อิมามสี่มัซฮับกับอะกีดะฮฺด้าน อัสมาอ์วัศศิฟาต ()

มุหัมมัด อับดุรเราะห์มาน อัล-คุมัยยิส

 

เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่คัดแปลจากหนังสือ “ความเชื่อของอิมามทั้งสี่มัซฮับ อบู หะนีฟะฮฺ, มาลิก, ชาฟิอีย์ และอะห์มัด” ของ ดร.มุหัมมัด อับดุรเราะห์มาน อัลคุมัยยิส โดยคัดเฉพาะประเด็นเรื่องการศรัทธาด้านอัสมาอ์วัศศิฟาต ซึ่งได้อธิบายชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ของอิมามทั้งสี่ท่านนี้เกี่ยวกับความเชื่อด้านพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ เป็นหลักฐานยืนยันว่าทั้งสี่ท่านมีความเชื่อที่สอดคล้องกันกับหลักคำสอนของอัลกุรอาน สุนนะฮฺ เศาะหาบะฮฺ และบรรดาตาบีอีน

|

 อิมามสี่มัซฮับกับอะกีดะฮฺด้าน อัสมาอ์วัศศิฟาต

اعتقاد الأئمة الأربعة في الأسماء والصفات

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

อิมามสี่มัซฮับกับอะกีดะฮฺด้านอัสมาอ์วัศศิฟาต

คำนำผู้แปล

الحمد لله والصلاة والسلام على من لا نبي بعده

มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺสุบบะหานะฮูวะตะอาลา ขอคำสดุดีและความสันติจากพระองค์อัลลอฮฺจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัมลัม ศาสนทูตท่านสุดท้าย ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีเลิศและเป็นเมตตาแก่โลกทั้งผอง และความสันติจงมีแด่วงศาคณาญาติของท่าน ตลอดจนสาวกของท่านและผู้ที่ปฏิบัติตามทั้งหลาย

            การศรัทธาใน อัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาตเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง และเป็นสิ่งที่บ่าวต้องศึกษาและศรัทธาอย่างถูกต้องเพื่อเป็นการทำความรู้จักพระเจ้าของเขา และให้เอกภาพต่อพระองค์อย่างบริสุทธิ์

            พระองค์อัลลอฮฺดำรัสว่า:

 ﴿ وَلِلَّهِ ٱلۡأَسۡمَآءُ ٱلۡحُسۡنَىٰ فَٱدۡعُوهُ بِهَاۖ وَذَرُواْ ٱلَّذِينَ يُلۡحِدُونَ فِيٓ أَسۡمَٰٓئِهِۦۚ سَيُجۡزَوۡنَ مَا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ١٨٠ [الاعراف: ١٧٩] 

ความว่า: ((และอัลลอฮฺนั้นมีบรรดาพระนามอันวิจิตร ดังนั้นพวกเจ้าจงเรียกหาพระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้นเถิด และจงปล่อยบรรดาผู้ที่ทำให้เฉในบรรดาพระนามของพระองค์เถิด พวกเขานั้นจะถูกตอบแทนในสิ่งที่พวกเขากระทำ)) (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 179)  

และดำรัสว่า

﴿ وَلِلَّهِ ٱلۡمَثَلُ ٱلۡأَعۡلَىٰۚ وَهُوَ ٱلۡعَزِيزُ ٱلۡحَكِيمُ ٦٠ [النحل: ٦٠]

ความว่า:  ((และสำหรับอัลลอฮฺนั้นมีคุณลักษณะอันสูงส่ง และพระองค์คือผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ))

(สูเราะฮฺ อัน-นะหฺลุ อายะฮฺที่ 60)

เราจะพบว่าอายะฮฺแรกยืนยันการมีพระนามอันวิจิตรของพระองค์อัลลอฮฺ และส่วนอายะฮฺที่สองยืนยันว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะที่สูงส่ง.

