน้านี้ผมก็ได้พูดถึงท่าทีบางประการของพวกเขาและอายะฮฺอัลกุรอานที่ถูกประทานลงมายังพวกเขาไว้แล้ว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องกล่าวถึงมันอีก
ผู้อ่านคงยังจำได้ว่า บรรดาเศาะหาบะฮฺนั้นพวกเขาคือกลุ่มชนที่มีอัตลักษณ์ที่ไม่มีกลุ่มชนใดเสมอเสมือน พวกเขาได้รับความดีงามที่ไม่มีผู้ใดหลังจากพวกเขาจะได้รับอีก เพราะพวกเขาได้รับเกียรติให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยที่ท่านได้ให้การดูแล อบรมและสั่งสอนพวกเขา และด้วยกับพวกเขาที่ท่านนบีได้ต่อสู้กับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และพวกเขาเองก็ให้การช่วยเหลือต่อท่านนบีเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เราขอเลือกคุณลักษณะของบรรดาเศาะหาบะฮฺเพียงคุณลักษณะเดียวเท่านั้นที่เห็นควรมาศึกษา ทำความเข้าใจ และกล่าวถึงมันเป็นประเด็นหลัก ทั้งนี้ก็เพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้เป็นที่เข้าใจกันดีของพี่น้องมุสลิมที่มีอยู่ในกลุ่มต่าง ๆ
แล้วท่านรู้หรือไม่ว่า มันคือคุณลักษณะอะไร ? ใช่แล้ว..มันคือคุณลักษณะ “อัร-เราะหฺมะฮฺ” หมายถึง ความเมตตา (หรือความรักความอ่อนโยน [2] ) นั้นเอง
ผู้อ่านกำลังครุ่นคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะอันมีเกียรตินี้ร่วมกับผมอยู่หรือไม่ ? แน่นอนเลยทีเดียว ผู้อ่านจะต้องพบกับเหตุผลอันมากมาย -โดยไม่มีข้อสงสัยใด ๆ อีก- ที่จะต้องพูดถึงมัน แต่อย่างไรก็ตามผมก็ขอนำเสนอเหตุผลบางประการแก่ผู้อ่าน ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการสรุปเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ให้รวบรัดที่สุด
เหตุผลที่หนึ่ง...เนื้อแท้ของคุณลักษณะข้างต้นมันเต็มไปด้วยนัยต่าง ๆ อย่างมากมาย และในอัลกุรอานและหะดีษของท่านเราะสูลุลลอฮฺ–ความศานติและการสถาพรของอัลลอฮฺจงมีแด่ท่าน และวงศ์เครือญาติอันบริสุทธิ์ของท่าน ตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺที่ดียิ่งทั้งหลาย- ก็มีการพูดถึงมัน ในการนี้เองพระผู้อภิบาลของเรา สุบหานะฮุ วะตะอาลา จึงเป็นผู้ทรงเมตตา(อัร-เราะหฺมาน) ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง(อัร-เราะฮีม)
และอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้กล่าวถึงท่านนบี ผู้เป็นที่รัก ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไว้ว่า
﴿لَقَدۡ جَآءَكُمۡ رَسُولٞ مِّنۡ أَنفُسِكُمۡ عَزِيزٌ عَلَيۡهِ مَا عَنِتُّمۡ حَرِيصٌ عَلَيۡكُم بِٱلۡمُؤۡمِنِينَ رَءُوفٞ رَّحِيمٞ ١٢٨﴾ [التوبة : 128]
ความว่า “แท้จริงมีเราะสูลคนหนึ่งจากพวกท่านเองได้มาหาพวกท่านแล้ว เป็นที่ลำบากใจแก่เขาในสิ่งที่พวกท่านได้รับความทุกข์ยาก เป็นผู้ห่วงใย เป็นผู้เมตตา ผู้กรุณาสงสาร ต่อบรรดาผู้ศรัทธา” (สูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ : 128)
และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองก็ได้กล่าวว่า
«مَنْ لاَ يَرْحَمُ لاَ يُرْحَمُ» [البخاري برقم 5997، ومسلم برقم 2318]
ความว่า “ผู้ใดไม่เมตตา (ต่อผู้อื่น) เขาก็จะไม่ได้รับการเมตตา(จากอัลลอฮฺ)” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 5997 และมุสลิม หมายเลข : 2318)
ซึ่งการกล่าวถึงเนื้อแท้ของคุณลักษณะนี้นั้นเป็นเรื่องที่ยืดยาวอย่างยิ่ง และหลักฐานที่กล่าวถึงมันก็มีอย่างมากมาย แต่กระนั้นเองก็เป็นสิ่งที่ผู้อ่านรู้ดีอยู่แล้ว
เหตุผลที่สอง... อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ทรงคัดเลือกคุณลักษณะนี้ในการยกย่องและเทิดเกียรติบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งการคัดเลือกคุณลักษณะนี้เป็นการเฉพาะนั้นมันมีเหตุผล(หิกมะฮฺ)และมีประโยชน์อย่างลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง และหนึ่งในความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานในศาสตร์ด้านความรู้ก็คือการได้พรรณนาถึงพวกเขาด้วยกับคุณลักษณะนี้
ซึ่งผู้ใดก็ตามที่พินิจพิจารณาถึงคุณลักษณะนี้เขาก็จะพบกับความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานได้อย่างประจักษ์ชัด เพราะหลักฐานที่ระบุเจาะจงว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺมีคุณลักษณะอัรเราะหฺมะฮฺหรือความรักความเมตตานั้นมันได้ปรากฏขึ้นจริงระหว่างพวกเขากันเอง
ก็เพราะคุณลักษณะนี้จะเป็นข้อหักล้างในทุกข้อครหาที่แม้ยังไม่ปรากฏให้เห็นหรือยังไม่มีการบันทึกในหนังสือต่าง ๆ(ในช่วงเวลาก่อนที่คุณลักษณะนี้จะถูกกล่าวถึง -ผู้แปล-) แต่มันก็ได้ปรากฏให้เห็นภายหลังจากนั้นที่มีนักประวัติศาสตร์หลายคนได้บันทึกเรื่องราว(ที่เป็นการใส่ไคล้บรรดาเศาะหาบะฮฺ-ผู้แปล-) อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่ง
อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿مُّحَمَّدٞ رَّسُولُ ٱللَّهِۚ وَٱلَّذِينَ مَعَهُۥٓ أَشِدَّآءُ عَلَى ٱلۡكُفَّارِ رُحَمَآءُ بَيۡنَهُمۡۖ تَرَىٰهُمۡ رُكَّعٗا سُجَّدٗا يَبۡتَغُونَ فَضۡلٗا مِّنَ ٱللَّهِ وَرِضۡوَٰنٗاۖ سِيمَاهُمۡ فِي وُجُوهِهِم مِّنۡ أَثَرِ ٱلسُّجُودِۚ ذَٰلِكَ مَثَلُهُمۡ فِي ٱلتَّوۡرَىٰةِۚ وَمَثَلُهُمۡ فِي ٱلۡإِنجِيلِ كَزَرۡعٍ أَخۡرَجَ شَطَۡٔهُۥ فََٔازَرَهُۥ فَٱسۡتَغۡلَظَ فَٱسۡتَوَىٰ عَلَىٰ سُوقِهِۦ يُعۡجِبُ ٱلزُّرَّاعَ لِيَغِيظَ بِهِمُ ٱلۡكُفَّارَۗ وَعَدَ ٱللَّهُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ مِنۡهُم مَّغۡفِرَةٗ وَأَجۡرًا عَظِيمَۢا ٢٩﴾ [الفتح : 29]
ความว่า “มุหัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธศรัทธา เป็นผู้เมตตาสงสาร(หรือมอบความรักความอ่อนโยน)ระหว่างพวกเขาเอง เจ้าจะเห็นพวกเขาเป็นผู้รูกูอฺ ผู้สุญูด โดยแสวงหาคุณความดีจากอัลลอฮฺและความโปรดปราน (ของพระองค์) เครื่องหมายของพวกเขาอยู่บนใบหน้าของพวกเขาเนื่องจากเราะงรอยแห่งการสุญูด นั่นคืออุปมาของพวกเขาที่มีอยู่ในอัตเตารอต และอุปมาของพวกเขาที่มีอยู่ในอัล-อินญีล ประหนึ่งเมล็ดพืชที่งอกหน่อหรือกิ่งก้านของมันออกมาแล้วทำให้มันงอกงาม แล้วมันก็เติบโตแข็งแรงและทรงตัวอยู่ได้บนลำต้นของมัน นำความปลื้มปิติมาให้แก่ผู้หว่าน เพื่อที่พระองค์จะก่อความโกรธแค้นแก่พวกปฏิเสธศรัทธาเพราะพวกเขา (มุสลิมีน) และอัลลอฮฺทรงสัญญาแก่บรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลายในหมู่พวกเขาว่าจะได้รับการอภัยโทษและรางวัลอันใหญ่หลวง” (สูเราะฮฺอัล-ฟัตหฺ : 29)
เหตุผลที่สาม... การยืนยันถึงข้อเท็จจริงที่ว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีความรักความอ่อนโยนซึ่งกันและกัน และคุณลักษณะของความรักความอ่อนโยนก็ได้ฝั่งลึกอยู่ในก้นบึ้งของหัวใจพวกเขาอย่างมั่นคงนั้น จะเป็นการหักล้างข้อคลุมเครือและเรื่องเล่าปรัมปราที่พยายามฉายภาพบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเป็นกลุ่มชนที่ป่าเถื่อนโหดร้ายต่อพวกเขากันเอง และการเป็นศัตรูกันระหว่างพวกเขานั้นได้ปรากฏให้เห็นอย่างดาษดื่น!!!
โดยแน่นอน หากตัวผู้อ่านมีความมั่นใจอย่างมั่นคงแล้วว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺนั้นมีความรักความอ่อนโยนซึ่งกันและกัน และความมั่นใจนี้ก็ได้ถูกฝั่งลึกอยู่ในก้นบึ้งของหัวใจแล้ว หัวใจของผู้อ่านก็ย่อมจะมีแต่ความสงบสุข และมันก็จะไม่มีความเคียดแค้นใด ๆ ต่อผู้ที่อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ให้วิงวอนขอดุอาอ์ต่อพวกเขา ดังที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿وَٱلَّذِينَ جَآءُو مِنۢ بَعۡدِهِمۡ يَقُولُونَ رَبَّنَا ٱغۡفِرۡ لَنَا وَلِإِخۡوَٰنِنَا ٱلَّذِينَ سَبَقُونَا بِٱلۡإِيمَٰنِ وَلَا تَجۡعَلۡ فِي قُلُوبِنَا غِلّٗا لِّلَّذِينَ ءَامَنُواْ رَبَّنَآ إِنَّكَ رَءُوفٞ رَّحِيمٌ ١٠ [الحشر : 10]
ความว่า “และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขาโดยพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเราทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ซึ่งได้ศรัทธาก่อนหน้าเรา และขอพระองค์อย่าได้มีการเคียดแค้นเกิดขึ้นในหัวใจของเราต่อบรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเราแท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ : 10)
เหตุผลที่สี่... หลักเกณฑ์บางประการที่นักค้นคว้าทุกคนต้องมีนั้นคือ การให้ความสำคัญในเรื่องตัวบทหลักฐาน(มะตัน)และสายรายงาน(อิสนาด) และการศึกษาในตัวบทที่ถูกรายงานที่มีการพิสูจน์ถึงความถูกต้องในสายรายงานของมันแล้ว หลังจากนั้นก็นำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับตัวบทของอัลกุรอานและหลักเกณฑ์(อุศูล)ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในศาสนาอิสลาม รวมถึงการรวบรวมสายรายงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในประเด็นเดียวกัน ดังกล่าวนี้เองที่ถือเป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าของบรรดาผู้รู้ทุกคน
ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเอาใจใส่ในกระบวนนี้ต่อการศึกษาเรื่องราวที่ถูกบันทึกในหนังสือทางประวัติศาสตร์ แต่เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่เรื่องการศึกษาสายรายงาน(อิสนาด)นั้นเป็นที่ละเลยของนักค้นคว้าหลายคน เพียงแค่เรื่องราว(โดยไม่มีสายรายงาน)ถูกบันทึกในหนังสือทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีก็เป็นอันเพียงพอแล้วสำหรับพวกเขา!! แต่สำหรับอีกกลุ่มหนึ่งที่เข้มงวดในเรื่องสายรายงานแต่ก็กลับละเลยในการพิจารณาตัวบทว่ามีความสอดคล้องกับอัลกุรอานมากน้อยแค่ไหน ???
ก่อนที่ผู้อ่านจะตัดสินและรีบร้อนในการกล่าวหาหรือหุ่กุมในสิ่งที่ผู้อ่านได้สะสมไว้ในตัวที่มันเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งข้อมูลและความรู้สึกที่ไม่ดีทั้งหมดที่ผู้อ่านมีอยู่ (เช่น ข้อมูลที่ผู้อ่านได้รับมาจากหนังสือที่ได้ฉายภาพว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺกับอะฮฺลุลบัยตฺนั้นมีความเคียดแค้นและเป็นศัตรูกัน -ผู้แปล-) ผมขอให้ผู้อ่านค่อย ๆ อ่านหลักฐานต่าง ๆ ที่ผมจะนำเสนอถึงมัน ณ ที่นี้ ซึ่งมันอาจจะไม่เป็นที่คุ้นเคยมากนักสำหรับผู้อ่าน แต่มันมีความชัดเจน มีความถูกต้อง และมีความหนักแน่นในแง่ของความหมายและการบ่งชี้ถึงนัยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะมันเป็นหลักฐานที่อ้างถึงสิ่งที่มันเกิดขึ้นที่สามารถสัมผัสและรับรู้ถึงมันได้ เช่นเดียวกันความหนักแน่นของหลักฐานที่มาจากอัลกุรอาน ซึ่งนี่คือ อายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺอัล-ฟัตหฺ
﴿مُّحَمَّدٞ رَّسُولُ ٱللَّهِۚ وَٱلَّذِينَ مَعَهُۥٓ أَشِدَّآءُ عَلَى ٱلۡكُفَّارِ رُحَمَآءُ بَيۡنَهُمۡۖ تَرَىٰهُمۡ رُكَّعٗا سُجَّدٗا يَبۡتَغُونَ فَضۡلٗا مِّنَ ٱللَّهِ وَرِضۡوَٰنٗاۖ سِيمَاهُمۡ فِي وُجُوهِهِم مِّنۡ أَثَرِ ٱلسُّجُودِۚ ذَٰلِكَ مَثَلُهُمۡ فِي ٱلتَّوۡرَىٰةِۚ وَمَثَلُهُمۡ فِي ٱلۡإِنجِيلِ كَزَرۡعٍ أَخۡرَجَ شَطَۡٔهُۥ فََٔازَرَهُۥ فَٱسۡتَغۡلَظَ فَٱسۡتَوَىٰ عَلَىٰ سُوقِهِۦ يُعۡجِبُ ٱلزُّرَّاعَ لِيَغِيظَ بِهِمُ ٱلۡكُفَّارَۗ وَعَدَ ٱللَّهُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ مِنۡهُم مَّغۡفِرَةٗ وَأَجۡرًا عَظِيمَۢا ٢٩﴾ [الفتح : 29]
ความว่า “มุหัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธศรัทธา เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขาเอง เจ้าจะเห็นพวกเขาเป็นผู้รูกูอฺ ผู้สุญูด โดยแสวงหาคุณความดีจากอัลลอฮฺและความโปรดปราน (ของพระองค์) เครื่องหมายของพวกเขาอยู่บนใบหน้าของพวกเขาเนื่องจากเราะงรอยแห่งการสุญูด นั่นคืออุปมาของพวกเขาที่มีอยู่ในอัตเตารอต และอุปมาของพวกเขาที่มีอยู่ในอัล-อินญีล ประหนึ่งเมล็ดพืชที่งอกหน่อหรือกิ่งก้านของมันออกมาแล้วทำให้มันงอกงาม แล้วมันก็เติบโตแข็งแรงและทรงตัวอยู่ได้บนลำต้นของมัน นำความปลื้มปิติมาให้แก่ผู้หว่าน เพื่อที่พระองค์จะก่อความโกรธแค้นแก่พวกปฏิเสธศรัทธาเพราะพวกเขา (มุสลิมีน) และอัลลอฮฺทรงสัญญาแก่บรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลายในหมู่พวกเขาว่าจะได้รับการอภัยโทษและรางวัลอันใหญ่หลวง” (สูเราะฮฺอัล-ฟัตหฺ : 29)
และอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ดำรัสอีกว่า
﴿وَٱلَّذِينَ جَآءُو مِنۢ بَعۡدِهِمۡ يَقُولُونَ رَبَّنَا ٱغۡفِرۡ لَنَا وَلِإِخۡوَٰنِنَا ٱلَّذِينَ سَبَقُونَا بِٱلۡإِيمَٰنِ وَلَا تَجۡعَلۡ فِي قُلُوبِنَا غِلّٗا لِّلَّذِينَ ءَامَنُواْ رَبَّنَآ إِنَّكَ رَءُوفٞ رَّحِيمٌ ١٠﴾ [الحشر : 10]
ความว่า “และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขาโดยพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเราทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ซึ่งได้ศรัทธาก่อนหน้าเรา และขอพระองค์อย่าได้มีการเคียดแค้นเกิดขึ้นในหัวใจของเราต่อบรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเราแท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ : 10)
ขอให้อ่านอายะฮฺเหล่านี้และพินิจพิจารณาในความหมายของมันเถิด โอ้ผู้ที่อัลลอฮฺทรงให้ความคุ้มครอง
ข้อบ่งชี้เรื่องความสัมพันธ์ในด้านการตั้งชื่อ
ชื่อเป็นตัวบ่งชี้สิ่งที่ถูกตั้งชื่อนั้นๆ และด้วยกับชื่อนั้นเองที่จะแยกแยะคนคนหนึ่งคนกับอีกคนได้ จึงทำให้การตั้งชื่อนั้นได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของผู้คนโดยทั่วไป ดังนั้น คนที่มีสติปัญญาก็จะไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ในความสำคัญของชื่อ เพราะด้วยกับชื่อที่ทำให้รู้ว่าเด็กที่เกิดมานั้นเป็นคนละคนกับพี่น้องของเขาและกับคนอื่น ๆ และชื่อของแต่ละคนก็กลายเป็นที่รู้กันทั้งตัวของเขาเอง ลูกหลานของเขา และคนที่มาภายหลังจากเขา ซึ่งแม้ว่าคนแต่ละคนจะต้องเสียชีวิตแต่ชื่อของเขาก็ยังคงมีอยู่
“ชื่อ” หรือ “อัล-อิสมุ” มีรากศัพท์มาจากคำว่า “อัส-สุมูวฺ” หมายถึง ความสูงส่ง หรือมาจากคำว่า “อัล-วัสมุ” หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์
ซึ่งทั้งสองความหมายเป็นการบ่งชี้ถึงความสำคัญของชื่อสำหรับทุกคนที่เกิดมา
ความสำคัญของชื่อสำหรับคนที่เป็นพ่อนั้นย่อมเป็นที่รับรู้กันเป็นอย่างดี เพราะมันเป็นการบ่งชี้ถึงศาสนาและสติปัญญาของเขาเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้อ่านเคยได้ยินชาวคริสต์หรือชาวยิวตั้งชื่อลูกของเขาว่า มุหัมมัด –ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม – บ้างหรือไม่ ?
หรือผู้อ่านเคยได้ยินชาวมุสลิมตั้งชื่อลูกของพวกเขาว่า “อัล-ลาต” หรือ “อัล-อุซซา” บ้างหรือไม่ ? ถ้าจะมีก็คงเป็นคนที่ผิดปรกติอย่างแน่นอน
ดังนั้นลูกจึงมีข้อเกี่ยวพันกับคนที่เป็นพ่อของเขาในแง่ของชื่อ ซึ่งคนที่เป็นพ่อและสมาชิกในครอบครัวก็จะเรียกลูกของพวกเขาด้วยกับชื่อที่พวกเขาได้ตั้งไว้ ซึ่งมีคนไม่ใช่น้อยที่จะใช้ชื่อของคนคนหนึ่งในการทำความรู้จักกับครอบครัวของเขา ดังที่ผู้คนในอดีตก็จะมีการถามกันว่า “ท่านชื่ออะไร ฉันจะได้รู้ว่าพ่อของท่านคือใคร” [3]
ความสำคัญของชื่อในอิสลาม เพียงพอแล้วที่จะรับรู้ถึงความสำคัญของชื่อด้วยกับการให้ความสำคัญของหลักการศาสนาต่อชื่อต่าง ๆ ซึ่งเคยปรากฏว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยเปลี่ยนชื่อบรรดาเศาะหาบะฮฺทั้งชายและหญิงหลายคนด้วยกัน ใช่แต่เท่านั้นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยังเปลี่ยนชื่อเมืองที่ท่านอาศัยอยู่ซึ่งเดิมทีมีชื่อว่า “ยัษริบ” เป็น “มะดีนะฮฺ อัล-มุเนาวะเราะฮฺ” และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองก็ได้ห้ามตั้งชื่อว่า “มะลิกัลอัมลาก” และชื่อที่คล้ายคลึงกันนี้ ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَخْنَى الأَسْمَاءِ يَوْمَ القِيَامَةِ عِنْدَ اللَّهِ رَجُلٌ تَسَمَّى مَلِكَ الأَمْلاَكِ» [البخاري برقم 6205، ومسلم برقم 2143]
ความว่า “ชื่อที่ต่ำต้อยที่สุด ณ อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะ ตะอาลา ในวันกิยามะฮฺ คือผู้ที่มีชื่อว่า “มะลิกัลอัมลาก” –กษัตริย์ของกษัตริย์ทั้งหลาย-” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6205 และมุสลิม หมายเลข 2143)
และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ผู้เป็นที่รัก ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้แนะนำให้ตั้งชื่อว่า “อับดุลลอฮฺ” และ “อับดุรเราะหฺมาน” และที่คล้ายคลึงกันนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนที่มีชื่อเช่นนั้นจะได้มีความรู้สึกของการเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา เช่นเดียวกันจะทำให้คนคนนั้นได้เคารพสักการะต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา เพียงผู้เดียว ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إِنَّ أَحَبَّ أَسْمَائِكُمْ إِلَى اللهِ عَبْدُ اللهِ وَعَبْدُ الرَّحْمَنِ» [مسلم برقم 2132]
ความว่า “ชื่ออันเป็นที่รักยิ่งของพวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮฺนั้นคือ อับดุลลอฮฺ(บ่าวของอัลลอฮฺ) และอับดุรเราะหฺมาน(บ่าวของผู้ทรงเมตตา)” (บันทึกโดย มุสลิม หมายเลข 2132)
ซึ่งท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ของเรามีความชอบใจเป็นอย่างยิ่งต่อชื่อที่มีความหมายที่ดี และท่านเองก็หวังว่าชื่อที่ดีนั้นจะนำพาไปสู่ความดีงามเช่นเดียวกัน โดยที่เรื่องนี้เป็นที่รับรู้กันดีว่าเป็นส่วนหนึ่งจากแบบฉบับของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ในหมู่นักวิชาการด้านอุศูลและด้านภาษาได้เห็นพ้องกันว่า “ชื่อ” นั้นมันสามารถบ่งชี้ถึงนัยต่าง ๆ อย่างมากมาย ซึ่งในประเด็นของชื่อและประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันนี้ได้มีนักวิชาการหลายท่านด้วยกัน -เราะหิมะฮุลลอฮฺ- ที่ได้ศึกษาและย่อยเป็นประเด็นต่าง ๆ อย่างมากมาย ดังที่มีปรากฏในหนังสือด้านหลักภาษาอาหรับและอุศูลฟิกฮฺ
ผู้อ่านอย่าเพิ่งรีบร้อนและอย่าประหลาดใจ เรามาอ่านและตอบคำถามเหล่านี้ด้วยกัน :
ผู้อ่านจะตั้งชื่ออะไรให้ลูก ? ผู้อ่านจะเลือกชื่อที่ชื่นชอบ ที่ผู้เป็นแม่ของเด็กชื่อชอบ และที่ครอบครัวของเด็กชื่นชอบ หรือผู้อ่านจะตั้งชื่อลูกด้วยกับชื่อของคนที่เป็นศัตรูกับผู้อ่าน ? –สุบหานัลลอฮฺ- อัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์ยิ่ง !!
เราทุกคนต่างก็เลือกชื่อด้วยตัวของเราเองและชื่อนั้นมันก็บ่งบอกถึงนัยที่มีอยู่ในตัวของเรา แต่สำหรับบรรดาผู้ที่ดีเลิศที่สุดในหมู่ผู้คน -นั่นคืออะฮฺลุลบัยตฺ- เรากลับปฏิเสธสิทธิในเรื่องนี้ของพวกเขา ด้วยการที่เรากล่าวว่า “เปล่าเลย พวกเขาได้เลือกชื่อลูก ๆ ด้วยกับเหตุผลทางการเมืองหรือมีนัยทางสังคมเท่านั้น พวกเขาไม่ได้เลือกชื่อเหมือนคนทั่วไปเขาได้เลือกกัน และการเลือกชื่อสำหรับพวกเขาก็ไม่ได้มีนัยใด ๆ เลย ?!!”
อนุชนที่มีความเฉลียวฉลาดทั้งยังเป็นแกนนำของประชาชาตินี้ และเป็นกลุ่มชนที่มีเกียรติในเชื้อสายวงศ์ตระกูล พวกเขาได้ปฏิเสธในสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ พวกเขาไม่อนุญาตให้ตั้งชื่อลูกของตัวเองด้วยกับชื่อของผู้ที่พวกเขารักและด้วยกับชื่อของพี่น้องพวกเขา ทั้งนี้เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในเกียรติศักดิ์ของพวกเขาและความรักที่พวกเขามีอยู่ แต่พวกเขากลับตั้งชื่อลูกบางคนด้วยกับชื่อศัตรูของพวกเขา ผู้อ่านจะเชื่อเรื่องนี้หรือไม่ ??
(พวกเขากล่าวอีกว่า) ท่านก็รู้ดีว่าการตั้งชื่อนั้น(เช่นตั้งชื่อลูกว่า อบูบักร์ อุมัร อาอิชะฮฺ ฯลฯ -ผู้แปล-)ไม่ได้ตั้งให้แค่คนเดียวแต่ตั้งชื่อให้ลูก ๆ หลายคน และช่วงที่ตั้งชื่อก็ไม่ใช่ช่วงที่ลืมเลือนความเป็นศัตรูไปนานแล้ว แต่เป็นช่วงเวลาที่ความเป็นศัตรูนั้นยังคงปะทุอยู่ –นี่คือสิ่งที่พวกเขากล่าวอ้าง-
แต่เราขอกล่าวว่า : เปล่าเลย...พวกเขาตั้งชื่อลูกในช่วงที่พวกเขามีความรักใคร่กลมเกลียวกันดีอยู่ต่างหากล่ะ
และนี่ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องมีการศึกษาให้เข้าใจและให้ความสำคัญต่อมัน เพราะมันเป็นประเด็นที่มีการบ่งชี้ถึงนัยต่าง ๆ อย่างมากมาย และในตัวมันก็เป็นข้อหักล้างต่อเรื่องราวปรัมปราและข้อคลุมเครือต่าง ๆ รวมถึงเรื่องเล่าอันเพ้อเจ้อ (ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาเศาะหาบะฮฺกับอะฮฺลุลบัยตฺ -ผู้แปล-) และมันเองก็ยังสามารถดึงอารมณ์ความรู้สึกและโน้มน้าวให้คนที่มีสติปัญญาได้ยอมรับ โดยที่เขาไม่สามารถที่จะเห็นแย้งหรือตีความในนัยอื่น ๆ ได้อีกเลย
มาถึง ณ จุดนี้ผมขอสรุปให้ผู้อ่านดังนี้ :
ท่านสัยยิดินาอะลี บินอบีฎอลิบ อะลัยฮิสลาม ด้วยกับความรักของท่านที่มีต่อบรรดาเคาะลีฟะฮฺทั้งสามท่านแรกอย่างยิ่งยวด ท่านจึงตั้งชื่อลูกบางคนของท่านด้วยกับชื่อพวกเขา ดังนี้
- ท่านอบูบักรฺ บินอลี บินอบีฏอลิบ เสียชีวิต(ชะฮีด)ในเหตุการณ์กัรบะลาอ์พร้อมกับพี่ชายของท่านนั้นคือท่านอัล-หุสัยนฺ ความศานติและการสถาพรจงมีแด่พวกท่านและท่านปู่ของพวกท่าน –ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม –
- ท่านอุมัร บินอลี บินอบีฏอลิบ เสียชีวิต(ชะฮีด)ในเหตุการณ์กัรบะลาอ์พร้อมกับพี่ชายของท่านนั้นคือท่านอัล-หุสัยนฺ ความศานติและการสถาพรจงมีแด่พวกท่านและท่านปู่ของพวกท่าน –ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม –
- ท่านอุษมาน บินอลี บินอบีฏอลิบ เสียชีวิต(ชะฮีด)ในเหตุการณ์กัรบะลาอ์พร้อมกับพี่ชายของท่านนั้นคือท่านอัล-หุสัยนฺ ความศานติและการสถาพรจงมีแด่พวกท่านและท่านปู่ของพวกท่าน –ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม –
ส่วนท่านอัล-หะสัน บินอลี บินอบีฏอลิบ ก็ได้ตั้งชื่อลูกของท่านว่า ท่านอบูบักรฺ บินอัล-หะสัน , ท่านอุมัร บินอัล-หะสัน , ท่านฏ็อลหะฮฺ บินอัล-หะสัน , ซึ่งทั้งหมดเสียชีวิต(ชะฮีด)พร้อมกับท่านอาของท่านนั้นคือท่านอัล-หุสัยนฺ อะลัยฮิสลาม
ท่านอัล-หุสัยนฺ อะลัยฮิสลาม เองก็ได้ตั้งชื่อลูกของท่านว่า ท่านอุมัร บินอัล-หุสัยนฺ
ใช่แต่เท่านั้น ผู้นำของบรรดาตาบิอีนนั้นคือท่านอลี บินอัล-หุสัยนฺ ซัยนุลอาบิดีน อะลัยฮิสลาม อิมามคนที่สี่(ตามหลักความเชื่อของชีอะฮฺ -ผู้แปล-) ก็ได้ตั้งชื่อลูกสาวของท่านว่า ท่านหญิงอาอิชะฮฺ และได้ตั้งชื่อลูกชายของท่านว่า ท่านอุมัร ทั้งนี้ยังมีลูกหลานของพวกเขาภายหลังจากนั้นอีก(ที่มีการตั้งชื่อลูกด้วยกับชื่อของบรรดาเศาะหาบะฮฺผู้มีเกียรติ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม) [4]
นอกจากนี้วงศ์เครือญาติของท่านนบี(อะฮฺลุลบัยตฺ)(ก็มีการตั้งชื่อลูกด้วยกับชื่อของบรรดาเศาะหาบะฮฺเช่นเดียวกัน) เช่นลูกหลานของท่านอัล-อับบาส บินอับดุลมุฏฏอลิบ ลูกหลานของท่านญะอฺฟัร บินอบีฏอลิบ ท่านมุสลิม บินอะกีล และท่านอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งในหนังสือเล่มนี้คงไม่ใช่ที่จะมากล่าวถึงรายชื่อต่าง ๆ ของพวกเขาทั้งหมด แต่เพียงแค่ต้องการชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่อยากให้ผู้อ่านได้เข้าใจเท่านั้นเอง ซึ่งก่อนหน้านี้ผมเองก็ได้กล่าวถึงลูก ๆ ของท่านอลี ท่านอัล-หะสัน และท่านอัล-หุสัยน์ อะลัยฮิมุสลาม ไว้แล้ว
วิพากษ์ :
ชีอะฮฺบางคนอาจจะปฏิเสธในเรื่องที่ท่านอลีและลูก ๆ ของท่าน อะลัยฮิมุสลาม ได้ตั้งชื่อลูก ๆ ของพวกเขาด้วยกับชื่อของบรรดาเศาะหาบะฮฺ ซึ่งนี่เองคือผลของคนที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการสืบเชื้อสายวงศ์ตระกูลและนัยของชื่อต่าง ๆ และเป็นคนที่ไม่ค่อยมีโอกาสในการศึกษาตำรับตำราต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม “อัลหัมดุลิลลาฮฺ” ที่พวกเขามีจำนวนที่น้อยนิดมาก
ตามจริงในเรื่องนี้ อิมามผู้อวุโสหลายต่อหลายคนและนักวิชาการที่เป็นชาวชีอะฮฺเองก็มีการหักล้างการปฏิเสธของพวกเขาแล้ว เพราะหลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการมีชื่อเหล่านั้นมันได้ปรากฏให้เห็นจริงจากลูกหลานของพวกเขาตามที่มีระบุในหนังสือที่ชาวชีอะฮฺให้การยอมรับ กระทั่งเรื่องราวที่ถูกบันทึกในช่วงเหตุการณ์โศกนาฏกรรมกัรบะลาอ์ก็มีการบันทึกไว้ว่า ในจำนวนผู้ที่เสียชีวิต(ชะฮีด)พร้อมกับท่านอิมามอัล-หุสัยน์นั้นคือ ท่านอบูบักรฺ บินอลี บินอบีฏอลิบ และอีกคนหนึ่งคือ ท่านอบูบักรฺ บินอัล-หะสัน บินอลี อะลัยฮิมุสลาม และท่านอื่น ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในก่อนหน้านี้
พวกเขาเหล่านั้นได้เสียชีวิต(ชะฮีด)พร้อมกับท่านอัล-หุสัยนฺ ซึ่งชีอะฮฺเองก็ได้ระบุไว้ในหนังสือของพวกเขา ฉะนั้นท่านจะกล่าวไม่ได้ว่า : การที่ผู้อ่านไม่เคยได้ยินชื่อเหล่านั้นในพิธีไว้อาลัยแก่ท่านอัล-หุสัยนฺ(อัล-หุสัยนียาต)ในวันอาชูรอ แล้วถือว่าการที่ไม่มีใครกล่าวถึงนั้นย่อมหมายถึงว่ามันไม่มีอยู่จริง และผู้อ่านรู้หรือไม่ว่าท่านอุมัร บินอลี บินอบีฏอลิบ และท่านอุมัร บินอัล-หะสัน ก็เป็นหนึ่งในอัศวินนักรบที่ถูกให้การยอมรับว่าท่านทั้งสองได้ต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญในวันดังกล่าว
ที่สำคัญคือ ประเด็นการตั้งชื่อของบรรดาท่านอิมาม อะลัยฮิมุสลาม ที่มีต่อลูก ๆ ของพวกเขาด้วยกับชื่อของท่านอบีบักรฺ ท่านอุมัร ท่านอุษมาน ท่านหญิงอาอิชะฮฺ และเศาะหาบะฮฺผู้อวุโสหลายท่าน เป็นประเด็นที่เราไม่เคยได้รับคำตอบที่ชัดเจนและเป็นที่พอใจจากชีอะฮฺเลย ดังนั้นมันย่อมเป็นไปไม่ได้ที่เราจะให้การตั้งชื่อเหล่านั้นมันเป็นอะไรที่ไม่ได้เป็นการบ่งชี้หรือไม่มีนัยที่จะสื่อถึงอะไร และย่อมเป็นไปได้เช่นกันที่เราจะให้ประเด็นการตั้งชื่อนี้เป็นกลอุบายที่ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺได้กุขึ้นมาในหนังสือของชาวชีอะฮฺ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็จะเป็นการใส่ไคล้ต่อเรื่องราวทั้งหมดที่มีบันทึกในหนังสือของชีอะฮฺทุกเล่มได้เช่นกัน ดังนั้นเรื่อราวใดก็ตามที่ชีอะฮฺไม่ชอบใจพวกเขาก็จะกล่าวว่า : “อ๋อ...มันคือกลอุบายและเป็นการกุเรื่องขึ้นมา(ของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ)” ใช่แต่เท่านั้นในทุกเรื่องราวที่ไม่สอดคล้องกับอารมณ์ใคร่ของนักวิชาการชีอะฮฺเขาก็จะปฏิเสธมันไปอย่างง่ายดายเพียงแค่กล่าวว่า “มันคือกลอุบาย(ของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ) !!” นอกเหนือจากนี้บรรดาผู้รู้ของพวกเขาต่างก็มีสิทธิ์ที่จะยอมรับหรือปฏิเสธเรื่องราวใดก็ตามที่ตนเองปรารถนาโดยที่ไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ เลยสำหรับเรื่องนี้ในหมู่พวกเขา
มีเรื่องบางเรื่องที่น่าขบขันปนกับน้ำตาที่ชีอะฮฺบางคนได้กล่าวว่า “ตามจริงการที่บรรดาท่านอิมามได้ตั้งชื่อลูก ๆ ของพวกเขาด้วยกับชื่อของบรรดาเศาะหาบะฮฺผู้อวุโสก็เพื่อเป็นการสาปแช่งและประณามพวกเขาต่างหาก !!” หรือบางคนกล่าวว่า “การที่ตั้งชื่อเช่นนั้นก็เพื่อเป็นการเอาใจผู้คนทั่วไป ซึ่งการที่บรรดาท่านอิมามได้ตั้งชื่อลูก ๆ ของพวกเขาก็เพื่อให้ผู้คนได้รู้สึกว่าท่านนั้นมีความรักใคร่ต่อบรรดาเคาะลีฟะฮฺทั้งสามและได้พึงพอใจในตัวของพวกเขา (ซึ่งเป็นการเสแสร้งหรือตะกียะฮฺของบรรดาอิมาม) !!!” - สุบหานัลลอฮฺ- อัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ! มันเป็นการสมควรแล้วหรือที่เราจะกล่าวว่า “ท่านอิมามได้ทำตัวเสแสร้งหรือหลอกลวงบรรดาสาวกของท่าน รวมถึงผู้คนทั้งหลายด้วยกับสิ่งนั้น ??” และเป็นไปได้กระนั้นหรือที่ท่านอิมามจะสร้างความเสื่อมเสียแก่วงศ์เครือญาติของท่านเพียงเพื่อสิ่งนี้ ??
และยังมีบางคนที่กล่าวว่า ท่านอิมามได้ใช้กลอุบายเพื่อต้องการเอาชนะบรรดาเศาะหาบะฮฺด้วยการใช้ชื่อของพวกเขาตั้งชื่อลูก ๆ ของตัวเอง? ท่านถึงกับต้องทิ้งความกล้าหาญและศักดิ์ศรีของท่าน –อะลัยฮิมุสลาม- และเหยียดหยามตัวของท่านและลูก ๆ ของท่านเพียงเพื่อเอาใจชาวบนีตัยมฺ บนีอัดดีย์ หรือบนีอุมัยยะฮฺ กระนั้นหรือ ?