            ดังนั้น เราจะต้องเชื่อและศรัทธาต่อพระนามและคุณลักษณะของพระองค์โดยปราศจากการเปรียบเทียบกับมัคลูกทั้งหลาย

พระองค์ดำรัสว่า:

﴿ لَيۡسَ كَمِثۡلِهِۦ شَيۡءٞۖ وَهُوَ ٱلسَّمِيعُ ٱلۡبَصِيرُ ١١ [الشورى: ١١]  

ความว่า:((ไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ และพระองค์นั้นทรงได้ยินและทรงเห็น))(สูเราะฮฺ อัช-ชูรอ อายะฮฺที่ 11)

การศรัทธาต่อพระนามและคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺ จะต้องอยู่บนกฎและพื้นฐานต่อไปนี้

1. ต้องยืนยันพระนามและคุณลักษณะของพระองค์โดยปราศจากการ ตะหฺรีฟ (บิดเบือน) ตะอฺวีล (เบี่ยงเบนความหมายออกจากความหมายที่ถูกต้อง) การตะอฺฏีล (ปฏิเสธ) ตัชบีฮฺ (เปรียบเทียบกับมัคลูก) และตักยีฟ (ให้วิธีการ)

2. จำเป็นจะต้องคงความหมายเดิมของ พระนาม หรือคุณลักษณะที่ปรากฏในตัวบทหลักฐานจากอัล-กุรอ่าน และอัส-สุนนะไว้ โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลง

3.พระนามของพระองค์ทั้งหมดนั้นวิจิตรและสวยงามเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบที่สุดโดยปราศจากข้อบกพร่องใดๆ และเช่นกันคุณลักษณะต่างๆของพระองค์นั้นสูงส่ง เป็นสิ่งที่สมบูรณ์และปราศจากข้อบกพร่องทั้งหลาย

4. พระนามของพระองค์ไม่มีจำนวนจำกัด

5. พระนามและคุณลักษณะของพระองค์เป็นสิ่งเตากีฟียะฮฺ คือขึ้นอยู่กับตัวบทหลักฐานเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้สติปัญญาในการยืนยันสิ่งดังกล่าว

6.การยืนยันในพระนามและคุณลักษณะใดๆก็เหมือนกับการยืนยันในพระนามและคุณลักษณะอื่นๆที่ถูกระบุมา เช่น การยืนยันว่าพระองค์ทรงได้ยิน โดยการได้ยินของพระองค์นั้นสมบูรณ์ที่สุดและแตกต่างจากของมัคลูก โดยทำการยืนยันพระนามและคุณลักษณะอื่นๆเหมือนกับ ศิฟะฮฺการได้ยินข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะ: พระหัตถ์ พระเนตร พระพักตร์ พระบาท การอิสติวาอฺ การนุซูล การเห็น การรอบรู้ การมีชีวิต เป็นต้น

7.หลักวิธีการในการยืนยันคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺเหมือนกับการยืนยันในพระนามของพระองค์

8. คุณลักษณะของพระองค์แบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ 1) ษุบูตียะฮฺ หมายถึงคุณลักษณะที่พระองค์ยืนยันให้แก่พระองค์เอง เช่น: การมีชีวิต การรอบรู้ การมีพลานุภาพ ฯลฯ   2) สัลบียะฮฺ หมายถึงคุณลักษณะที่พระองค์ปฏิเสธออกจากตัวพระองค์ เช่น: การอธรรม ความตาย ความอ่อนแอ ฯลฯ พร้อมทั้งจำเป็นที่จะต้องยืนยันคุณลักษณะที่สมบูรณ์ตรงข้ามกับสิ่งดังกล่าวด้วย

9. คุณลักษณะ ษุบูตียะฮฺ แบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ : 1.ซาตียะฮฺ คือคุณลักษณะด้านตัวตนที่ยังคงดำรงอยู่กับพระองค์ตลอดเวลา เช่น การได้ยิน การเห็น ฯลฯ 2. ฟิอฺลียะฮฺ คือ คุณลักษณะด้านการกระทำที่ขึ้นกับพระประสงค์ของพระองค์ เช่น การสร้าง การเสด็จลงมา การอยู่เหนืออะรัช ฯลฯ