โดยแน่นอน คนที่ศึกษาชีวประวัติของบรรดาท่านอิมามเขาย่อมต้องตระหนักอย่างแน่นอนว่าบรรดาท่านอิมามนั้นเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญมากที่สุดในหมู่ผู้คนทั้งหลาย และมันก็ได้ค้านกับเรื่องราวอันมดเท็จที่ถูกรายงานซึ่งทำให้เห็นว่าตัวของพวกท่านนั้นเป็นคนที่ขี้ขลาด ไม่ได้ดิ้นร้นต่อสู้เพื่อศาสนา เกียรติยศและศักดิ์ศรีของท่าน ซึ่งเป็นที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่งที่เรื่องราวเช่นนี้มีอยู่อย่างมากมายยิ่งนัก
สรุปคือ สิ่งที่บรรดาท่านอิมามได้ปฏิบัติกันนั้น ได้แก่ ท่านอลีและบรรดาลูกหลานของท่าน อะลัยฮิมุสลาม ถือเป็นหลักฐานที่หนักแน่นที่สุดที่สอดคล้องกับสติปัญญา อารมณ์ความรู้สึกและข้อเท็จจริงที่มันเกิดขึ้นว่า อะฮฺลุลบัยตฺนั้นมีความรักใคร่ต่อเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมทั้งสามท่านและต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทุกท่านอย่างสัจจริง ซึ่งผู้อ่านก็ได้สัมผัสด้วยตัวเองแล้วในข้อเท็จจริงที่มันเกิดขึ้น และมันก็ไม่มีรู่ทางใดอีกที่จะหักล้างมันได้ ซึ่งข้อเท็จจริงที่มันเกิดขึ้นนี้มันก็ยังสอดคล้องกับคำดำรัสของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ที่ว่า
﴿مُّحَمَّدٞ رَّسُولُ ٱللَّهِۚ وَٱلَّذِينَ مَعَهُۥٓ أَشِدَّآءُ عَلَى ٱلۡكُفَّارِ رُحَمَآءُ بَيۡنَهُمۡۖ تَرَىٰهُمۡ رُكَّعٗا سُجَّدٗا يَبۡتَغُونَ فَضۡلٗا مِّنَ ٱللَّهِ وَرِضۡوَٰنٗاۖ سِيمَاهُمۡ فِي وُجُوهِهِم مِّنۡ أَثَرِ ٱلسُّجُودِۚ﴾ [الفتح : 29]
ความว่า “มุหัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธศรัทธา เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขาเอง เจ้าจะเห็นพวกเขาเป็นผู้รูกูอฺ ผู้สุญูด โดยแสวงหาคุณความดีจากอัลลอฮฺและความโปรดปราน (ของพระองค์) เครื่องหมายของพวกเขาอยู่บนใบหน้าของพวกเขาเนื่องจากเราะงรอยแห่งการสุญูด” (สูเราะฮฺอัล-ฟัตหฺ : 29)
คงจะไม่เป็นภาระแก่ผู้อ่านถ้าจะให้อ่านอายะฮฺนี้พร้อมกับใคร่ครวญถึงความหมายของมันอีกครั้ง และขอให้ท่านอ่านอย่างพินิจพิจารณาในคุณลักษณะของความรักความอ่อนโยน(ที่มีอยู่ในตัวของบรรดาเศาะหาบะฮฺทุกคน)
ความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงาน
“ลูกสาว” ถือเป็นหัวแก้วหัวแหวนและเป็นผลสัมฤทธิ์ที่มาจากหัวใจ แล้วผู้อ่านจะให้นางแต่งงานกับใคร ? ผู้อ่านจะพอใจหรือไม่ ถ้าให้นางแต่งงานกับคนที่ชั่วหรือเป็นคนที่ฆ่าผู้ที่เป็นแม่และพี่น้องของนาง ? แล้วผู้อ่านมีความเข้าใจในคำว่า “ความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงานหรือทางเชื้อสายวงศ์ตระกูล” อย่างไรบ้าง ?
“อัล-มุศอฮะเราะฮฺ” ในหลักภาษา เป็นคำภาษาอาหรับที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “ศอฮะเราะ” ดังที่คนอาหรับกล่าวว่า “ศ่อฮัรตุลเกาม์ อิซา ตะเซาวัจญฺตุ มินฮุม” หมายถึง ฉันได้ทำให้เขาเป็นเครือญาติ เมื่อฉันได้แต่งงานกับหญิงคนหนึ่งในหมู่พวกเขา
ท่านอัล-อัซฮะรีย์ ได้กล่าวว่า “อัศ-ศิฮฺรุ” ที่หมายถึงเครือญาติโดยการแต่งงาน ได้ครอบคลุมถึงญาติใกล้ชิดของผู้หญิงที่เป็นมะหฺรอมฝ่ายชาย (บุคคลที่แต่งงานกันไม่ได้) และที่เป็นมะหฺรอมฝ่ายหญิง เช่น พ่อแม่และพี่น้อง ฯลฯ รวมถึงญาติใกล้ชิดที่เป็นมะหฺรอมของสามี ซึ่งพวกเขาทั้งหมดก็คือเครือญาติโดยการแต่งงานของฝ่ายหญิงเช่นเดียวกัน
ดังนั้นเครือญาติโดยการแต่งงานของสามีก็คือญาติใกล้ชิดของภรรยา และเครือญาติโดยการแต่งงานของภรรยาก็คือญาติใกล้ชิดของสามี
สรุปคือ “อัล-มุศอฮะเราะฮฺ” ในหลักภาษานั้นคือ ญาติใกล้ชิดของผู้หญิง และในบางครั้งมันก็ใช้ในกรณีญาติใกล้ชิดของผู้ชาย ซึ่งอัลลอฮฺได้ทำให้เรื่องนี้เป็นหนึ่งในสัญญาณของพระองค์ -สุบหานะฮุ วะตะอาลา- ดังที่พระองค์ได้ดำรัสว่า
﴿وَهُوَ ٱلَّذِي خَلَقَ مِنَ ٱلۡمَآءِ بَشَرٗا فَجَعَلَهُۥ نَسَبٗا وَصِهۡرٗاۗ وَكَانَ رَبُّكَ قَدِيرٗا ٥٤﴾ [الفرقان : 54]
ความว่า “และพระองค์คือผู้ทรงบังเกิดมนุษย์จากน้ำ(อสุจิ) และทรงทำให้มีเชื้อสายและเครือญาติ และพระเจ้าของเจ้านั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพ” (สูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน : 54)
ขอให้ผู้อ่านตั้งใจอ่านอายะฮฺนี้อย่างพินิจใคร่ครวญเถิด อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ให้มนุษย์มีความผูกพันกับอีกคนหนึ่งด้วยกับการมีเชื้อสายวงศ์ตระกูลและการเป็นเครือญาติโดยการแต่งงานไว้เช่นไร ดังนั้น “อัล-มุศอฮะเราะฮฺ” หรือความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงานนั้นถือเป็นความผูกพันที่ถูกต้องตามหลักการศาสนาซึ่งอัลลอฮฺทรงให้มันได้เคียงคู่กับ “อัน-นะสับ” หรือญาติใกล้ชิดของบิดา(อัล-ก่อรอบะฮฺ) แต่นักวิชาการบางท่านก็มีความเห็นว่า “อัน-นะสับ” นั้นมันรวมถึงญาติใกล้ชิดของบิดาและคนอื่น ๆ
ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า อัลลอฮฺทรงให้ “อัน-นะสับ” และ “อัศ-ศิฮฺรุ” ได้เคียงคู่กัน ดังกล่าวนี้จึงเป็นการบ่งชี้ถึงความสำคัญในประเด็นนี้อย่างยิ่งยวด โดยที่เรามิอาจเพิกเฉยต่อมันได้อีก
ความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงานในสังคมอาหรับถือเป็นตำแหน่งทางสังคมที่มีความพิเศษ พวกเขามักแสดงความภาคภูมิใจในเชื้อสายวงศ์ตระกูลของตัวเอง และสำหรับบางคนก็จะภาคภูมิใจในตัวสามีของลูกสาวและเกียรติศักดิ์ที่พวกเขามีอยู่ เป็นที่รับรู้กันดีว่าชาวอาหรับจะไม่ยอมให้ลูกสาวของพวกเขาแต่งงานกับคนที่เขาเห็นว่ามีเกียรติศักดิ์ที่ต่ำต้อยกว่าอย่างแน่นอน ในการนั้นเองทัศนคติเช่นนี้ก็ยังคงมีอยู่ในสังคมอื่น ๆ อย่างมากมายเช่นเดียวกัน และความแตกต่างในเรื่องชาติพันธุ์ก็ยังคงเป็นปัญหาทางสังคมในโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน
ชาวอาหรับมีความหึงหวงต่อบรรดาผู้หญิงของพวกเขาเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งบางคนถึงกับพาลูกสาวของตัวเองที่ยังเล็กอยู่ไปฝั่งทั้งเป็นเพราะเกรงว่านางอาจจะทำให้เขามีความอับอาย ใช่แต่เท่านั้นพวกเขายอมหลั่งเลือดและสู้รบกันเพียงเพราะเรื่องนี้ ว่าไปแล้วเรื่องราวเช่นนี้ก็มีให้เห็นจนถึงปัจจุบันดังที่ผู้อ่านเองก็รับรู้กันดี และนี่เองก็เป็นการบ่งชี้ถึงอะไรบางอย่างที่ไม่ต้องอธิบายให้มากความเลย
อิสลามได้มาเน้นย้ำถึงเกียรติศักดิ์อันสูงส่งนี้พร้อมกับได้กำชับให้มีคุณลักษณะที่ดีงามและให้ออกห่างจากคุณลักษณะที่หยาบทราม ซึ่งอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ก็ได้อธิบายถึงคำว่า “ความยำเกรง” ด้วยกับคำดำรัสของพระองค์ที่ว่า
﴿إِنَّ أَكۡرَمَكُمۡ عِندَ ٱللَّهِ أَتۡقَىٰكُمۡۚ ١٣﴾ [الحجرات : 13]
ความว่า “แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮฺ นั้นคือผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า” (สูเราะฮฺ อัล-หุญุรอต : 13)
ซึ่งนี่คือหลักเกณฑ์ตามหลักการศาสนา
ในการนี้เองจึงมีนักนิติศาสตร์อิสลามหลายท่าน เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้ศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเหมาะสมระหว่างคู่บ่าวสาว(อัล-กะฟาอะฮฺ)ในเรื่องศาสนา เชื้อสายวงศ์ตระกูล การงานอาชีพ และที่เกี่ยวข้องกันอื่นจากนี้ที่มีอย่างมากมาย ในจำนวนนั้นคือ ความเหมาะสมกันระหว่างคู่บ่าวสาวถือเป็นเงื่อนไขและความจำเป็นประการหนึ่งที่จะทำให้การแต่งงานใช้ได้หรือไม่ และมันถือเป็นสิทธิของฝ่ายเจ้าสาวเพียงคนเดียวหรือสำหรับผู้ปกครองด้วย ? ฯลฯ
สำหรับประเด็นของการปกป้องรักษาศักดิ์ศรีและการให้ความห่วงใยต่อบรรดาสตรี ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ยืนยันถึงการเสียชีวิตในฐานะชะฮีดสำหรับคนที่ถูกสังหารเพราะรักษาศักดิ์ศรีของเขา และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตัวท่านเองก็เคยเป็นผู้นำในการทำสงครามเพื่อรักษาศักดิ์ศรีของสตรีที่ถูกชาวยิวแกล้งด้วยการเปลื้องผ้าของนาง และเรื่องราวนี้ก็เป็นที่รับรู้กันดีถึงการบิดพลิ้วในสนธิสัญญาของชาวยิวบนีก็อยนุกออฺที่มีต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งเรื่องราวอย่างย่อนั้นคือ ชาวยิวคนหนึ่งได้ขอให้หญิงสาวมุสลิมะฮฺท่านหนึ่งที่กำลังซื้อทองกับเขาให้นางเปิดหน้าแต่นางกลับปฏิเสธ ครั้นเมื่อนางเผลอชาวยิวคนนั้นจึงผูกเชือกที่ปลายเสื้อของนางในขณะที่นางกำลังนั่งอยู่โดยไม่รู้สึกตัว ดังนั้น เมื่อนางลุกขึ้นเสื้อผ้าของนางก็เลยเปลื้องออกมา นางจึงร้องตระโกนขอความช่วยเหลือจากผู้คน ซึ่งในละแวกใกล้เคียงนั้นมีชายหนุ่มมุสลิมคนหนึ่งอยู่ เขาก็เลยเข้าไปจัดการฆ่าชาวยิวคนนั้น ชาวยิวที่อยู่ในเหตุการณ์คนอื่น ๆ ก็เลยรวมตัวแล้วฆ่าชายหนุ่มมุสลิมคนนั้นกลับ และด้วยสาเหตุอื่นอีกมากมายที่บ่งชี้ถึงการบิดพลิ้วในสนธิสัญญาของพวกเขา(ที่มีต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม )
ขอให้ผู้อ่านได้พินิจไตร่ตรองหลักการศาสนาบางประการเหล่านี้เถิด เช่น การที่มีเงื่อนไขให้มีวะลีหรือผู้ปกครองในการแต่งงาน(อักดุนนิกาหฺ)และให้มีพยานในเรื่องนั้น รวมถึงการมีบทลงโทษในเรื่องการกล่าวหาว่าคนผิดประเวณี บทลงโทษของการผิดประเวณี และหลักการศาสนาอื่นจากนี้อีกมากมายที่เป็นการรักษาศักดิ์ศรีของความมนุษย์ ซึ่งด้วยกับการพินิจไตร่ตรองถึงหลักการศาสนาที่สวยงามเหล่านั้น รวมถึงสิ่งที่เป็นหิกมะฮฺหรือเหตุผลและคุณประโยชน์ของมันนั้นเองที่จะทำให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ถึงความสำคัญของประเด็นนี้
“อัล-มุศอฮะเราะฮฺ” หรือความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงาน เป็นสิ่งที่ทำให้มีหลักการอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนั้นขอให้ผู้อ่านได้พินิจไตร่ตรองถึงการบัญญัติในเรื่องการแต่งงานหรืออักดุนนิกาหฺ(ซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาอันหนักแน่น)เถิด เริ่มที่การให้ฝ่ายชายเข้ามาสู่ขอฝ่ายหญิงซึ่งในนั้นเองก็มีหลักการศาสนาอีกมากมาย ซึ่งการเข้ามาสู่ขอนั้นก็อาจจะได้รับการตอบตกลงหรืออาจจะถูกปฏิเสธไป ในบางครั้งฝ่ายชายก็อาจมีการขอความร่วมมือจากคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงเพื่อให้เข้าไปสู่ขอนางให้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้ได้รับการยินยอมหรือตอบตกลง หลังจากนั้นครอบครัวและผู้ปกครองของฝ่ายหญิงก็จะถามฝ่ายหญิงว่าจะตกลงยอมรับการสู่ขอของฝ่ายชายหรือไม่ ซึ่งทางฝ่ายหญิงเขาก็มีสิทธิ์เต็มที่ที่จะตอบตกลงหรือปฏิเสธเขาไป แม้กระทั่งช่วงที่มีการให้ฮะดียะฮฺหรือของขวัญ หรือได้เรียกค่ามะฮัร และอื่นจากนี้แล้วก็ตาม ทางฝ่ายหญิงก็ยังคงมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธคนที่มาสู่ขอตราบใดที่การแต่งงาน(อัล-อักดฺ)ยังไม่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
ในการแต่งงาน(อักดุนนิกาหฺ)จำเป็นต้องมีพยานและต้องประกาศว่ามีการแต่งงานกันแล้ว และถือเป็นสิ่งที่ศาสนาได้กำชับให้ปฏิบัติ เพราะอะไรหรือ ? ก็เพราะการแต่งงานนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้มีหลักการอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย มันทำให้คนที่ห่างไกลเป็นญาติที่ใกล้ชิดกัน ใช่แต่เท่านั้นยังทำให้พวกเขาทั้งหมดมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงานกัน และทำให้ผู้หญิงคนนั้นถูกห้ามที่จะแต่งงานกับชายอื่นอีกอย่างถาวร หรือตราบที่ยังเป็นภรรยาของชายคนนั้นอยู่ อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้ก็ไม่ได้ต้องการกล่าวถึงเรื่องนี้ให้มันมากความนัก แต่เพียงต้องการที่จะตอกย้ำถึงความสำคัญของประเด็นที่จะมีหลังจากนี้เท่านั้น
ขอให้ผู้อ่านได้พินิจไตร่ตรองในสิ่งเหล่านี้กันเถิด
ตัวอย่างที่หนึ่ง... น้องสาวของท่านอัล-หะสัน และท่านอัล-หุสัยนฺ ซึ่งบิดาของท่านนั้นคือท่านอลี อะลัยฮิสลาม ได้ให้นางแต่งงานกับท่านอุมัร บินอัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ในการนี้เองหรือเราจะกล่าวว่า การที่ท่านอลี อะลัยฮิสลามได้ให้ลูกสาวของท่านแต่งงานกับท่านอุมัรเพราะท่านหวาดกลัวต่อท่านอุมัร ? ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงความกล้าหาญของท่านหายไปไหนเล่า ? ความรักความห่วงใยของท่านที่มีต่อตัวลูกสาวไม่มีเลยกระนั้นหรือ ? จะเป็นไปได้อย่างไรที่ท่านจะยกลูกสาวของตัวเองให้กับคนที่อธรรม ?? แล้วความห่วงใยของท่านที่มีต่อศาสนาของอัลลอฮฺอยู่ที่ไหนล่ะ ? มีคำถามเช่นนี้อีกมากมายโดยไม่สิ้นสุด หรือเราต้องกล่าวว่า การที่ท่านอลี อะลัยฮิสลามได้ให้ลูกสาวของท่านแต่งงานกับท่านอุมัรนั้น ก็เพราะท่านชื่นชอบและพอใจในตัวของท่านอุมัร โดยแน่แท้ การแต่งงานของท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กับลูกสาวของท่านอลี อะลัยฮิสลาม นั้นเป็นการแต่งงานที่ถูกต้องตามหลักการศาสนาและปราศจากมลทินใด ๆ ทั้งสิ้น
การแต่งงานของท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กับท่านหญิงอุมมุกัลษูม นั้นเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์และความรักใคร่ระหว่างสองครอบครัวได้เป็นอย่างดี แล้วจะไม่ให้เป็นเช่นนั้นได้อย่างไร ก็ในเมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองก็ได้แต่งงานกับลูกสาวของท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ นั่นคือท่านหญิงหัฟเศาะฮฺ ?! ด้วยเหตุนี้ความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงานของทั้งสองครอบครัว(ครอบครัวของท่านอุมัรและครอบครัวของท่านนบีซึ่งท่านอลีและท่านหญิงฟาฎิมะฮฺก็เป็นสมาชิกในครอบครัวของท่านนบีด้วย)ได้เริ่มก่อร่างขึ้นมาก่อนที่ท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จะแต่งงานกับท่านหญิงอุมมุกัลษูมเสียอีก
ตัวอย่างที่สอง... เพียงพอแล้วกับคำกล่าวของท่านอิมามญะอฺฟัรฺ อัศ-ศอดิก อะลัยฮิสลาม ที่ท่านได้กล่าวว่า
ولدني أبوبكر الصديق مرتين
ความว่า “อบูบักรฺ อัศศิดดีก คือต้นตระกูลของฉันทั้งสองสาย”
แล้วผู้อ่านหรือรู้ไม่ว่าท่านแม่ของท่านญะอฺฟัรนั้นคือใคร ? ใช่แล้ว...ท่านชื่อ ฟัรวะฮฺ บินติอัล-กอสิม บินมุหัมมัด บินอบีบักรฺ [5]
ผมขอถามผู้อ่านว่า ทำไมท่านอิมามญะอฺฟัร อะลัยฮิสลาม จึงเอ่ยถึง “ท่านอบูบักรฺ” แต่ไม่ได้เอ่ยถึง “ท่านมุหัมมัด บิน อบี บักรฺ ?” ก็การที่ท่านได้เอ่ยอย่างชัดเจนถึงชื่อ “ท่านอบูบักรฺ” ก็เพราะชีอะฮฺบางคนนั้นได้ปฏิเสธในเกียรติศักดิ์ของท่าน อบู บักรฺ แต่สำหรับลูกชายของท่านนั้นคือท่านมุหัมมัด เป็นที่เห็นพ้องกันของชาวชีอะฮฺในความประเสริฐของท่าน แล้วผู้อ่านคิดว่าใครที่สมควรต้องภาคภูมิใจในอวดอ้างมากกว่ากันในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ?!
(กล่าวคือ ท่านอุมมุฟัรวะฮฺเป็นภรรยาของท่านบากิรฺ –ซึ่งเป็นอิมามลำดับที่ห้าของลัทธิชีอะฮฺอิมามสิบสอง- นั้นมีปู่และตาเป็นพี่ชายพ่อแม่เดียวกันกับท่านหญิงอาอิชะฮฺ โดยทั้งหมดเป็นบุตรของท่านอบูบักรฺ อัศ-ศิดดีก ซึ่งท่านปู่ก็คือท่านมุหัมมัด เป็นพี่ชายพ่อแม่เดียวกันกับท่านหญิงอาอิชะฮฺ ส่วนท่านตาก็คือ ท่านอับดุรเราะหฺมาน เป็นพี่ชายพ่อแม่เดียวกันกับท่านหญิงอาอิชะฮฺ ด้วยเหตุที่พ่อของอุมมุฟัรวะห์ คือท่านอัล-กอสิม บินมุหัมมัด บินอบีบักร์ อัศ-ศิดดีก และแม่คืออัสมาอ์ บินติ อับดิรเราะหฺมาน บินอบีบักรฺ อัศ-ศิดดีก ของภรรยาอิมามบากิรนั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ดังนั้นท่านหญิงอาอิชะฮฺ บินติอบีบักรฺ อัศ-ศิดดีก จึงมีศักดิ์เป็นย่าและยายในเวลาเดียวกัน ดังนั้นภรรยาของท่านอิมามบากิร ซึ่งเป็นแม่ของอิมามญะอฺฟัร อัศ-ศอดิก จึงมีเชื้อสายวงศ์เครือญาติจากท่านอบูบักรฺทั้งสองด้าน คือทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ ดังนั้น ท่านญะอฺฟัร อัศ-ศอดิก จึงได้แสดงความยินดีต่อเชื้อสายข้างแม่ทั้งสองด้านของท่านด้วยคำกล่าวข้างต้น -ผู้แปล-)
ความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่เกิดขึ้นระหว่างเชื้อสายวงศ์ตระกูลของบรรดาเศาะหาบะฮฺจากชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรนั้นเป็นที่รับรู้กันดีสำหรับผู้ที่ศึกษาในเรื่องเชื้อสายวงศ์ตระกูลของพวกเขา และยังหมายรวมถึงทาสรับใช้ของพวกเขาด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีทาสรับใช้บางคนที่เป็นเศาะหาบะฮฺได้แต่งงานกับผู้หญิงที่มีหน้ามีตาและมีเกียรติศักดิ์ที่สูงส่งในสังคมของชาวกุร็อยชฺ นั้นคือท่านซัยดฺ บินหาริษะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งท่านเป็นเศาะหาบะฮฺท่านเดียวที่ถูกระบุชื่อในอัลกุรอานในสูเราะฮฺอัล-อะหฺซาบ แล้วผู้อ่านรู้หรือไม่ว่าใครคือภรรยาของท่านซัยดฺ ? ใช่แล้ว...นางคือท่านหญิงอุมมุลมุอฺมินีน ซับนับ บินติญะหฺชิ
อีกตัวอย่างหนึ่งคือท่านอุสามะฮฺ บินซัยดฺ ซึ่งท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ให้เขาแต่งงานกับท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บินติก็อยสฺ ซึ่งท่านหญิงเป็นชาวกุร็อยชฺ [6]
ท่านสาลิมซึ่งท่านเป็นทาสรับใช้ แต่ท่านอบูหุซัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ก็ให้ท่านสาลิมได้แต่งงานกับลูกสาวของพี่น้องของเขาเองนั้นคือ ท่านหญิงฮินดฺ บินติอัล-วะลีด บินอุตบะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ ซึ่งบิดาของท่านหญิงคือหนึ่งในผู้นำของชาวกุร็อยชฺ [7]
ทั้งนี้ การกล่าวถึงความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงานระหว่างเศาะหาบะฮฺนั้นถือเป็นเรื่องที่ยืดยาวพอสมควร ซึ่งเพียงพอแล้วที่ผมได้ยกตัวอย่างเรื่องราวการแต่งงานระหว่างอะฮฺลุลบัยตฺของท่านนบีกับบรรดาเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมทั้งหลาย
ผู้อ่านรู้หรือไม่ว่าท่านสัยยิดินาอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้แต่งงานกับลูกสาวของท่านหญิงฟาฎิมะฮฺ บินติเราะสูลุลลอฮฺ –ความศานติและการสถาพรจงมีแด่ท่านหญิงและบิดาของท่าน-
แล้วอุมมุญะอฺฟัร อัศ-ศอดิก อะลัยฮิสลาม ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ท่านรู้หรือไม่ว่าใครคือคุณปู่ของท่าน ? พึงทราบเถิดทั้งสองท่านนั้นคือหลานของท่านอบีบักรฺ อัศ-ศิดดีก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ นั้นเอง
ดังนั้น จงปกป้องตัวของผู้อ่านจากการกระซิบกระซาบของชัยฎอนเถิด และขอให้ผู้อ่านได้พินิจไตร่ตรองให้ละเอียดรอบคอบ เพราะผู้อ่านคือผู้ศรัทธาซึ่งผู้อ่านเองก็รู้ดีถึงคุณค่าของการมีสติปัญญา และอายะฮฺอัลกุรอานหลายต่อหลายบทก็มีการกระตุ้นให้พินิจใคร่ครวญ ใช่แต่เท่านั้นยังมีการกำชับให้พินิจไตร่ตรองในเรื่องราวต่าง ๆ ที่แม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่ขอนำเสนอตัวบทหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ณ ที่นี้ก็ตาม
ด้วยเหตุนี้เอง จึงจำเป็นที่เราต้องพินิจไตร่ตรองในเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยการใช้สติปัญญาที่เรามีอยู่ และให้เราปลดทิ้งจากการปฏิบัติอย่างมืดบอด รวมทั้งให้ระมัดระวังตลอดเวลาอย่าให้คนที่ไม่รู้เรื่องอะไรมีผลต่อสติปัญญาของเรา ซึ่งเราขอคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ จากการกระซิบกระซาบของเหล่าชัยฎอนที่มาจากมนุษย์และญินด้วยเถิด
ผู้อ่านยินดีที่จะให้มีคนมาด่าทอคนที่เป็นพ่อและปู่หรือไม่ หรือจะให้มีคนกล่าวว่า “บรรดาสตรีที่มีเกียรติของผู้อ่านได้แต่งงานโดยไม่ได้รับการยินยอมจากครอบครัวของท่านเลยแม้แต่คนเดียว” หรือผู้อ่านพอใจที่จะให้มีคนกล่าวว่า “นั้นเป็นการ(แต่งงาน)ที่มาจากการฉุดกระฉาก(กล่าวคือการที่ผู้ชายพาผู้หญิงหนีแล้วไปแต่งงาน โดยที่ไม่ได้รับการยินยอมจากครอบครัวของฝ่ายหญิง)” ? มีคำถามเช่นนี้อีกมากมายโดยไม่สิ้นสุด
คนที่มีสติปัญญาคนใดบ้างที่จะยินดีในคำกล่าวที่ต่ำทรามเช่นนี้ได้ ? และมีจิตใจดวงใดบ้างที่พร้อมจะยอมรับต่อเรื่องราวเช่นนี้ ?!
เมื่อเป็นเช่นนี้ เราขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺ อย่าให้พระองค์ทรงให้หัวใจของเรามีความเคียดแค้นเกิดขึ้นต่อบรรดาผู้ศรัทธา โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดประทานให้เรามีความรักต่อคนดีจากปวงบ่าวของพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด โอ้อัลลอฮฺได้โปรดตอบรับการวิงวอนของเราด้วยเถิด โอ้ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก
ก่อนที่จะเข้าบทที่สาม.... ผมขอนำเสนอหลักฐานบางบทให้แก่ผู้อ่าน ซึ่งคัดลอกมาจากหนังสือที่ชาวชีอะฮฺให้การยอมรับและจากนักวิชาการที่พวกเขาให้การเชื่อถือในการยืนยันการแต่งงานของท่านอุมัร บินอัล-ค็อฏฏอบกับท่านหญิงอุมมุกัลษูม บินติอลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม
อิมามเศาะฟียุดดีน มุหัมมัด บินตาญุดดีน (เป็นที่รู้จักในนาม อิบนุอัฏ-ฏ็อกฏ็อกีย์ อัล-หุสนีย์ เสียชีวิตในปี 709 ฮ.ศ. ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องประวัติศาสตร์และเป็นอิมาม) มีหนังสือเล่มหนึ่งที่เขามอบให้ท่านอะศีลุดดีน หะสัน บินนะศีรุดดีน อัฏ-ฏูสีย์ ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกับฮูลากู โดยที่เขาได้ตั้งชื่อหนังสือด้วยกับชื่อของตัวเอง ในหนังสือเล่มดังกล่าวมีการกล่าวถึงบรรดาลูกสาวของท่านอมีรุลมุมินีน อลี อะลัยฮิสลาม ไว้ว่า (และท่านหญิงอุมมุกัลษูม ซึ่งแม่ของท่านหญิงนั้นคือ ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บินติเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้แต่งงานกับท่านอุมัร บินอัล-ค็อฏฏอบ และมีลูกชายชื่อว่า “ซัยดฺ” และหลังจากนั้น(หลังจากที่ท่านอุมัรเสียชีวิต)ท่านอับดุลลอฮฺ บินญะอฺฟัร ก็ได้แต่งงานกับนาง(ท่านหญิงอุมมุลกัลษูม)) (หน้า 58)
และขอให้พิจารณาในคำกล่าวของท่านอัล-มุหิกกิก อัส-สัยยิด มะฮฺดีย์ อัร-เราะญาอีย์ ซึ่งท่านได้อ้างถึงคำกล่าวต่าง ๆ ในจำนวนนั้นคือ เป็นการยืนยันของท่านอัล-อัลลามะฮฺ อบี อัล-หะสัน อัล-อุมะรีย์ ซึ่งได้อ้างถึงท่านอุมัร บินอลี บินอัล-หุสัยนฺ ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า “อัล-มัจญฺดีย์” ท่านได้กล่าวว่า (จากการรวบรวมสายรายงานต่าง ๆ เท่าที่เรามีอยู่ได้ข้อสรุปว่า ท่านอัล-อับบาส บินอับดุลมุฏฏ็อลิบ ได้ให้ท่านหญิงอุมมุกัลษูมแต่งงานกับท่านอุมัร ด้วยความยินดีและยินยอมของบิดาของท่านหญิง นั่นคือท่านอลี อะลัยฮิสลาม ซึ่ง(ท่านอุมัรกับท่านหญิงอุมมุลกัลษูม)มีลูกคนหนึ่งชื่อ “ซัยดฺ” )
นักตรวจสอบได้นำเสนอทัศนะต่างๆ มากมาย ในจำนวนนั้นคือ ตามจริงผู้ที่ได้แต่งงานกับท่านอุมัรนั้นเป็นชัยฏอนเพศหญิง หรือท่านอุมัรไม่ได้ร่วมหลับนอนกับนางหรือไม่ก็ท่านอุมัรได้แต่งงานกับท่านหญิงด้วยการบังคับขู่เข็ญ ฯลฯ
อัล-อัลลามะฮฺ อัล-มัจญฺลิสีย์ ได้กล่าวว่า “อัล-มุฟีดได้ปฏิเสธเรื่องราวการแต่งงานของอุมัรตั้งแต่ต้น แต่ทั้งนี้เพื่อแจกแจงว่าเรื่องดังกล่าวไม่มีมูลจริงจากสายรายงาน แต่ทว่ามีสายรายงานต่างๆ จากท่านอะลียฺ อลัยฮิสสลาม ว่าเมื่อท่านอุมัรเสียชีวิต ท่านได้ไปหาอุมมุกัลษูม แล้วก็ได้พากันไปที่บ้านของท่าน และเรื่องต่างๆ ที่ฉันได้กล่าวถึงมนหนังสือบิหารุลอันวาร ถือเป็นการปฏิเสธที่แปลกนัก ส่วนคำตอบในเรื่องนี้ เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจริงแต่เป็นการตะกียะฮฺและมีความจำเป็น” (มิรอาต อัล-อุกูล, 2/45)
ฉันขอกล่าวว่า เจ้าของหนังสือ “อัลกาฟีย์” ได้นำเสนอหะดีษอย่างมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในจำนวนนั้นคือ บรรพว่าด้วยเมื่อสามีเสียชีวิต ภรรยาต้องครองอิดดะฮฺที่ใด และอะไรบ้างที่นางจำเป็นต้องปฏิบัติ มีรายงานจากหุมัยดฺ บินซิยาด จากอิบนุสะมาอะฮฺ จากมุหัมมัด บินซิยาด จากอับดุลลอฮฺ บินสินาน จากมุอาวียะฮฺ บินอัมมาร จากอบีอับดุลลอฮฺ อะลัยฮิสลาม ได้กล่าวว่า มีคนถามท่านถึงผู้หญิงที่สามีของนางเสียชีวิต นางต้องครองอิดดะฮฺในบ้านของสามีหรือที่ใดก็ได้ที่นางปรารถนา ? ท่านได้ตอบว่า ให้นางครองอิดดะฮฺที่ใดก็ได้ตามที่นางปรารถนา เพราะท่านอลี อะลัยฮิสลามนั้น หลังจากที่ท่านอุมัรเสียชีวิต ท่านได้พาอุมมุลกัลษูมกลับมายังที่บ้านของท่าน (ดูใน อัล-ฟุรูอฺ มินัลกาฟีย์ เล่ม 6 หน้า 115)
ผู้อ่านที่มีเกียรติ
ฉันได้เสวนากับชีอะฮฺร่วมสมัยบางคนเกี่ยวกับการแต่งงานนี้ และข้อโต้แย้งที่ดีที่สุดนั้นคือ สิ่งที่ท่านชัยคฺอับดุลหะมีด อัล-ค็อฏฏีย์ ผู้พิพากษาแห่งศาลอัล-เอากอฟ วัล-มะวารีษ ได้เขียนว่า “การที่ท่านอลี อะลัยฮิสลาม ผู้เป็นอัศวินผู้หาญกล้าของอิสลามนั้นได้ให้ลูกสาวของท่านแต่งงาน(กับท่านอุมัรนั้น)เป็นสิ่งที่ไม่มีการบังคับขู่เข็ญแม้แต่อย่างใด และในเรื่องนี้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่างที่ดีงามไว้แล้ว ซึ่งท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเป็นแบบอย่างที่ของผู้ศรัทธาทุกคน โดยที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้แต่งงานกับท่านหญิงอุมมุหะบีบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ผู้เป็นลูกสาวของอบีสุฟยาน ทั้ง ๆ ที่เกียรติศักดิ์ของอบูสุฟยานนั้นย่อมเทียบกับท่านอุมัร บินอัล-ค็อฏฏอบไม่ได้ ส่วนข้อคลุมเครือต่างๆ เกี่ยวกับการแต่งงานนั้น เหตุผลฟังไม่ขึ้น”
และในส่วนของคำกล่าวหาของชาวชีอะฮฺที่ว่า “แท้จริงชัยฎอนเพศเมียนั้นได้ทำการแปลงร่างเป็นอุมมุกัลษูมแก่เคาะลีฟะฮฺ อุมัร บินอัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ” ถือเป็นคำกล่าวหาที่น่าขบขันและตลกสิ้นดี ไม่มีส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงใด ๆ เลย และหากว่าเราได้เชื่อตามคำบอกเล่าที่ปรัมปราที่มันถูกเสกสรรปั้นแต่งนี้แล้ว เราก็จะพบกับเรื่องราวอีกมากมายที่น่าขบขันและตลกสิ้นดีเช่นนี้
และผู้อ่านก็รับรู้ดีว่าความแตกต่างของการเป้าหมายที่ชัดเจนระหว่างการแต่งงานของชายมุสลิมกับหญิงชาวคัมภีร์ซึ่งเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ แต่สำหรับการแต่งงานของชายชาวคัมภีร์กับหญิงมุสลิมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่อนุญาตให้กระทำได้ ดังนั้นขอให้ผู้อ่านได้พินิจไตร่ตรองเรื่องนี้เถิด
สรุปคือ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงานระหว่างเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นมีเป้าหมายที่ชัดเจน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงานระหว่างลูกหลานของท่านอิมามอะลี อะลัยฮิสลาม กับลูกหลานของท่านเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมทั้งสามท่าน(คุละฟาอฺ อัร-รอชิดีน) เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม เช่นเดียวกันกับความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงานที่เป็นที่รับรู้กันดีระหว่างบนีอุมัยยะฮฺกับบนีฮาชิมก่อนที่อิสลามจะมีมาและหลังจากนั้น และที่เป็นที่รับรู้ได้ดีที่สุดนั้นคือ การแต่งงานของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับลูกสาวของท่านอบีสุฟยาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม (ดูในตารางหัวข้อสุดท้ายของหนังสือ)
สิ่งที่ต้องการให้เข้าใจ ณ ที่นี้คือ การบ่งชี้ถึงบางสิ่งบางอย่างที่มาจากตัวตนและสังคมได้อย่างประจักษ์ชัดในการเป็นเครือญาติโดยการแต่งงาน ที่สำคัญที่สุดนั้นคือ ความรักใคร่ระหว่างสองเครือญาติ และแม้ว่าหลักฐานที่พูดถึงเรื่องนี้จะยังมีอยู่อีกมากมาย แต่ก็หวังว่าสิ่งที่ได้นำเสนอก่อนหน้านี้จะเป็นการเพียงพอและครบถ้วนแล้ว -วะบิลลาฮิตเตาะฟีก-
ข้อบ่งชี้ของความสัมพันธ์ในด้านการยกย่องระหว่างกัน
ผู้อ่านเคยใช้ชีวิตต่างถิ่นกับมิตรสหายที่เป็นคนในครอบครัว หรืออาจเป็นญาติพี่น้อง หรือไม่ก็เป็นคนในหมู่บ้านเดียวกันหรือไม่ ? ผู้อ่านจะใช้ชีวิตเป็นแรมปีในต่างถิ่นได้อย่างไร ?? และผู้อ่านเคยใช้ชีวิตอยู่ในเต็นท์เล็ก ๆ กับพวกเขาเหล่านั้นหรือกับคนที่ท่านรักบ้างหรือไม่ ??