            หนังสือเล่มเล็กๆนี้เป็นส่วนหนึ่งที่คัดลอกมาจากหนังสือ อิอฺติกอด อะอิมมะฮฺ อัล-อัรบะอะฮฺ อะบีหะนีฟะฮฺ วะมาลิก วะอัช-ชาฟิอีย์ วะอะหฺมัด เรียบเรียงโดยเชค มุหัมมัด บิน อับดุรเราะหฺมาน อัล-คุมัยยิส อาจารย์ภาควิชาอะกีดะฮฺ มหาวิทยาลัย อิหม่าม มุหัมมัด บินสุอูด อัล-อิสลามียะฮฺ กรุงริยาฎ ซาอุดิอาระเบีย เป็นหนังสือที่รวบรวมคำกล่าวบางส่วนที่รายงานจากอิหม่ามผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสี่ ได้แก่:

1.อิหม่าม อะบูหะนีฟะฮฺ นุอฺมาน บิน ษาบิต เกิดปีที่ 80 เสียชีวิตปีที่ 150 ฮิจญฺเราะฮฺศักราช เจ้าของมัซฮับ หะนาฟีย์

2. อิหม่าม มาลิก บิน อะนัส บิน อามิร อัลอัศบะฮีย์ อิหม่ามดารุลฮิจญ์เราะฮฺ  เกิดปีที่ 93 เสียชีวิตปีที่ 179 ฮิจญ์เราะฮฺศักราช เจ้าของมัซฮับ มาลิกีย์

3. อิหม่าม มุฮัมมัด บิน อิดรีส อัช-ชาฟิอีย์ อัลกุเราะชีย์ เกิดปีที่ 150 เสียชีวิตปีที่ 204 ฮิจญ์เราะฮฺศักราช เจ้าของมัซฮับ ชาฟิอีย์

4. อิหม่าม อะบูอับดิลลาฮฺ อะหฺมัด บิน มุฮัมมัด บิน หัมบัล อัช-ชัยบานีย์ อิหม่ามอะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เกิดปีที่ 164 เสียชีวิตปีที่ 241 ฮิจญฺเราะฮฺศักราช เจ้าของมัซฮับ หัมบะลีย์

    และหนังสือเล่มนี้จะเป็นการชี้แจงถึงหลักอะกีดะฮฺของอิหม่ามทั้งสี่ท่านว่าเป็น อะกีดะฮฺ อัส-สะลัฟ อัศ-ศอลิหฺ ในประเด็นอัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต เป็นการยืนยันพระนามและคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺ โดยปราศจากการเปรียบเทียบกับมัคลูก การตีความ เบี่ยงเบียนความหมาย และปฏิเสธคุณลักษณะตามความเชื่อของกลุ่มหลงผิดต่างๆที่แอบอ้างว่าแนวทางของพวกเขาเป็นแนวทางของอิหม่ามทั้งสี่ทั้งในประเด็นอะกีดะฮฺและนิติศาสตร์อัล-อิสลาม เช่นพวกอะชาอิเราะฮฺ พวกมาตุรีกียะฮฺ พวกศูฟีย์ และพวกนักวิพากษ์วิทยาทั้งหลาย ที่ปรากฏพบเห็นในสังคมของเรา.

ขอพระองค์อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงทำให้พวกเราอยู่บนแนวทางที่ถูกต้องตามแนวทางของอิหม่ามทั้งสี่ และโปรดทำให้หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์แก่พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย

وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وأصحابه

ومن تبعهم بإحسان  إلى يوم الدين

อับดุลอะซีซ สุนธารักษ์

15/04/1435

อัล-มะดีนะฮฺ อัล-มุเนาวะเราะฮฺ


 หลักศรัทธาของอิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ในประเด็น พระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺตะอาลา

1.قال الإمام أبو حنيفة رحمه الله: لا يوصف الله تعالى بصفات المخلوقين وغضبه ورضاه صفتان من صفاته بلا كيف وهو قول أهل السنة والجماعة وهو يغضب ويرضى ولا يقال: غضبه عقوبته ورضاه ثوابه. ونصفه كما وصف نفسه أحد صمد لم يلد ولم يولد ولم يكن له كفواً أحد حي قادر سميع بصير عالم يد الله فوق أيديهم ليست كأيدي خلقه ووجهه ليس كوجوه خلقه. (الفقه الأبسط ص56).