ผู้อ่านเคยใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ความแร้นแค้นและการโดนกดขี่ข่มเหงในรูปแบบต่าง ๆ นานากับมิตรสหายที่ได้สานสัมพันธ์กันด้วยกับข้อผูกพันของความศรัทธา ทัศนคติและความรู้สึกบ้างหรือไม่ ? ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับคนที่ใช้ชีวิตในวิกฤติการณ์ต่าง ๆ เช่นนี้ และพวกเขาทุกคนคือมิตรสหายทั้งในยามสุขสบายและในยามทุกข์ยาก ใช่แต่เท่านั้นคนที่อยู่ร่วมกับพวกเขานั้นคือคนที่ดีเลิศที่สุด นั้นคือ “ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ” ?
เศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยเฉพาะกลุ่มชนแรกที่เข้ารับอิสลามพวกเขาทุกคนล้วนเคยใช้ชีวิตในวิกฤติการณ์เช่นนั้น ดังนั้นการใช้ชีวิตทางสังคมของพวกเขานั้นมีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีของคนที่ศึกษาชีวประวัติหรือคนที่ใส่ใจในการใช้ชีวิตของผู้เป็นที่รัก ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ในขณะที่ผู้อ่านได้อ่านถึงบรรทัดนี้ ข้าพเจ้าขอพาผู้อ่านไปสู่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นอย่างเจาะลึกนั้นคือในช่วงเวลาที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อยู่ที่เมืองมักกะฮฺในบ้านของท่านอัล-อัรกอมเพื่อดะอฺวะฮฺผู้คนอย่างลับ ๆ และช่วงเวลาที่ศาสนาอิสลามเป็นที่รู้จักกันดีแล้ว ณ เมืองนั้น หลังจากนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีผู้มีเกียรติได้อพยพไปยังเมืองอัล-ฮะบะชะฮฺ(เอธิโอเปีย)ซึ่งไม่ใช่เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง และภายหลังจากนั้นไม่นานก็ได้อพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺต่อ พวกเขาจำต้องละทิ้งครอบครัวของตัวเอง ทรัพย์สินเงินทองของตัวเอง และบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง และขอให้ผู้อ่านได้พินิจถึงสภาพการเดินทางที่แสนยาวไกลและเต็มไปด้วยความยากลำบากของพวกเขาเถิด บางคนในหมู่พวกเขาเดินทางด้วยการขี่อูฐแต่สำหรับบางคนก็ต้องเดินทางด้วยเท้าเปล่า พวกเขาต่างต้องใช้ชีวิตในสภาพที่หวาดผวาและถูกจำกัดให้อยู่ในเมืองมะดีนะฮฺในช่วงสงครามอัล-ค็อนดัก(สงครามสนามเพลาะ) พวกเขาต้องเดินทางข้ามทะเลทรายอันแห้งแล้งในช่วงสงครามตะบูก ใช่แต่เท่านั้นพวกเขายังต้องใช้ชีวิตในสภาพที่รอความช่วยเหลือและชัยชนะในสงครามบะดัร , สงครามอัล-ค็อนดัก, สงครามค็อยบัร, สงครามหุนัยนฺ และก่อนหน้านั้นคือช่วงที่ต้องใช้ชีวิตในเมืองมักกะฮฺ ฯลฯ
ขอให้ผู้อ่านได้พินิจไตร่ตรองในผลสะท้อนทางด้านจิตใจกันเถิด ความรักและความเป็นมิตรสหายกันระหว่างพวกเขามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ? โดยแน่นอน ผู้อ่านคงจะไม่ลืมว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็คือหนึ่งในนั้นเช่นเดียวกัน เพราะท่านคือผู้นำของพวกเขา ทั้งยังเป็นผู้ขัดเกลาและอบรมสั่งสอนพวกเขา ผู้อ่านต้องจดจำไว้ว่าอัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาจากพระผู้ทรงอภิบาลแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดินทั้งหลายแก่ผู้นำของบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
และขอให้ผู้อ่านได้พินิจไตร่ตรองในเรื่องราวของพวกเขาเถิด การที่พวกเขาได้ผนึกหัวใจและส่งมอบความรักให้แก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้อบรมสั่งสอนพวกเขา ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับพวกเขา และอัลกุรอานก็ถูกประทานลงมายังพวกเขา ดังนั้นขอให้นึกภาพวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นด้วยกัน ซึ่งตามจริงผมได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้แล้วในหนังสือเล่มแรก (เศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม )
ไม่มีข้อสงสัยใด ๆ อีกว่า ความกลมเกลียวกันและความรักที่พวกเขามีอยู่นั้นคือสิ่งที่สามารถเห็นได้อย่างประจักษ์ชัดในหมู่พวกเขา ดังที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿وَٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتَ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ إِذۡ كُنتُمۡ أَعۡدَآءٗ فَأَلَّفَ بَيۡنَ قُلُوبِكُمۡ فَأَصۡبَحۡتُم بِنِعۡمَتِهِۦٓ إِخۡوَٰنٗا ﴾ [آل عمران : 103]
ความว่า “และจำรำลึกถึงความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีแด่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วยความเมตตาของพระองค์” (สูเราะฮฺ อาลิอิมรอน : 103)
ถือเป็นเกียรติยิ่ง ถ้าผู้อ่านจะพินิจใคร่ครวญในความหมายของอายะฮฺข้างต้นนี้ที่เป็นการยืนยันของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ที่มีต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าพวกเขานั้น “พระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเขา” (สูเราะฮฺ อาลิอิมรอน : 103) และนี่คือความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งไม่มีผู้ใดที่สามารถปฏิเสธความโปรดปรานนี้ได้อย่างแน่นอน
จริงอยู่ว่าช่วงก่อนหน้านั้นความเป็นศัตรูกันของชนเผ่าอัล-เอาส์และอัล-ค็อซร็อจญ์ได้ปะทุอย่างรุนแรง แต่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ก็ได้ถอดถอนความเป็นศัตรูและทรงให้ความรักและความเป็นหนึ่งเดียวกันมาแทนที่แล้ว
ยังมีอะไรอีกหรือที่มาขัดขวางไม่ให้ผู้อ่านเชื่อมั่นในข้อเท็จจริงนี้และขัดขว้างไม่ให้ผู้อ่านมีทัศนคติที่ดีต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทั้ง ๆ ที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ก็ได้ยืนยันในเกียรติศักดิ์ของพวกเขาและได้กล่าวถึงความโปรดปรานที่พวกเขาได้รับ ซึ่งทำให้พวกเขาได้กลายเป็นพี่น้องที่มีหัวใจอันบริสุทธิ์ และความรักความกลมเกลียวกันก็ถูกฝั่งลึกในก้นบึ้งของหัวใจพวกเขาแล้ว และด้วยกับการพิจารณาในสำนวนผิวเผินของอายะฮฺอัลกุรอานโดยไม่พิจารณาในสาเหตุของการประทานอายะฮฺนี้เป็นการเฉพาะแล้วนั้น อายะฮฺดังต่อไปนี้ก็ได้บ่งชี้ในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้กล่าวว่า
﴿وَإِن يُرِيدُوٓاْ أَن يَخۡدَعُوكَ فَإِنَّ حَسۡبَكَ ٱللَّهُۚ هُوَ ٱلَّذِيٓ أَيَّدَكَ بِنَصۡرِهِۦ وَبِٱلۡمُؤۡمِنِينَ ٦٢ وَأَلَّفَ بَيۡنَ قُلُوبِهِمۡۚ لَوۡ أَنفَقۡتَ مَا فِي ٱلۡأَرۡضِ جَمِيعٗا مَّآ أَلَّفۡتَ بَيۡنَ قُلُوبِهِمۡ وَلَٰكِنَّ ٱللَّهَ أَلَّفَ بَيۡنَهُمۡۚ إِنَّهُۥ عَزِيزٌ حَكِيمٞ ٦٣﴾ [الأنفال : 62-63]
ความว่า “และถ้าหากพวกเขาต้องการที่จะหลอกลวงเจ้า ก็แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นที่พอเพียงแก่เจ้าแล้ว พระองค์คือผู้ทีได้ทรงสนับสนุนเจ้าด้วยการช่วยเหลือของพระองค์ และด้วยผู้ศรัทธาทั้งหลาย และได้ทรงให้สนิทสนมระหว่างหัวใจของพวกเขา หากเจ้าได้จ่ายสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินทั้งหมด เจ้าก็ไม่สามารถให้สนิทสนมระหว่างหัวใจของพวกเขาได้ แต่ทว่าอัลลอฮฺนั้นได้ทรงให้สนิทสนมระหว่างพวกเขา และแท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 62-63)
ขอให้ผู้อ่านได้พินิจใครครวญในอายะฮฺนี้และอ่านมันหลาย ๆ ครั้งเถิด เพราะในอายะฮฺนี้มันได้กล่าวถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ที่มีต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺและต่อบรรดาผู้ศรัทธาถึงความช่วยเหลือของพระองค์ที่มายังพวกเขา แต่ประเด็นที่สำคัญที่เราต้องรับรู้นั้นคือ แม้ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะจ่ายสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินทั้งหมดท่านก็ไม่สามารถให้ความสนิทสนมเกิดขึ้นระหว่างหัวใจของบรรดาเศาะหาบะฮฺได้ แต่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา เท่านั้นที่มีกรรมสิทธิ์ในความโปรดปรานนั้น อย่างไรก็ตาม คนที่ปฏิเสธและไม่ยอมเปิดใจที่จะรับข้อเท็จจริงนี้ ไม่ใช่ใครอื่นใดเว้นแต่จะเป็นคนที่ผินหลังให้กับหลักฐานทั้งหลายนั้นเอง และยังกล่าวอ้างอีกว่าความเป็นศัตรูระหว่างเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเป็นสิ่งที่สามารถเห็นได้อย่างดาษดื่น
อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงบอกแก่เราว่าพระองค์นั้นคือผู้ที่ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเขา และทรงทำให้พวกเขากลายเป็นพี่น้องกัน ทั้งยังทำให้พวกเขามีความรักความความอ่อนโยนซึ่งกันและกัน กระนั้นก็ตามก็ยังมีเรื่องเล่าปรัมปราอย่างมากมายที่นำเสนอว่าความเป็นศัตรูระหว่างพวกเขานั้นยังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง !!!
ตามจริงยังมีอายะฮฺอัลกุรอานอีกมากมายที่ได้ให้การยกย่องและเทิดเกียรติบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (บางอายะฮฺก็ได้กล่าวถึงแล้วในก่อนหน้านี้) รวมทั้งอายะฮฺที่ได้พรรณนาถึงคุณลักษณะและท่าทีของพวกเขา ในจำนวนนั้นคือการให้สิทธิแก่ผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเองซึ่งเป็นผลทำให้เกิดความรักใคร่กัน ดังที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿لِلۡفُقَرَآءِ ٱلۡمُهَٰجِرِينَ ٱلَّذِينَ أُخۡرِجُواْ مِن دِيَٰرِهِمۡ وَأَمۡوَٰلِهِمۡ يَبۡتَغُونَ فَضۡلٗا مِّنَ ٱللَّهِ وَرِضۡوَٰنٗا وَيَنصُرُونَ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥٓۚ أُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلصَّٰدِقُونَ ٨ وَٱلَّذِينَ تَبَوَّءُو ٱلدَّارَ وَٱلۡإِيمَٰنَ مِن قَبۡلِهِمۡ يُحِبُّونَ مَنۡ هَاجَرَ إِلَيۡهِمۡ وَلَا يَجِدُونَ فِي صُدُورِهِمۡ حَاجَةٗ مِّمَّآ أُوتُواْ وَيُؤۡثِرُونَ عَلَىٰٓ أَنفُسِهِمۡ وَلَوۡ كَانَ بِهِمۡ خَصَاصَةٞۚ وَمَن يُوقَ شُحَّ نَفۡسِهِۦ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ ٩﴾ [الحشر : 8-9]
ความว่า “(สิ่งที่ยึดมาได้จากพวกยะฮูด) เป็นของบรรดาผู้อพยพที่ขัดสนซึ่งถูกขับไล่ออกบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา และทอดทิ้งทรัพย์สินของพวกเขาเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ และความยินดีของพระองค์และช่วยเหลืออัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์ ชนเหล่านั้นพวกเขาคือผู้สัตย์จริง และบรรดาผู้ที่ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นครมะดีนะฮ.(ชาวอันศอร)และพวกเขาศรัทธาก่อนหน้าการอพยพของพวกเขา(ชาวมุฮาญิรีน)พวกเขารักใคร่ผู้ที่อพยพมายังพวกเขาและจะไม่พบความต้องการหรือความอิจฉาอยู่ในทรวงอกของพวกเขาในสิ่งที่ได้ถูกประทานให้และให้สิทธิผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเองถึงแม้ว่าพวกเขายังมีความต้องการอยู่มากก็ตามและผู้ใดปกป้องการตระหนี่ที่อยู่ในตัวของเขาชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ” (สูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ : 8-9)
ในเนื้อหาก่อนหน้านี้ ผมได้นำเสนอหลักฐานบางส่วนจากอัลกุรอานเพียงเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่มันยังมีอยู่อีกมากมาย อย่างไรก็ตามผมก็ได้สรุปเนื้อหาในประเด็นที่ชี้ให้เห็นถึงความรักใคร่กัน และยืนยันถึงการมีอยู่จริงของความรู้สึกนี้ และมันได้ถูกฝั่งลึกอยู่ในก้นบึ้งหัวใจของบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังที่ท่านเองก็รับรู้ดีว่าการให้สิทธิแก่ผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเอง, การเป็นพี่น้องกัน, การรักใคร่ซึ่งกันและกัน, และความสนิทสนมระหว่างหัวใจนั้นก็เป็นสิ่งที่ตัวบทอัลกุรอานได้พูดถึง และมันก็ได้ตอกย้ำถึงการมีคุณลักษณะแห่งความรักความอ่อนโยนซึ่งกันและกันอีกด้วย โดยแน่นอนตัวบทอัลกุรอานที่กล่าวถึงเรื่องนี้มีความชัดเจนอย่างยิ่ง ดังนั้นถ้าผู้อ่านได้พินิจใคร่ครวญอายะฮฺก่อนหน้านี้ ผู้อ่านก็จะพบว่ามีเนื้อหาที่ได้ยืนยันถึงความรักใคร่ของชาวอันศอรที่มีต่อชาวมุฮาญิรีน และขอให้ผู้อ่านได้พินิจใคร่ครวญในอายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺ อัล-ฟัตหฺอีกครั้ง
อนึ่ง ผมขอนำเสนอเหตุการณ์หนึ่งที่ท่านอลี อัล-อิรบิลีย์ ได้รายงานในหนังสือของเขาที่ชื่อ “กัชฟุลฆุมมะฮฺ เล่ม 2 หน้า 78 พิมพ์ที่ประเทศอิหร่าน” จากการรายงานของท่านอิมามอลี บินอัล-หุสัยนฺ อะลัยฮิมัสสลาม ได้เล่าว่า “มีชาวอิรักกลุ่มหนึ่งได้มาหาท่านอิมาม หลังจากนั้นพวกเขาก็พากันตำหนิติเตียนท่านอบีบักรฺ ท่านอุมัร และท่านอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ซึ่งเมื่อพวกเขาได้จบการพูดคุย ท่านอิมามจึงถามพวกเขาว่า พวกเจ้าช่วยตอบฉันได้หรือไม่ ? พวกเจ้าคือชาวมุฮาญิรีนกลุ่มชนแรกที่เข้ารับอิสลาม ดังที่อัลลอฮฺ ได้ดำรัสว่า “บรรดาผู้อพยพที่ขัดสนซึ่งถูกขับไล่ออกบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา และทอดทิ้งทรัพย์สินของพวกเขาเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ และความยินดีของพระองค์และช่วยเหลืออัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์ ชนเหล่านั้นพวกเขาคือผู้สัตย์จริง” (สูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ : 8) ใช่หรือไม่ ? พวกเขาก็ตอบว่า “เปล่าเลย” ท่านอิมามจึงถามต่อว่า พวกเจ้าคือกลุ่มชนที่อัลลอฮฺได้ดำรัสว่า “บรรดาผู้ที่ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นครมะดีนะฮ.(ชาวอันศอร)และพวกเขาศรัทธาก่อนหน้าการอพยพของพวกเขา(ชาวมุฮาญิรีน)พวกเขารักใคร่ผู้ที่อพยพมายังพวกเขาและจะไม่พบความต้องการหรือความอิจฉาอยู่ในทรวงอกของพวกเขาในสิ่งที่ได้ถูกประทานให้และให้สิทธิผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเองถึงแม้ว่าพวกเขายังมีความต้องการอยู่มากก็ตาม” (สูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ : 9) ใช่หรือไม่ ? พวกเขาก็ได้ตอบว่า “เปล่าเลย” ท่านอิมามจึงกล่าวว่า “ก็ในเมื่อพวกเจ้าเองต่างก็ยอมรับว่าตัวเองไม่ได้อยู่ในทั้งสองกลุ่มนั้น ฉะนั้นฉันก็ขอยืนยันว่าพวกเจ้าก็ไม่ใช่กลุ่มชนที่อัลลอฮฺได้ดำรัสไว้ว่า
﴿وَٱلَّذِينَ جَآءُو مِنۢ بَعۡدِهِمۡ يَقُولُونَ رَبَّنَا ٱغۡفِرۡ لَنَا وَلِإِخۡوَٰنِنَا ٱلَّذِينَ سَبَقُونَا بِٱلۡإِيمَٰنِ وَلَا تَجۡعَلۡ فِي قُلُوبِنَا غِلّٗا لِّلَّذِينَ ءَامَنُواْ رَبَّنَآ إِنَّكَ رَءُوفٞ رَّحِيمٌ ١٠﴾ [الحشر : 10]
ความว่า “และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขาโดยพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเราทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ซึ่งได้ศรัทธาก่อนหน้าเรา และขอพระองค์อย่าได้มีการเคียดแค้นเกิดขึ้นในหัวใจของเราต่อบรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเราแท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ : 10) พวกเจ้าจงออกไปให้พ้นจากฉัน แล้วอัลลอฮฺจะจัดการพวกเจ้าอย่างแน่นอน”
และนี่คือความเข้าใจของท่านซัยนุลอาบิดีน อลีบินอัล-หุสัยนฺ อะลัยฮิมัสลาม ซึ่งท่านเป็นตาบิอีนท่านหนึ่ง ตามจริงในหนังสือหลายต่อหลายเล่มก็มีการกล่าวถึงการยกย่องเทิดเกียรติของพวกท่านซึ่งกันและกันอย่างมากมายอยู่แล้ว ทั้งที่เป็นหนังสือของชาวสุนนะฮฺเองหรือที่เป็นหนังสือของชาวชีอะฮฺ ซึ่งคนที่ศึกษาหนังสือนะฮฺญุลบะละเฆาะฮฺเขาย่อมต้องพบกับคำสุนทรพจน์ของท่านอลีอย่างชัดเจนที่ชี้ให้เห็นถึงการสรรเสริญเทิดเกียรติของท่านที่มีต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แต่ผมขอเลือกคำสุนทรพจน์เพียงแค่หนึ่งเดียวเท่านั้นซึ่งมีเนื้อหาที่ได้อ้างอิงจากอัลกุรอานอันทรงเกียรติ
ท่านอิมามอลี อะลัยฮิสลาม ได้กล่าวว่า “ฉันเคยเห็นเศาะหาบะฮฺของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งฉันไม่เคยเห็นว่าจะมีใครสักคนที่เป็นเหมือนกับพวกเขา เวลากลางวันพวกเขาก็จะอยู่กับการปฏิบัติหน้าที่ต่ออัลลอฮฺจนเนื้อตัวคลุกฝุ่นและมอมแมมไปหมด แต่เมื่อเข้าสู่เวลากลางคืนพวกเขาก็จะทำการสุญูดและยืนละหมาดเพื่อพระเจ้าของพวกเขา ความหวาดหวั่นต่อวันกิยามะฮฺได้สถิตอยู่ในจิตใจของพวกเขาตลอดเวลาประหนึ่งว่าพวกเขายืนอยู่บนถ่านหินที่ร้อนระอุ หน้าผากของพวกเขามีเราะงรอยอันเนื่องจากการก้มสุญูดที่ยาวนาน คราใดก็ตามที่พวกเขารำลึกถึงอัลลอฮฺน้ำตาของพวกเขาก็จะหลั่งไหลอย่างเอื้อล้นจนเสื้อผ้าเปียกชุ่มทั้งตัว พวกเขาหวาดกลัวต่อการลงโทษของพระองค์ประหนึ่งต้นไม้ที่โอนเอนไปมาในวันที่พายุพัดกระหน่ำ และพวกเขาก็ต่างเฝ้าหวังในการตอบแทนของพระองค์อยู่ร่ำไป”
(นอกจากนี้ท่านอลี อะลัยฮิสลาม ยังกล่าวถึงเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ไว้อีกว่า “บุคคลเหล่านั้นพากันหายไปไหนกันหมด ? คือคนที่เมื่อถูกเชิญชวนเข้าสู่อิสลาม ก็ยอมรับอิสลามด้วยความบริสุทธิ์ใจ คนที่อ่านอัล-กุรฺอานและดำเนินตามบทบัญญัติที่อยู่ในนั้นอย่างสุดจิตสุดใจ คนที่รักอิสลามดุจดังแม่อูฐรักลูกของมัน และเมื่อมีคำสั่งให้ต่อสู้ปกป้องอิสลาม พวกเขาได้ทิ้งบ้านและครอบครัวของพวกเขาไปอย่างยินยอมพร้อมใจ พวกเขาบางคนตายไปในสภาพผู้พลีชีพ(ชะฮีด) และบางคนยังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางความยากลำบากแสนสาหัส ความสำเร็จไม่เคยทำให้พวกเขาลืมตัว และความตายไม่เคยทำให้พวกเขาสิ้นหวัง การมองเห็นภาพความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันทำให้ชีวิตของพวกเขาโศกเศร้า การมีจิตใจและร่างกายที่หมกมุ่นไม่หยุดหย่อนอยู่กับการปฏิบัติหน้าที่ของพวกเขาต่ออัลลอฮฺ และเพื่อนมนุษย์ทำให้พวกเขาดูซูบซีดและผอมแห้ง และความถ่อมตนปรากฏให้เห็นได้จากพฤติกรรมของพวกเขา พวกเขาเป็นพี่น้องของฉัน พวกเขาไปกันหมดแล้ว ฉันมีเหตุผลอันควรแก่ความต้องการที่จะได้พบกับพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง และรู้สึกเศร้าใจที่ต้องแยกจากพวกเขา”) (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คุตบะฮฺที่ 124 หน้า 244) (-ผู้แปล-)
ตามจริงคำสุนทรพจน์ของท่านอลี อะลัยฮิสลาม ที่ได้กล่าวยกย่องเชิดเกียรติต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺนั้นยืดยาวมาก และในส่วนหลานชายของท่านนั้นคือท่านอิมาม ซัยนุลอาบิดีน ก็มีสาสน์ฉบับหนึ่งที่ได้เต็มไปด้วยคำดุอาอ์และการยกย่องเชิดเกียรติต่อพวกเขา และผู้อ่านจะพบคำกล่าวของบรรดาท่านอิมามทุกท่าน อะลัยฮิสลาม อย่างมากมายที่ยกย่องเทิดเกียรติต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ใช่แต่เท่านั้นยังมีการรายงานอย่างมากมายจากบรรดาท่านอิมาม ซึ่งมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนต่อการยกย่องเทิดเกียรติต่อบรรดาคอลีฟะฮฺอัรรอชิดีนทั้งสามท่านแรก รวมทั้งต่อมารดาของผู้ศรัทธา –อุมมุลมุมินีน- และท่านอื่น ๆ ซึ่งหากรวบรวมแล้วก็ มันต้องใช้หนังสือหลายเล่มเลยทีเดียว
ในที่สุดผมก็นำเสนอเนื้อหาให้แก่ผู้อ่านอย่างมากมายจนได้ ทั้ง ๆ ที่ผมก็พยายามสรุปมันแล้ว อย่างไรก็ตามก็ขอให้ผู้อ่านให้อภัยแก่ผมด้วย ! ผมขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺผู้ทรงมีเกียรติให้สิ่งนี้เป็นประโยชน์แก่ตัวของผมและต่อผู้อ่านทุกท่าน อย่างไรก็ตาม มันก็ยังจำเป็นที่ต้องอธิบายข้อเท็จจริงต่าง ๆ ให้มันครบสมบูรณ์ ดังนั้นผมหวังว่าผู้อ่านจะอดทนร่วมกับผมอีกสักนิด เพราะเนื้อหาของหนังสือเล่มเล็ก ๆ นี้ใกล้จะจบแล้ว ก็เหลือแต่ประเด็นที่ต้องอธิบายเกี่ยวกับเกียรติศักดิ์ของอะฮฺลุลบัยตฺในมุมมองของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺเท่านั้น ทั้งนี้ผู้อ่านจะได้เข้าใจด้วยกับพระประสงค์ของอัลลอฮฺว่าชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺนั้นพวกเขาต่างก็เอาใจใส่ต่อการยึดมั่นและปฏิบัติตามอัลกุรอาน(ซึ่งเป็นคำสั่งเสียที่หนักที่สุด) เช่นเดียวกันพวกเขาต่างก็ยึดมั่นต่อวงศ์เครือญาติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (อัล-อิตเราะฮฺ) ซึ่งประเด็นนี้ต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดเป็นการเฉพาะ
ในเนื้อหาก่อนหน้านี้ ได้มีการยืนยันแล้วถึงความรักความอ่อนโยนที่มีอยู่ในบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทุกท่าน ซึ่งได้หมายรวมถึงวงศ์เครือญาติของท่านนบี โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีสิทธิพิเศษที่ได้อยู่ภายใต้ผ้าคลุมพร้อมกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (อัล-กิสาอ์) แต่สำหรับประเด็นที่จะถึงนี้เป็นการอธิบายถึงสิทธิบางประการของพวกเขาที่นักวิชาการของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺได้อธิบายไว้
ต่ออะฮฺลุลบัยตฺ อะลัยฮิมุสลาม
ความหมายของ “วงศ์เครือญาติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ”
บรรดานักวิชาการมีทัศนะที่เห็นต่างกันในการกำหนดว่าใครคือวงศ์เครือญาติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งทัศนะที่เป็นที่รับรู้กันนั้นมีดังนี้
1- พวกเขาคือบุคคลที่ถูกห้ามรับเศาะดะเกาะฮฺ ซึ่งเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่
2- พวกเขาคือลูกหลานของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาภรรยาของท่าน ซึ่งเป็นทัศนะของท่านอิบนุลอะเราะบีย์ในหนังสือ “อะหฺกามุลกุรอาน” และท่านก็ได้สนับสนุนทัศนะนี้ แต่ก็มีบางทัศนะที่กล่าวเช่นนี้แต่พวกเขาไม่ถือว่าบรรดาภรรยาของท่านนบีเป็นส่วนหนึ่งของวงศ์เครือญาติของท่านนบี
3- วงศ์เครือญาติของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นคือบุคคลที่เจริญรอยตามท่านจนถึงวันกิยามะฮฺ ซึ่งทัศนะนี้ได้รับการสนับสนุนจากท่านอิมามอัน-นะวะวีย์ในหนังสืออธิบายหะดีษของท่านอิมามมุสลิม เช่นเดียวกันกับเจ้าของหนังสือ “อัล-อินศอฟ” แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านที่มีทัศนะว่าบุคคลที่เป็นวงศ์เครือญาติของท่านนบีนั้นคือเฉพาะบุคคลที่มีความยำเกรงจากบรรดาผู้ที่ได้เจริญรอยตามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามทัศนะแรกถือว่าถูกต้องที่สุด
พวกเขาคือชาวบนีฮาชิมและบนีอัล-มุฏฏอลิบ ซึ่งนี่คือทัศนะที่ถูกต้องที่สุดและเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านที่มีทัศนะว่าพวกเขาคือชาวบนีฮาชิมเท่านั้น ส่วนบนีอัล-มุฏฏอลิบไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ
แต่สำหรับความหมายของวงศ์เครือญาติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในทัศนะของชาวชีอะฮฺอิมาม 12 นั้น พวกเขาคือบรรดาท่านอิมามทั้ง 12 ท่านเท่านั้น ซึ่งชาวชีอะฮฺได้กล่าวอ้างในเรื่องนี้อย่างยืดยาวและไม่อาจที่จะนำเสนอในหนังสือเล่มนี้ได้ อย่างไรก็ตามในหมู่ชาวชีอะฮฺก็มีทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่เห็นแย้งกันอย่างหนัก จนกระทั่งเป็นเหตุให้พวกเขาแตกออกเป็นกลุ่มย่อยต่าง ๆ (ดูในหนังสือ กลุ่มต่าง ๆ ของลัทธิชีอะฮฺ เขียนโดยท่านนูบุคตีย์)
หนังสือหลักการเชื่อมั่น(อะกีดะฮฺ)เล่มใดก็ตามที่พูดถึงเรื่องรายละเอียดของหลักการเชื่อมั่น ผู้อ่านก็จะพบว่ามันมีการกล่าวถึงในประเด็นนี้ ซึ่งสิ่งนี้มันเป็นการบ่งชี้ถึงความสำคัญของมัน ทั้งนี้มีนักวิชาการบางท่านที่ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ในหนังสือที่แยกออกเป็นเอกเทศน์ เนื่องจากเห็นถึงความสำคัญของมัน
ข้อสรุปของหลักการเชื่อมั่นของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺที่มีต่อประเด็นนี้ คือสิ่งที่ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้อธิบายไว้ในหนังสือ “อัล-อะกีดะฮฺ อัล-วาสิฏียะฮฺ” ซึ่งเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ไว้ว่า “และพวกเขา(ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ)จะรักใคร่ให้เกียรติวงศ์เครือญาติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และยกย่องพวกเขาเป็นมิตรและเป็นผู้ปกปักษ์รักษาคำสั่งเสียของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ได้กำชับเกี่ยวกับคนเหล่านั้น โดยที่ท่านได้กล่าวไว้ในวัน “ฆอดีรคุม” ไว้ว่า : “ฉันขอเตือนพวกท่านให้กล่าวคำรำลึกถึงอัลลอฮฺเกี่ยวกับวงศ์เครือญาติของฉัน” [8] และที่ท่านนบี ได้กล่าวถึงท่านอับบาส ซึ่งเป็นลุงของท่าน ขณะที่ได้ไปปรับทุกข์กับท่านนบีว่า “ชาวกุร็อยชฺบางคนได้กดขี่ข่มเหงบนีฮาชิม” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า : “"ฉันขอสาบานต่อพระผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า บุคคลเหล่านี้จะไม่ได้เป็นผู้ศรัทธา นอกจากพวกเขาจะรักฉัน และรักท่านเพื่อพระองค์อัลลอฮฺบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่มีต่อฉัน"” [9] และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า : “แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงคัดเลือกเผ่ากินานะฮฺมาจากลูกหลาน(บนี)ของท่านนบีอิสมาอีล และทรงคัดเลือกกุร็อยชฺมาจากเผ่ากินานะฮฺ และทรงคัดเลือกตระกูลฮาชิมมาจากกุร็อยชฺ และทรงคัดเลือกฉันมาจากตระกูลฮาชิม” [10]
และเป็นการเพียงพอแล้วที่เราจะยกคำกล่าวนี้ของท่านอิมามที่ชาวชีอะฮฺส่วนมากถือว่าท่านคือศัตรูคนสำคัญที่สุดในหมู่ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ เพราะหนังสือของท่านที่ชื่อว่า “มินฮาญุสสุนนะฮฺ หรือ منهاج السنة النبوية في نقض كلام الشيعة والقدرية” ซึ่งท่านได้เขียนเพื่อตอบโต้หนังสือของอิบนุอัล-มุฏอฮฮิร อัล-หุลลีย์ ซึ่งเป็นนักวิชาการชาวชีอะฮฺนามอุโฆษ (นั่นคือหนังสือ منهاج الكرامة في إثبات الإمامة)
ซึ่งสามารถแจกแจงสิทธิต่าง ๆ ของวงศ์เครือญาติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ดังนี้
หนึ่ง... สิทธิในการให้ความรักและให้ความเป็นมิตร
โดยแน่นอนผู้อ่านย่อมรู้ดีว่าการให้ความรักต่อผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องกระทำ ซึ่งในเนื้อหาก่อนหน้านี้ได้พูดถึงการให้ความรักต่อเครือญาติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และการให้ความช่วยเหลือต่อพวกเขาแล้ว ในส่วนเนื้อหานี้คือ การให้ความรักและความช่วยที่เป็นการเฉพาะโดยไม่สามารถที่จะมีคนอื่นมาเป็นส่วนร่วมได้อีก เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า “และเพื่อการเป็นเครือญาติที่ใกล้ชิดของฉัน” ในส่วนแรกคือ “เพื่ออัลลอฮฺ” นั้นคือการเป็นพี่น้องในความศรัทธาเดียวกันและการให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องมุสลิมทั่วไปเพราะมุสลิมเป็นพี่น้องกัน ซึ่งมันก็หมายรวมถึงมุสลิมทุกคนและที่เป็นเครือญาติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงให้มีความรักต่อเครือญาติที่ใกล้ชิดของท่านเป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ก็เพื่อการเป็นเครือญาติที่ใกล้กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿قُل لَّآ أَسَۡٔلُكُمۡ عَلَيۡهِ أَجۡرًا إِلَّا ٱلۡمَوَدَّةَ فِي ٱلۡقُرۡبَىٰۗ ﴾ [الشورى : 23]
ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด ฉันมิได้ขอร้องค่าตอบแทนใด ๆ เพื่อการนี้ เว้นแต่เพื่อความรักใคร่ในเครือญาติ” (สูเราะฮฺ อัช-ชูรอ : 23)
ซึ่งหะดีษ(ที่บันทึกโดยท่านอิมามอะหฺมัด)ในก่อนหน้านี้ก็มีความหมายที่ถูกต้องตามนัยของอายะฮฺข้างต้นนี้ เพราะนักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่านได้กล่าวว่า “พวกท่านได้รักฉันก็เพราะเครือญาติที่ใกล้ชิดของฉันมีข้อผูกพันกับพวกท่าน” ด้วยเหตุที่ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นมีเครือญาติที่ใกล้ชิดในทุกต้นสายตระกูลของชาวกุร็อยชฺ หมายถึงว่าการที่พวกเขาได้มีความรัก ได้ให้ความช่วยเหลือ และได้ให้เกียรติก็เพื่อการเป็นเครือญาติที่ใกล้ชิดของพวกเขากับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะได้ดำรงคงอยู่ ซึ่งความรักใคร่นี้จะไม่เกิดขึ้นกับคนมุสลิมทั่วไป
สอง...สิทธิในการประสาทพร(เศาะละวาต)ให้แก่วงศ์เครือญาติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ในจำนวนสิทธิของพวกเขานั้นคือการประสาทพร(เศาะละวาต)ให้แก่พวกเขา ดังที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาา ได้กล่าวว่า
﴿إِنَّ ٱللَّهَ وَمَلَٰٓئِكَتَهُۥ يُصَلُّونَ عَلَى ٱلنَّبِيِّۚ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ صَلُّواْ عَلَيۡهِ وَسَلِّمُواْ تَسۡلِيمًا ٥٦﴾ [الأحزاب : 56]
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺและมะลาอิกะฮฺของพระองค์ประสาทพรแก่นบี โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! พวกเจ้าจงประสาทพรให้เขาและกล่าวทักทายเขาโดยคารวะ” (สูเราะฮฺ อัล-อะหฺซาบ : 56)
และมีบันทึกจากท่านอิมามมุสลิมในหนังสือ “เศาะฮีหฺมุสลิม” ของท่าน จากการรายงานของท่านอบีมัสอูด อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า