1. ท่านอิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: พระองค์อัลลอฮฺจะไม่ถูกพรรณนาด้วยคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้าง การโกรธและการพอพระทัยของพระองค์ คือสองคุณลักษณะจากคุณลักษณะต่างๆของพระองค์โดยไม่มีการพรรณนาว่ามีลักษณะเช่นใด และนี่คือทัศนะของชาวอะฮ์ลิสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ พระองค์อัลลอฮฺจะทรงโกรธและทรงพอพระทัย และจะไม่จำเป็นต้องตีความว่า การโกรธของพระองค์หมายถึง การลงโทษของพระองค์ และการพอพระทัยของพระองค์หมายถึง การตอบแทนของพระองค์ และเราจะพรรณนาคุณลักษณะของพระองค์เหมือนดังที่พระองค์ได้ทรงพรรณนาคุณลักษณะของพระองค์เอง พระองค์คือผู้ทรงเอกะ ทรงเป็นที่พึ่ง ไม่ทรงให้กำเนิดและไม่ทรงถูกให้กำเนิด และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ พระผู้ทรงมีชีวิต ทรงมีพลานุภาพ ทรงได้ยิน ทรงเห็น และทรงรอบรู้ พระหัตถ์ของพระองค์อยู่เหนือมือของพวกเขา และไม่เหมือนกับมือของสิ่งถูกสร้าง และพระพักตร์ของพระองค์ก็ไม่เหมือนกับใบหน้าของสิ่งถูกสร้างแต่อย่างใด  (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อับศ็อฏ หน้าที่ 56 ) 

 2.قال : وله يد ووجه ونفس كما ذكره الله تعالى في القرآن فما ذكره الله تعالى في القرآن من ذكر الوجه واليد والنفس فهو له صفات بلا كيف ولا يقال: إن يده قدرته أو نعمته لأن فيه إبطالَ الصفة وهو قول أهل القدر والاعتزال  (الفقه الأكبر ص 302 )

2. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: พระองค์อัลลอฮฺ ทรงมี พระหัตถ์ พระพักตร์ และตัวตน ดังเช่นที่พระองค์ได้ทรงกล่าวไว้ในอัล-กุรอ่าน ดังนั้นสิ่งใดก็ตามที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ในอัล-กุรอ่าน ไม่ว่าพระพักตร์ พระหัตถ์ และตัวตน นั่นคือคุณลักษณะของพระองค์โดยไม่มีการพรรณนาว่าคุณลักษณะของพระองค์เป็นเช่นใด และจะไม่สามารถกล่าวได้ว่า พระหัตถ์ของพระองค์หมายถึงพลานุภาพ หรือ ความโปรดปราณของพระองค์ เพราะการให้ความหมายดังกล่าวเป็นการยกเลิกคุณลักษณะที่แท้จริงของพระองค์ ซึ่งเป็นทัศนะของพวกเกาะดะรียะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อักบัร หน้าที่ 302)

 3.قال الإمام أبو حنيفة: لا ينبغي لأحد أن ينطق في ذات الله بشيء بل يصفه بما وصف به نفسه ولا يقول فيه برأيه شيئاً تبارك الله تعالى ربّ العالمين. (شرح العقيدة الطحاوية ج2 ص427 تحقيق د. التركي وجلاء العينين ص368)

3. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: ไม่เป็นการสมควรแก่ผู้ใดที่จะใช้สิ่งใดพรรณนาถึงซาตของอัลลอฮฺ แต่ทว่าเขาต้องพรรณนาคุณลักษณะของพระองค์ด้วยสิ่งที่พระองค์ใช้พรรณนาคุณลักษณะของตัวพระองค์ และไม่อนุญาตให้ใช้สติปัญญาพรรณนาคุณลักษณะใดๆของอัลลอฮฺ ผู้ทรงจำเริญ ผู้อภิบาลแห่งโลกทั้งผอง (หนังสือ ชัรห์ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ เล่ม 2 หน้าที่ 427 ฉบับตรวจสอบโดย ดร.อัต-ตุรกีย์ และหนังสือ ญะลาอฺ อัล-อัยนัยน์ หน้าที่ 368) 