أَتَانَا رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَنَحْنُ فِي مَجْلِسِ سَعْدِ بْنِ عُبَادَةَ، فَقَالَ لَهُ بَشِيرُ بْنُ سَعْدٍ: أَمَرَنَا اللهُ تَعَالَى أَنْ نُصَلِّيَ عَلَيْكَ يَا رَسُولَ اللهِ، فَكَيْفَ نُصَلِّي عَلَيْكَ؟ قَالَ: فَسَكَتَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، حَتَّى تَمَنَّيْنَا أَنَّهُ لَمْ يَسْأَلْهُ ثُمَّ قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «قُولُوا اللهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى آلِ إِبْرَاهِيمَ، وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلَى آلِ إِبْرَاهِيمَ فِي الْعَالَمِينَ، إِنَّكَ حَمِيدٌ مَجِيدٌ، وَالسَّلَامُ كَمَا قَدْ عَلِمْتُمْ»
ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้มาหาเราซึ่งในขณะนั้นเรานั่งอยู่ในวงสนทนาของท่านสะอฺดฺ บินอุบาดะฮฺ และแล้วท่านบะชีร บินสะอฺดฺ ก็ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้สั่งใช้ให้เราเศาะละวาตต่อท่านโอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ดังนั้นพวกเราจะเศาะละวาตให้แก่ท่านอย่างไร ? ท่านอบีมัสอูด ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้นิ่งเงียบ จนกระทั่งพวกเราได้ทำให้ท่านบะชีรหยุดถามท่านอีก หลังจากนั้นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้กล่าวว่า พวกท่านจงกล่าวว่า
อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุหัมมัด วะอะลาอาลิ มุหัมมัด, กะมาศ็อลลัยตะ อะลา อาลิอิบรอฮีม, วะบาริกอะลา มุหัมมัด วะอะลาอาลิ มุหัมมัด, กะมาบาร็อกตะ อะลา อาลิอิบรอฮีม ฟิลอาละมีน อินนะกะ หะมีดดุม มะญีด
“โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ขอทรงประทานความจำเริญแด่มุหัมมัดและครอบครัวของมุหัมมัด เช่นที่พระองค์ประทานความจำเริญแด่ครอบครัวของอิบรอฮีม และขอทรงประทานความประเสริฐแด่มุหัมมัดและครอบครัวของมุหัมมัด เช่นที่พระองค์ประทานความประเสริฐแด่ครอบครัวของอิบรอฮีม ในสากลโลกนี้แท้จริงพระองค์นั้นทรงยิ่งด้วยการสรรเสริญและบารมีอันสูงส่ง” ส่วนการให้สลามนั้นก็เป็นไปตามที่พวกท่านได้รู้มา” [11] และมีหะดีษที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันนี้ที่มีรายงานจากท่านอบีหะมีด อัส-สาอิดีย์ ในการบันทึกของท่านอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 3369,6360 และท่านมุสลิม หมายเลข 407
ตามจริงหลักฐานในเรื่องนี้มีอีกมากมาย ดังที่ท่านอิบนุลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “แท้จริงการเศาะละวาตนี้เป็นสิทธิของพวกเขาเท่านั้น ซึ่งคนทั่วไปของประชาชาตินี้จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ” [12] และการเศาะละวาตเช่นนี้เองที่เป็นการเศาะละวาต อัล-อิบรอฮีมียะฮฺ
สาม...สิทธิที่จะได้รับ “อัล-คุมส์”
เช่นเดียวกันพวกเขามีสิทธิใน “อัล-คุมส์” (นั่นคือ หนึ่งในห้าของทรัพย์เฉลย) ดังที่อัลลอฮฺได้ดำรัสว่า
﴿وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّمَا غَنِمۡتُم مِّن شَيۡءٖ فَأَنَّ لِلَّهِ خُمُسَهُۥ وَلِلرَّسُولِ وَلِذِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينِ وَٱبۡنِ ٱلسَّبِيلِ﴾ [الأنفال : 41]
ความว่า “และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงสิ่งใดที่พวกเจ้าได้มาจากการทำศึก นั้น แน่นอนหนึ่งในห้าของมันเป็นของอัลลอฮฺ และเป็นของเราะสูล และเป็นของญาติที่ใกล้ชิด และบรรดาเด็กกำพร้า และบรรดาผู้ขัดสน และผู้เดินทาง” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 41)
หะดีษที่กล่าวถึงเรื่องนี้ก็มีอย่างมากมายเช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนแบ่งนี้มีไว้สำหรับเครือญาติที่ใกล้ชิดของท่านนบีเท่านั้น และสิทธินี้ก็ยังคงมีอยู่แม้ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม และนี่เองก็เป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่และเป็นทัศนะที่ถูกต้อง [13]
ตามจริงสิทธิของอะฮฺลุลบัยตฺนั้นยังมีอีกมากมาย ซึ่งข้าพเจ้าได้นำเสนอในสิทธิที่สำคัญ ๆ เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสิทธิต่าง ๆ นี้จะได้เฉพาะผู้ศรัทธาและมีเชื้อสายของท่านนบีเท่านั้น รวมถึงต้องเป็นบุคคลปฏิบัติการงานที่ดีงาม
อย่างไรก็ตาม ท่านเราะสูลของเรา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้เตือนถึงการยึดติการเชื้อสายวงศ์ตระกูล ดังที่ท่านกล่าวในเมืองมักกะฮฺ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่รับรู้กันเป็นอย่างดี ท่านได้กล่าวว่า
«يَا مَعْشَرَ قُرَيْشٍ - أَوْ كَلِمَةً نَحْوَهَا - اشْتَرُوا أَنْفُسَكُمْ لاَ أُغْنِي عَنْكُمْ مِنَ اللَّهِ شَيْئًا، يَا بَنِي عَبْدِ مَنَافٍ لاَ أُغْنِي عَنْكُمْ مِنَ اللَّهِ شَيْئًا، يَا عَبَّاسُ بْنَ عَبْدِ المُطَّلِبِ لاَ أُغْنِي عَنْكَ مِنَ اللَّهِ شَيْئًا، وَيَا صَفِيَّةُ عَمَّةَ رَسُولِ اللَّهِ لاَ أُغْنِي عَنْكِ مِنَ اللَّهِ شَيْئًا، وَيَا فَاطِمَةُ بِنْتَ مُحَمَّدٍ سَلِينِي مَا شِئْتِ مِنْ مَالِي لاَ أُغْنِي عَنْكِ مِنَ اللَّهِ شَيْئًا» [البخاري برقم 4771]
ความว่า “โอ้ชาวกุร็อยชฺ -หรือคำพูดที่คล้ายคลึงกันนี้- พวกท่านจงซื้อตัวของพวกท่านเถิด ฉันไม่สามารถช่วยเหลือพวกท่านจากการลงโทษของอัลลอฮได้เลย ,โอ้ลูกหลานอับดุลมะนาฟ ฉันไม่สามารถช่วยเหลือพวกท่านจากการลงโทษของอัลลอฮได้เลย,โอ้อับบาส บุตร อับดุลมุฏเฏาะลิบ ฉันไม่สามารถช่วยเหลือท่านจากการลงโทษของอัลลอฮได้เลย,โอ้เศาะฟียะฮ ท่านอาของเราะสูลุลลอฮฺ ฉันไม่สามารถช่วยเหลือท่านจากการลงโทษของอัลลอฮได้เลย และโอ้ฟาฏิมะฮลูกสาวของมุหัมมัด เจ้าจงขอพ่อจากทรัพย์สินของพ่อเถอะตามที่เจ้าต้องการ พ่อไม่สามารถช่วยเหลือเธอจากการลงโทษของอัลลอฮได้เลย” (อัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 4771)
และเป็นที่ทราบกันดีว่า สิ่งที่ถูกประทานให้กับอบีละฮับนั้นคืออะไร (นั้นคือเนื้อหาของสูเราะฮฺอัล-มะสัด -ผู้แปล-) เราขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากการลงโทษของไฟนรกด้วยเถิด
เพื่อให้การกล่าวถึงเกียรติศักดิ์ของอะฮฺลุลบัยตฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในฐานะที่เราเป็นชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ดังนั้นเราขอนำเสนอถึงจุดยืนของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺที่มีต่อพวกนะวาศิบ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
อัน-นะเศาะบุ ในภาษาอาหรับนั้นหมายถึง “การกำหนดสิ่งหนึ่งและยกมันขึ้นมา” เช่นคำกล่าวที่ว่า “นาศิบะตุชชัร วัลหัรบุ” หมายถึง “ความเกลียดชังในสิ่งชั่วร้ายและการทำสงคราม”
ใน “อัล-กอมูส” ได้ระบุว่า “อัน-นะวาศิบ อัน-นาศิบะฮฺ และอะฮฺลุนะศ็อบ” คือบุคคลที่เกลียดชังในตัวท่านอลี อะลัยฮิสลาม เพราะพวกเขาได้ประกาศเป็นศัตรูกับท่าน
นั้นคือต้นตอดั้งเดิมของการเรียกชื่อนี้ ดังนั้นบุคคลใดก็ตามที่เกลียดชังอะฮฺลุลบัยตฺพวกเขาก็คือ “อัน-นะวาศิบ” นั้นเอง
ผู้อ่านจะพบว่า คำกล่าวของนักวิชาการอิสลามนั้นมีความชัดเจนเป็นอย่างยิ่งในการกล่าวยกย่องและเทิดเกียรติต่อท่านอิมามอลี และลูกหลายของท่าน อะลัยฮิมุสลาม และหลักการเชื่อมั่นของเราก็ได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่าท่านอลี ท่านอัล-หะสัน และท่านอัล-หุสัยนฺ อะลัยฮิมุสลาม นั้นได้เข้าสู่สวนสวรรค์อันสถาพร และนี่คือสิ่งที่ประจักษ์ชัด อัลหัมดุลิลลาฮฺ
อย่างไรก็ตามผมขอนำเสนอ ณ ที่นี้เกี่ยวกับจุดยืนของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺต่อพวกนะวาศิบ และการไม่มีส่วนเกี่ยวข้องของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺกับพวกนะวาศิบ ซึ่งนี่คือประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันคือต้นเหตุของการเกิดกลุ่มนิกายและความแตกแยกของประชาชาตินี้ และผู้อ่านจะพบว่ามีกลุ่มบางกลุ่มที่ได้ฉกฉวยโอกาสของความแตกแยกนี้ในการกล่าวถึงสิ่งที่เป็นเชื้อที่ทำให้ความแตกแยกได้ปะทุขึ้นมาอีก และพวกเขาก็ได้เพิ่มความร้าวฉานขึ้นมาในทุก ๆ โอกาสที่พวกเขาสามารถทำได้และบางทีพวกเขาก็จะกุเรื่องเท็จขึ้นมาเพื่อการนี้
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ผู้อ่านจะพบว่ามีคนที่กล่าวหาว่าชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺนั้นได้เกลียดชังท่านอิมามอลีและลูกหลานของท่าน อะลัยฮิมุสลาม พวกเขาได้ใช้ลิ้นในการกุเรื่องเท็จขึ้นมา หรือที่ดีกว่านั้นพวกเขาก็จะรายงานเรื่องราวที่เพ้อเจ้อในการกล่าวหาว่าชาวอะฮฺลุสสุนะฮฺนั้นมีความเกลียดชังต่อท่านอลี อะลัยฮิสลาม
ทั้ง ๆ ที่ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺได้รายงานหะดีษอย่างมากมายถึงความประเสริฐของบรรดาท่านอิมาม ซึ่งผู้อ่านจะไม่พบเนื้อหาในหนังสือหะดีษ นอกจากในนั้นต้องมีการกล่าวถึงความประเสริฐของท่านอิมามอลี อะลัยฮิสลาม และเกียรติศักดิ์ของท่าน
ผู้อ่านจะพบอีกว่า ทัศนะของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺต่อพวกนะวาศิบนั้นมีความชัดเจนอย่างยิ่ง และเพียงพอที่ข้าพเจ้าจะอ้างคำพูดของท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ผู้ซึ่งชาวชีอะฮฺเห็นว่าท่านคือศัตรูคนสำคัญของพวกเขาที่เป็นนักวิชาการชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ ซึ่งท่านได้เขียนหนังสือเล่มใหญ่เพื่อการตอบโต้ชาวชีอะฮฺเป็นการเฉพาะ
ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “การด่าทอและสาปแช่งท่านอลีนั้นถือเป็นความอธรรมที่สมควรต้องขนานพวกเขาว่า “กลุ่มชนผู้อธรรม”” ดังที่มีบันทึกจากท่านอัล-บุคอรี ในหนังสือเศาะฮีหฺของท่าน ความว่า
حَدَّثَنَا خَالِدٌ الحَذَّاءُ، عَنْ عِكْرِمَةَ، قَالَ لِي ابْنُ عَبَّاسٍ وَلِابْنِهِ عَلِيٍّ: انْطَلِقَا إِلَى أَبِي سَعِيدٍ فَاسْمَعَا مِنْ حَدِيثِهِ، فَانْطَلَقْنَا فَإِذَا هُوَ فِي حَائِطٍ يُصْلِحُهُ، فَأَخَذَ رِدَاءَهُ فَاحْتَبَى، ثُمَّ أَنْشَأَ يُحَدِّثُنَا حَتَّى أَتَى ذِكْرُ بِنَاءِ المَسْجِدِ، فَقَالَ: كُنَّا نَحْمِلُ لَبِنَةً لَبِنَةً وَعَمَّارٌ لَبِنَتَيْنِ لَبِنَتَيْنِ، فَرَآهُ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَيَنْفُضُ التُّرَابَ عَنْهُ، وَيَقُولُ: «وَيْحَ عَمَّارٍ، تَقْتُلُهُ الفِئَةُ البَاغِيَةُ، يَدْعُوهُمْ إِلَى الجَنَّةِ، وَيَدْعُونَهُ إِلَى النَّارِ» قَالَ: يَقُولُ عَمَّارٌ: أَعُوذُ بِاللَّهِ مِنَ الفِتَنِ. [البخاري برقم 447]
ความว่า “มีรายงานจากท่านคอลิด อัล-ค็อซซาอ์ ได้รายงานจากท่านอิกริมะฮฺ ได้เล่าว่า ท่านอิบนุอับบาสได้กล่าวแก่ฉันและแก่ลูกของท่านอลีว่า ท่านทั้งสองจงไปหาท่านอบีสะอีด (อัล-คุดรีย์) และจงรับฟังหะดีษที่เขารายงานเถิด ดังนั้นเราทั้งสองก็ได้ไปหา ซึ่งในขณะนั้นเขากำลังซ่อมรั้วบ้านอยู่ และแล้วเขาก็ได้เอาผ้าคลุมไหล่มาผูกกับเท้าทั้งสองแล้วเริ่มรายงานหะดีษให้แก่เราจนท่านได้กล่าวถึงการสร้างมัสญิด(ที่เมืองมะดีนะฮฺ) ท่านได้เล่าว่า พวกเราแบกหินกันทีละก้อน ส่วนอัมมารแบกทีละสองก้อน ครั้นเมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เห็นเขาจึงเข้าไปปัดดินออกจากตัวเขา และได้กล่าวว่า โอ้อัมมารผู้น่าสงสาร กลุ่มชนผู้อธรรมจะสังหารเขา เพราะเขาเชิญชวนพวกนั้นไปสู่สวรรค์ ส่วนพวกนั้นเชิญชวนไปสูนรก ท่านอบีสะอีดได้เล่าต่อว่า และแล้วท่านอัมมารก็ได้กล่าวว่า ฉันขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺจากฟิตนะฮฺทั้งหลายด้วยเถิด” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 447 )
และมีการบันทึกจากท่านอิมามมุสลิม จากการรายงานของท่านอบีสะอีด อัล-คุดรีย์เช่นเดียวกัน ท่านได้กล่าวว่า
أَخْبَرَنِي مَنْ هُوَ خَيْرٌ مِنِّي، أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لِعَمَّارٍ، حِينَ جَعَلَ يَحْفِرُ الْخَنْدَقَ، وَجَعَلَ يَمْسَحُ رَأْسَهُ، وَيَقُولُ: بُؤْسَ ابْنِ سُمَيَّةَ «تَقْتُلُكَ فِئَةٌ بَاغِيَةٌ» [مسلم برقم 2915]
ความว่า “ฉันได้บอกถึงบุคคลที่ดีกว่าตัวฉัน นั้นคือท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านอัมมาร ในช่วงที่เขากำลังขุดหลุมสนามเพลาะ และท่านได้ลูบหัวของเขา พลันกล่าวว่า อิบนิสุมัยยะฮฺผู้น่าสงสาร” กลุ่มชนผู้อธรรมจะสังหารเจ้า” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2915)
และมีการบันทึกจากท่านอิมามมุสลิมเช่นเดียวกัน จากการรายงานของท่านหญิงอุมมุสะละมะฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«تَقْتُلُ عَمَّارًا الْفِئَةُ الْبَاغِيَةُ» [مسلم برقم 2916]
ความว่า “อัมมารจะถูกสังหารโดยกลุ่มชนผู้อธรรม” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2916)
หลักฐานเหล่านี้ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงการดำรงตำแหน่งผู้ปกครองของท่านอลีนั้นมีความชอบธรรมและมีความจำเป็นที่ต้องเชื่อฟังเขา และผู้ใดก็ตามที่เชิญชวนไปสู่การเชื่อฟังต่อเขาแสดงว่าเขาได้เชิญชวนไปสู่สวรรค์ แต่ผู้ใดก็ตามที่เชิญชวนในการสังหารเขาแสดงว่าเขาก็ได้เชิญชวนไปสู่ไฟนรก -แม้ว่าจะอยู่บนพื้นฐานของการตีความหลักฐานก็ตาม- และมันถือเป็นหลักฐานที่ไม่อนุญาตให้สังหารท่านอลี ด้วยเหตุนี้คนที่สังหารท่านถือว่าเขาได้ทำผิด ถึงแม้ว่าอยู่บนพื้นฐานของการตีความหลักฐานหรือตั้งใจสังหาร ซึ่งนั้นคือทัศนะที่ถูกต้องในหมู่นักวิชาการของเรา โดยตัดสินคนที่สังหารท่านอลีว่าเป็นการกระทำที่ผิด และทัศนะของบรรดานักวิชาการนิติศาสตร์อิสลามนั้นได้อนุญาตให้สังหารคนอธรรมคนนั้นถึงแม้ว่าเขาได้สังหารท่านอลีด้วยกับการตีความหลักฐานของเขาก็ตาม” [14]
และขอให้ผู้อ่านได้ไตร่ตรองคำกล่าวนี้กันเถิด
หลังจากที่ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวถึงทัศนะของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺต่อยะซีดและได้ตัดสินในเรื่องนี้ แล้วท่านก็ได้อธิบายทัศนคติที่แตกต่างกันในหมู่ผู้คนอย่างยืดยาวแล้ว ท่านก็ได้กล่าวว่า “และสำหรับคนที่สังหารท่านอัล-หุสัยนฺ หรือช่วยเหลือในการสังหารในครั้งนั้น หรือพอใจในเรื่องนี้ สำหรับเขาจะได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮฺ บรรดามลาอิกะฮฺ และผู้คนทั้งหลาย” [15]
และนี้คือคำกล่าวของท่านอิมามจากชาวสะละฟุศศอลิหฺ ?!!
ด้วยเหตุนี้ จะเป็นการสมควรกระนั้นหรือภายหลังจากนี้ที่คนที่เป็นคอฏีบหรือเป็นครูผู้สอน จะกล่าวหาชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺว่าเป็นพวก “นะวาศิบ” อีก ?