4.سئل الإمام أبو حنيفة عن النزول الإلهي فقال: ينزل بلا كيف.  (عقيدة السلف أصحاب الحديث ص42 الأسماء والصفات للبيهقي ص456  شرح الطحاوية ص245 شرح الفقه الأكبر للقاري ص60)

4. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ถูกถามถึงประเด็นการนุซูล (เสด็จลงมา) ของพระองค์อัลลอฮฺ ท่านตอบว่า: “พระองค์ทรงเสด็จลงมาโดยไม่สามารถพรรณนาได้ว่าเป็นเช่นใด” (หนังสือ อะกีดะฮฺ อัส-สะลัฟ วะอัศหาบุลหะดีษ หน้าที่ 42 หนังสือ อัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต ของอิหม่าม อัล-บัยฮะกีย์ หน้าที่ 456 หนังสือ ชัรห์ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ หน้าที่ 245 หนังสือ ชัรห์ อัล-ฟิกฮฺอัล-อักบัร ของ อัล-กอรีย์ หน้าที่ 60) 

5.وقال  الإمام أبو حنيفة : والله تعالى يدعى من أعلى لا من أسفل  لأن الأسفل ليس من وصف الربوبية والألوهية في شيء. (الفقه الأبسط ص51 ).

5. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “พระองค์อัลลอฮฺ ตะอาลา จะถูกร้องขอจากทิศเบื้องบน มิใช่จากเบื้องล่าง เพราะเบื้องล่างไม่ใช่คุณลักษณะของความเป็นผู้อภิบาลและเป็นพระเจ้าแต่อย่างใด” (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อับศ็อฏ หน้าที่ 51 )

6. وقال :  ولا يشبه شيئا من الاشياء من خلقه ولا يشبهه شيء من خلقه  لم يزل ولا يزال بأسمائه وصفاته (الفقه الأكبر ص 301 )

6. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “พระองค์ทรงไม่คล้ายสิ่งใดจากสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และไม่มีสิ่งใดจากสิ่งถูกสร้างคล้ายพระองค์ พระองค์ยังคงดำรงซึ่งพระนามและคุณลักษณะต่างๆสืบไป” (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อักบัร หน้าที่ 301)

7.وقال : وصفاته بخلاف صفات المخلوقين  يعلم لا كعلمنا  ويقدر لا كقدرتنا  ويرى لا كرؤيتنا  ويسمع لا كسمعنا  ويتكلم لا ككلامنا.  (الفقه الأكبر ص302)

7. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “คุณลักษณะต่างๆของพระองค์จะแตกต่างจากคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย พระองค์ทรงรอบรู้ แต่ไม่เหมือนกับการรอบรู้ของเรา ทรงพลานุภาพ แต่ไม่เหมือนกับความสามารถของเรา ทรงเห็น แต่ไม่เหมือนกับการเห็นของเรา ทรงได้ยินแต่ไม่เหมือนกับการได้ยินของเรา และทรงดำรัสแต่ไม่เหมือนกับการพูดของเรา” (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อัลอักบัร หน้า 302)

8.وقال : لا يوصف الله تعالى بصفات المخلوقين. (الفقه الأبسط ص56)

8. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “ไม่อนุญาตให้พรรณนาคุณลักษณะของอัลลอฮฺคุณลักษณะต่างๆของสิ่งถูกสร้าง” (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อับศ็อฏ หน้า 56) 

 9.وقال : من وصف الله بمعنى من معاني البشر  فقد كفر . ( العقيدة الطحاوية  بتعليق الألباني ص25) 

9. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “ผู้ใดพรรณนาคุณลักษณะของอัลลอฮฺด้วยคุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งของมนุษย์ แท้จริงเขาได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว” (อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ ฉบับอธิบายโดย อัล-อัลบานีย์ หน้าที่ 25)