บทสรุปส่งท้ายคือ ผู้อ่านที่มีเกียรติทุกท่าน หวังว่าท่านคงจะมีคำถามมากมายที่เกิดขึ้นในตัวจากสิ่งที่ได้อ่านในหนังสือเล่มนี้ และสิ่งที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่ามีการทำสงครามศิฟฟีน, สงครามอัล-ญะมัลระหว่างเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมกันเอง แต่ในทุกกลุ่มในหมู่พวกเขาก็จะมีบรรดาเศาะหาบะฮฺอยู่ร่วมด้วย ถึงแม้นว่าเศาะหาบะฮฺส่วนใหญ่นั้นจะเข้าร่วมเคียงข้างท่านอลีและอะฮฺลุลบัยตฺ อะลัยฮิมุสลาม ก็ตาม ซึ่งในเรื่องนี้ต้องกล่าวถึงในหนังสืออื่นเป็นการเฉพาะ ผมขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺให้ช่วยเหลือผมในการเขียนอธิบายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นนั้นและอื่น ๆ
และผมขอตักเตือนตัวเองและผู้อ่านด้วยคำดำรัสของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ที่ว่า
﴿وَإِن طَآئِفَتَانِ مِنَ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ ٱقۡتَتَلُواْ فَأَصۡلِحُواْ بَيۡنَهُمَاۖ فَإِنۢ بَغَتۡ إِحۡدَىٰهُمَا عَلَى ٱلۡأُخۡرَىٰ فَقَٰتِلُواْ ٱلَّتِي تَبۡغِي حَتَّىٰ تَفِيٓءَ إِلَىٰٓ أَمۡرِ ٱللَّهِۚ فَإِن فَآءَتۡ فَأَصۡلِحُواْ بَيۡنَهُمَا بِٱلۡعَدۡلِ وَأَقۡسِطُوٓاْۖ إِنَّ ٱللَّهَ يُحِبُّ ٱلۡمُقۡسِطِينَ ٩ إِنَّمَا ٱلۡمُؤۡمِنُونَ إِخۡوَةٞ فَأَصۡلِحُواْ بَيۡنَ أَخَوَيۡكُمۡۚ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ لَعَلَّكُمۡ تُرۡحَمُونَ ١٠﴾ [الحجرات : 9-10]
ความว่า “และหากมีสองฝ่ายจากบรรดาผู้ศรัทธาทะเลาะวิวาทกัน พวกเจ้าก็จงไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายหนึ่งในสองฝ่ายนั้นละเมิดอีกฝ่ายหนึ่ง พวกเจ้าก็จงปรามฝ่ายที่ละเมิดจนกว่าฝ่ายนั้นจะกลับสู่พระบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้นหากฝ่ายนั้นกลับ (สู่พระบัญชาของอัลลอฮฺ) แล้ว พวกเจ้าก็จงประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่ายด้วยความยุติธรรม และพวกเจ้าจงให้ความเที่ยงธรรม(แก่ทั้งสองฝ่าย) เถิด แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักใคร่บรรดาผู้ให้ความเที่ยงธรรม แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน ดังนั้นพวกเจ้าจงไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันระหว่างพี่น้องทั้งสองฝ่ายของพวกเจ้า และจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด หวังว่าพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา” (สูเราะฮฺ อัล-หุญุรอต : 9-10)
ถึงแม้พวกเขาจะมีการทะเลาะวิวาทกันแต่ความศรัทธาของพวกเขาก็ยังคงฝั่งลึกในหัวใจ ซึ่งอายะฮฺนี้มีความชัดเจนเป็นอย่างยิ่งและมันไม่จำเป็นที่ต้องมีการขยายความหรืออธิบายเพิ่มเติมใด ๆ เลย ดังนั้นพวกเขาทุกคนต่างเป็นผู้ศรัทธาถึงแม้ระหว่างพวกเขานั้นจะทะเลาะวิวาทกันก็ตาม
และดังที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿فَمَنۡ عُفِيَ لَهُۥ مِنۡ أَخِيهِ شَيۡءٞ فَٱتِّبَاعُۢ بِٱلۡمَعۡرُوفِ﴾ [البقرة : 178]
ความว่า “แล้วผู้ใดที่สิ่งหนึ่งจากพี่น้องของเขาถูกอภัยให้แก่เขาแล้ว ก็ให้ปฏิบัติไปตามนั้นโดยชอบ” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 178)
(คือผู้ใดฆ่าคนตาย โดยที่คนหนึ่งคนใดในบรรดาญาติของผู้ถูกฆ่าให้อภัยแก่ผู้ฆ่า โดยไม่ปรารถนาจะให้ผู้ฆ่าถูกฆ่าให้ตายตามกันนั้นก็ให้ถือปฏิบัติไปตามนั้น แม้ว่าพี่น้องคนอื่นจะไม่ยินดีก็ตาม คำว่า “สิ่งหนึ่งจากพี่น้องของเขา” นั้นหมายถึงว่าได้มีการอภัยส่วนหนึ่งจากญาติของผู้ตาย และที่ใช้ถ้อยคำว่า “พี่น้องของเขา” นั้น ก็เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นพี่น้องกันเพราะมุอ์มินนั้นเป็นพี่น้องกัน -ผู้แปล-)
นี่คือข้อตัดสินสำหรับคนที่ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา แต่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ก็ยังคงยืนยันถึงความเป็นพี่น้องร่วมศรัทธาเดียวกันระหว่างคนที่ฆ่ากับฝ่ายที่ถูกฆ่า และทั้ง ๆ ที่คนที่ฆ่านั้นถือเป็นคนที่เลวทราม ซึ่งอัลลอฮฺก็ได้กล่าวถึงบทลงโทษในเรื่องนั้นอย่างรุนแรง แต่พระองค์ก็ไม่ทรงทำให้เขาออกจากสภาพของการมีศรัทธา และตัวเขากับฝ่ายที่ถูกฆ่าก็ยังคงเป็นพี่น้องกันอยู่ ดังที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿إِنَّمَا ٱلۡمُؤۡمِنُونَ إِخۡوَةٞ ﴾ [الحجرات : 10]
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน” (สูเราะฮฺ อัล-หุญุรอต : 10)
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าประเด็นนี้สมควรที่ต้องไปศึกษาในหนังสือเล่มอื่นเป็นการเฉพาะ ก็หวังว่าอัลลอฮฺจะทรงให้ความสะดวกในการเขียนเกี่ยวกับประเด็นนั้นในเร็ววันนี้ อินชาอัลลอฮฺ
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิโดยสมบูรณ์ของอัลลอฮฺ ผู้ทรงประทานความโปรดปรานให้เราได้รักท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และวงศ์เครือญาติที่ดีงาม ตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺที่ประเสริฐทุกท่าน
หลังจากที่เราได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับวงศ์เครือญาติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่บริสุทธิ์ การสถาพรและความศานติจงมีแด่พวกเขาทุกท่าน รวมทั้งกับบรรดาเศาะหาบะฮฺที่ประเสริฐ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม หลังจากที่เราได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับพวกเขา และเราก็ได้รับรู้ถึงความรักความอ่อนโยนที่เกิดขึ้นระหว่างพวกเขาผ่านทางสายสัมพันธ์ของการเป็นเครือญาติที่ใกล้ชิดและการเป็นเครือญาติโดยการแต่งงาน และความรัก ความเป็นพี่น้อง และความสนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเขา ดังที่อัลลอฮฺได้กล่าวถึงในอัลกุรอานอันมีเกียรติของพระองค์ คงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องมั่นในการวิงวอนขอดุอาอ์ต่อพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกให้พระองค์ทรงให้เราได้ใช้ชีวิตบนหนทางที่เป็นที่รักและพึงพอใจของพระองค์ และทรงให้เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาผู้ที่พระองค์ได้กล่าวถึงในอัลกุรอานอันมีเกียรติ นั่นคือหลังจากที่พระองค์ได้ยกย่องสรรเสริญต่อชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรแล้ว พระองค์ก็ได้กล่าวว่า
﴿وَٱلَّذِينَ جَآءُو مِنۢ بَعۡدِهِمۡ يَقُولُونَ رَبَّنَا ٱغۡفِرۡ لَنَا وَلِإِخۡوَٰنِنَا ٱلَّذِينَ سَبَقُونَا بِٱلۡإِيمَٰنِ وَلَا تَجۡعَلۡ فِي قُلُوبِنَا غِلّٗا لِّلَّذِينَ ءَامَنُواْ رَبَّنَآ إِنَّكَ رَءُوفٞ رَّحِيمٌ ١٠﴾ [الحشر : 10]
ความว่า “และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขาโดยพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเราทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ซึ่งได้ศรัทธาก่อนหน้าเรา และขอพระองค์อย่าได้มีการเคียดแค้นเกิดขึ้นในหัวใจของเราต่อบรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเราแท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ : 10)
และดังที่ท่านอิมามอลี บินอัล-หุสัยนฺ อะลัยฮิมัสสลาม ได้เล่าว่า “มีชาวอิรักกลุ่มหนึ่งได้มาหาท่านอิมาม หลังจากนั้นพวกเขาก็พากันตำหนิติเตียนท่านอบีบักรฺ ท่านอุมัร และท่านอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ซึ่งเมื่อพวกเขาได้จบการพูดคุย ท่านอิมามจึงถามพวกเขาว่า พวกเจ้าช่วยตอบฉันได้หรือไม่ ? พวกเจ้าคือชาวมุฮาญิรีนกลุ่มชนแรกที่เข้ารับอิสลาม ดังที่อัลลอฮฺ ได้ดำรัสว่า “บรรดาผู้อพยพที่ขัดสนซึ่งถูกขับไล่ออกบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา และทอดทิ้งทรัพย์สินของพวกเขาเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ และความยินดีของพระองค์และช่วยเหลืออัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์ ชนเหล่านั้นพวกเขาคือผู้สัตย์จริง” (สูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ : 8) ใช่หรือไม่ ? พวกเขาก็ตอบว่า “เปล่าเลย” ท่านอิมามจึงถามต่อว่า พวกเจ้าคือกลุ่มชนที่อัลลอฮฺได้ดำรัสว่า “บรรดาผู้ที่ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นครมะดีนะฮ.(ชาวอันศอร)และพวกเขาศรัทธาก่อนหน้าการอพยพของพวกเขา(ชาวมุฮาญิรีน)พวกเขารักใคร่ผู้ที่อพยพมายังพวกเขาและจะไม่พบความต้องการหรือความอิจฉาอยู่ในทรวงอกของพวกเขาในสิ่งที่ได้ถูกประทานให้และให้สิทธิผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเองถึงแม้ว่าพวกเขายังมีความต้องการอยู่มากก็ตาม” (สูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ : 9) ใช่หรือไม่ ? พวกเขาก็ได้ตอบว่า “เปล่าเลย” ท่านอิมามจึงกล่าวว่า “ก็ในเมื่อพวกเจ้าเองต่างก็ยอมรับว่าตัวเองไม่ได้อยู่ในทั้งสองกลุ่มนั้น ฉะนั้นฉันก็ขอยืนยันว่าพวกเจ้าก็ไม่ใช่กลุ่มชนที่อัลลอฮฺได้ดำรัสไว้ว่า
﴿وَٱلَّذِينَ جَآءُو مِنۢ بَعۡدِهِمۡ يَقُولُونَ رَبَّنَا ٱغۡفِرۡ لَنَا وَلِإِخۡوَٰنِنَا ٱلَّذِينَ سَبَقُونَا بِٱلۡإِيمَٰنِ وَلَا تَجۡعَلۡ فِي قُلُوبِنَا غِلّٗا لِّلَّذِينَ ءَامَنُواْ رَبَّنَآ إِنَّكَ رَءُوفٞ رَّحِيمٌ ١٠﴾ [الحشر : 10]
ความว่า “และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขาโดยพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเราทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ซึ่งได้ศรัทธาก่อนหน้าเรา และขอพระองค์อย่าได้มีการเคียดแค้นเกิดขึ้นในหัวใจของเราต่อบรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเราแท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ : 10) พวกเจ้าจงออกไปให้พ้นจากฉัน แล้วอัลลอฮฺจะจัดการพวกเจ้าอย่างแน่นอน” (ดูในหนังสือกัชฟุลฆุมมะฮฺ เล่ม 2 หน้า 78)
แม้ว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่ประจักษ์ขึ้นมา รวมทั้งหลักฐานต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งที่มีความชัดเจนแล้ว แต่มนุษย์ก็ยังคงต้องการการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา และเป็นที่ทราบกันดีว่าอัลลอฮฺทรงช่วยเหลือท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วบกับมุอฺญิซาตที่เจิดจรัส และด้วยอัลกุรอานอันมีเกียรติที่อัลลอฮฺทรงพรรณนาถึงมันว่าเป็นแสงสว่างที่ชัดแจ้ง และด้วยกับมารยาทที่ดีงามที่มีอยู่ในตัวของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พร้อม ๆ กับความเข้มข้นและความชัดเจนของเนื้อหาที่ท่านได้เทศนา และความสัจจริงในคำพูดของท่าน รวมถึงความเข้าใจในสภาพของชาวมักกะฮฺตั้งแต่ท่านยังเด็กจนถึงการถูกแต่งตั้งให้เป็นนบี กระนั้นก็ตามก็ยังมีคนที่ปฏิเสธศรัทธาในหมู่ชาวมักกะฮฺอีกจนกระทั่งถึงเหตุการณ์พิชิตเมืองมักกะฮฺได้มาถึง ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับที่ต้องมั่นในการขอดุอาอ์และวิงวอนให้ได้ใช้ชีวิตภายใต้ทางนำของพระองค์และยืนหยัดในสัจธรรมและเจริญรอยตามสัจธรรมในทุก ๆ ที่ที่เราอยู่ เพราะเรื่องทางนำนั้นเป็นสิ่งที่มีจากอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา
ผู้อ่านต้องตระหนักว่า ท่านนั้นต้องปฏิบัติในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ และพระองค์ก็จะสอบสวนในเรื่องนั้น ดังนั้นจงระวังอย่าให้คำพูดของคนใดคนหนึ่งในหมู่มนุษย์ล้ำหน้าคำดำรัสของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา แท้จริงอัลลอฮฺทรงประทานอัลกุรอานให้แก่เราด้วยกับภาษาอาหรับที่มีความชัดเจน และทรงทำให้มันเป็นทางนำและการบำบัดแก่บรรดาผู้ศรัทธาทุกคนและทรงให้ผู้คนอื่นนั้นมีนัยน์ตาที่มืดบอด ดังที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้กล่าวว่า
﴿قُلۡ هُوَ لِلَّذِينَ ءَامَنُواْ هُدٗى وَشِفَآءٞۚ وَٱلَّذِينَ لَا يُؤۡمِنُونَ فِيٓ ءَاذَانِهِمۡ وَقۡرٞ وَهُوَ عَلَيۡهِمۡ عَمًىۚ أُوْلَٰٓئِكَ يُنَادَوۡنَ مِن مَّكَانِۢ بَعِيدٖ ٤٤﴾ [فصلت : 44]
ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด อัลกุรอานนั้นเป็นแนวทางที่เที่ยงธรรม และเป็นการบำบัดแก่บรรดาผู้ศรัทธา ส่วนบรรดาผู้ไม่ศรัทธานั้น อัลกุรอานจะทำให้หูของพวกเขาหนวก และนัยตาของพวกเขาบอด ชนเหล่านี้จะถูกร้องเรียกจากสถานที่อันไกล” (สูเราะฮฺ ฟุศศิลัต : 44)
ด้วยเหตุนั้น ท่านจงหาทางนำด้วยกับอัลกุรอานเถิด เพื่ออัลลอฮฺจะได้ประคับประคองชีวิตของท่านให้อยู่ในครรลองที่พระองค์ทรงพึงพอใจ
ผู้อ่านต้องเข้าใจว่า การสอบสวนทั้งหลายนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺโดยบริบูรณ์ ซึ่งมนุษย์ไม่มีสิทธิ์ใด ๆ เลยในเรื่องนี้ และการช่วยเหลือของคนดีในวันนั้นก็จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง ดังนั้นขอให้เราได้ห่างไกลจากพฤติกรรมที่หน้าด้านต่ออัลลอฮฺโดยการตัดสินบ่าวคนใดคนหนึ่งของพระองค์
ไม่มีอะไรขาดทุนเลยสำหรับเราที่จะรักอะฮฺลุลบัยตฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ใช่แต่เท่านั้นมันยังสอดคล้องกับอัลกุรอานอันมีเกียรติด้วยซ้ำ และสอดคล้องกับเรื่องราวที่ถูกรายงานอย่างถูกต้อง ดังนั้นจงไตร่ตรองให้ดีเถิด
สุดท้ายนี้... เป็นความจำเป็นต่อเราอีกเช่นกันที่ต้องมั่นขอดุอาอ์ต่ออัลอลฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ให้พระองค์ทรงปลดเปลื้องความเกลียงชังต่อพวกเขาในหัวใจของเรา และให้เราได้ประจักษ์ในสัจธรรม และขอให้พระองค์ทรงช่วยเหลือเราจากกลอุบายของชัยฏอน เพราะพระองค์เท่านั้นที่เป็นผู้คุ้มครองและช่วยเหลือเรา อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่ง
[1] อัล-มัจลิสีย์ ได้ตั้งชื่อบรรพหนึ่งในหนังสือ บิหาร อัล-อันวาร ว่า “บรรพว่าด้วย แท้จริงบรรดาอิมามนั้นมีความรอบรู้เหนือกว่าบรรดานบีทั้งหลาย” เล่ม 2 หน้า 82 และดูใน อุศูล อัล-กาฟีย์ เล่ม 1 หน้า 227
[2] ท่านอิมามอัล-กุรฏุบีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้อธิบายอายะฮฺ “رُحَمَآءُ بَيۡنَهُمۡۖ” ไว้ว่า พวกเขามีความรักความอ่อนโยนซึ่งกันและกัน (ตัฟสีร อัล-กุรฏุบีย์ เล่ม 16 หน้า 293) -ผู้แปล-
[3] ดูในหนังสือ “ตัสมียะฮฺ อัล-เมาลูด โดยอัล-ลามะฮฺ อัช-ชัยคฺ บักรฺ บินอับดุลลอฮฺ อบูซัยดฺ”
[4] ดูในหนังสือ กัชฟุลฆุมมะฮฺ (2/334), อัล-ฟุศูล อัล-มุฮิมมะฮฺ (283), ใช่แต่เท่านั้นบรรดาอิมามทั้งหมด(ที่ชาวชีอะฮฺให้การยอมรับและเชื่อถือ) ท่านก็จะพบว่าพวกเขาได้ใช้ชื่อเหล่านี้เป็นชื่อลูกหลานของพวกเขา ซึ่งนักวิชาการของชาวชีอะฮฺเองก็มีการพูดถึงในเรื่องนี้ และได้ระบุชื่อดังกล่าวในเยาว์ อัฏฏิฟ (17-185) ท่านสามารถดูตัวอย่างได้ในหนังสือ อิอฺลาม อัรรอวีย์ โดยฏ็อบบรอสีย์ (203) อัล-อิรชาด โดยมุฟีด (186) และตารีค อัลยะอฺกูบีย์(2/213)
[5] ท่านแม่ของนางคือ ท่านหญิงอัสมาอ์ บินติอับดิรเราะหฺมาน บินอบีบักร์ ดูในหนังสือ อุมดะฮฺ อัฏ-ฏอลิบีน (195) พิมพ์ที่เตหะราน และหนังสืออัล-กาฟีย์ (1/472)
[6] บันทึกโดยมุสลิม จากการรางานของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บินติก็อยสฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา (2/1114-1119) (1480)
[7] บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ จากการรายงานของท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา (4/1469, 5/1957) (3778,4800)
[8] บันทึกโดยมุสลิมและท่านอื่น ๆ ในหมวดความประเสริฐของบรรดาเศาะหาบะฮฺ บรรพความประเสริฐของท่านอลี อะลัยฮิสลาม เล่ม 4 หน้า 1873 หมายเลขหะดีษ 2408
[9] บันทึกโดยอะหฺมัด ในหมวดความประเสริฐของบรรดาเศาะหาบะฮฺ แม้นว่านักวิชาการที่ได้ตรวจสอบหนังสือเล่มนี้จะวิพากษ์วิจารณ์อย่างยืดยาวแต่กระนั้นก็ตามความหมายของมันก็มีความถูกต้องเพราะสอดคล้องกับตัวบทของอัลกุรอาน
[10] บันทึกโดยมุสลิม เล่ม 4 หน้า 1782 หมายเลขหะดีษ 2276
[11] บันทึกโดยมุสลิม ในหมวดการเศาะละวาต บรรพการเศาะละวาตต่อท่านนบีหลังจากอ่านตะชะฮุด เล่ม 1 หน้า 305 หมายเลขหมายเลขหะดีษ 405
[12] ดูในหนังสือ “ญะลาอุลอัฟฮาม” ซึ่งท่านได้อธิบายในเรื่องนี้ไว้อย่างยืดยาว
[13] ดูในหนังสือ “อัล-มุฆนีย์” เล่ม 9 หน้า 288 และในหนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่เขียนโดยชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺที่ชื่อ “หุกูก อาลิบัยตฺ”
[14] มัจมูอ์ฟะตะวา ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ (4/437)
[15] มัจมูอ์ฟะตะวา ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ (4/487)