 10.وقال : وصفاته الذاتية والفعلية  أما الذاتية فالحياة والقدرة والعلم والكلام والسمع والبصر والإرادة  وأما الفعلية فالتخليق والترزيق والإنشاء والإبداع والصنع وغير ذلك من صفات الفعل  لم يزل ولا يزال بأسمائه وصفاته. ( الفقه الأكبر ص310)

10. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “คุณลักษณะของอัลลอฮฺประกอบด้วยคุณลักษณะด้านตัวตน (ศิฟาตซาตียะฮฺ) และด้านการกระทำ (ศิฟาตฟิอฺลียะฮฺ), คุณลักษณะด้านตัวตนได้แก่ การมีชีวิต ความสามารถ การรอบรู้ การพูด การได้ยิน การเห็น และการต้องการ ส่วนคุณลักษณะด้านการกระทำ เช่น การสร้าง การประทานริซกีย์ การประดิษฐ์ การสร้างสรรค์ การผลิต และคุณลักษณะด้านการกระทำอื่นๆ พระองค์ยังคงดำรงซึ่งพระนามและคุณลักษณะต่างๆสืบไป” (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อักบัร หน้าที่ 310) 

11. وقال : ولم يزل فاعلا بفعله  والفعل صفة في الأزل والفاعل هو الله تعالى  والفعل صفة في الأزل والمفعول مخلوق  وفعل الله تعالى غير مخلوق. ( الفقه الأكبر ص301) 

11. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “พระองค์ยังคงเป็นผู้กระทำด้วยการกระทำของพระองค์ และการกระทำนั้นคือคุณลักษณะดั้งเดิม ส่วนผู้กระทำคืออัลลอฮฺ และการกระทำคือคุณลักษณะดั้งเดิม และสิ่งที่ถูกกระทำคือมัคลูค และการกระทำของอัลลอฮฺตะอาลามิใช่มัคลูก”  (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อักบัร หน้าที่ 301)

12. وقال : من قال لا أعرف ربي في السماء أم في الأرض فقد كفر وكذا من قال إنه على العرش ولا أدري العرش أفي السماء أم في الأرض. (الفقه الأبسط ص46 مجموع الفتاوي ص5/48 واجتماع الجيوش الإسلامية ص 139 والعلو للذهبي ص101-102 وابن قدامة في العلو ص116 وفي شرح الطحاوية لابن أبي العز ص301 )

12. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “ผู้ใดกล่าวว่า ฉันไม่รู้ว่าพระเจ้าของฉันอยู่เหนือฟากฟ้าหรือบนดิน แท้จริงเขาได้ปฏิเสธแล้ว เช่นกัน ผู้ใดกล่าวว่า พระองค์อยู่เหนืออะรัชแต่ฉันไม่รู้ว่าอะรัชนั้นอยู่บนฟ้า หรือบนดิน (เขาได้ปฏิเสธแล้วเช่นกัน) (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อับศ็อฏ หน้าที่ 46 , มัจมูอุลฟะตาวา เล่ม 5 หน้าที่ 48 , อิจมาอุลญุช อัล-อิสลามมียะฮฺ หน้า 139 ,อัลอุลูว์ ของอัซซะฮะบีย์ หน้า 101-102 ,อัลอุลูว์ของอิบนิกุดามะฮฺ หน้า 116 , ชัรห์ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏเฏาะหาวียะฮฺ ของ อิบนุอบิลอิซ หน้าที่ 301) 

13.وقال للمرأة التي سألته: أين إلهك الذي تعبده  قال : إن الله سبحانه وتعالى في السماء دون الأرض فقال له رجل : أرأيت قول الله تعالى : ﴿وَهُوَ مَعَكُمۡ أَيۡنَ مَا كُنتُمۡۚ  [الحديد: ٤]   قال : هو كما تكتب للرجل إني معك وأنت غائب عنه. (الأسماء والصفات ص429  )

13. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวแก่สัตรีนางหนึ่งที่ถามท่านว่า: “พระเจ้าของท่านผู้ที่ท่านบูชาอยู่ไหน?” ท่านตอบว่า: “แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงอยู่เหนือชั้นฟ้ามิใช่บนแผ่นดิน” ก็มีชายคนหนึ่งพูดขึ้น : “ท่านไม่เห็นดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า: ((และพระองค์ทรงอยู่กับพวกเจ้าไม่ว่าพวกเจ้าจอยู่ที่ไหนก็ตาม)) กระนั้นหรือ?” ท่านจึงตอบว่า: “มันก็เหมือนกับที่ท่านเขียนถึงคนๆหนึ่งว่า แท้จริงฉันอยู่กับเจ้า ในขณะที่ท่านไม่ได้อยู่ต่อหน้าผู้นั้น” (หนังสือ อัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต หน้าที่ 429)

14.وقال : يد الله فوق أيديهم  ليست كأيدي خلقه.  (الفقه الأبسط ص56  )

14.อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “พระหัตถ์ของอัลลอฮฺ อยู่เหนือมือของพวกเขา และพระหัตถ์ของพระองค์ไม่เหมือนกับบรรดามือของสิ่งถูกสร้างของพระองค์” (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อับศ็อฏ หน้าที่ 56) 

15.وقال: ومتكلما بكلامه والكلام صفة في الأزل. ( الفقه الأكبر ص301  ) 

15.อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “และพระองค์เป็นผู้ดำรัสด้วยดำรัสของพระองค์ และการดำรัสนั้น เป็นคุณลักษณะแต่ดั้งเดิม” (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อักบัร หน้าที่ 301)

 16. وقال : ويتكلم  لا ككلامنا . ( الفقه الأكبر ص302 )

16. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “และพระองค์ทรงดำรัสที่ไม่เหมือนกับการพูดของพวกเรา” (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อักบัร หน้าที่ 302)

 17.وقال: وسمع موسى عليه السلام كلام الله تعالى كما قال الله تعالى : ﴿وَكَلَّمَ ٱللَّهُ مُوسَىٰ تَكۡلِيمٗا ١٦٤ [النساء : ١٦٤]   (الفقه الأكبر ص302 )

17. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “และมูซา อะลัยฮิสลาม ได้ยินคำดำรัสของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ได้ดำรัสว่า: ((และอัลลอฮฺได้ทรงดำรัสกับมุซาจริงๆ))” (สูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์ อายะฮฺที่ 164) (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อักบัร หน้าที่ 302)

18.وقال : والقرآن كلام الله في المصاحف مكتوب  وفي القلوب محفوظ  وعلى الألسن مقروء  وعلى النبي صلى الله عليه وسلم أنزل. (الفقه الأكبر ص301 )

18. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “และอัลกุรอ่านคือดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺ ทั้งที่ถูกบันทึกไว้ในคำภีร์ ถูกจดจำไว้ในจิตใจ ถูกอ่านบนปลายลิ้น และถูกประทานแก่ท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม” (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อักบัร หน้าที่ 301)

19. وقال : والقرآن غير مخلوق. (الفقه الأكبر ص301 )

19. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “และอัลกุรอ่านไม่ใช่มัคลูก” (หนังสือ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อักบัร หน้าที่ 301)


 อะกีดะฮฺอิหม่ามมาลิก บิน อะนัส เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ในประเด็นพระนามและคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา  

1. وأخرج الدارقطني عن الوليد بن مسلم قال: سألت مالكاً والثوري والأوزاعي والليث بن سعد عن الأخبار في الصفات فقالوا أمروها كما جاءت.   (أخرجه الدارقطني في الصفات ص75 والآجري في الشريعة ص314 والبيهقي في الاعتقاد ص118 وابن عبد البر في التمهيد7/149)

1. รายงานจากอิหม่ามอัด-ดาเราะกุฏนีย์ จากท่านวะลีด บิน มุสลิม กล่าวว่า: “ฉันได้ถามอิหม่ามมาลิก ท่านอัษเษารีย์ ท่านเอาซาอีย์ และท่านลัยษฺ บิน ซะอฺด์ ถึงหะดีษเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ พวกเขาได้กล่าวว่า: “จงผ่านมันไป ดังที่มีระบุไว้” (รายงานโดย อัด-ดาเราะ กุฏนีย์ ในหนังสือ อัศ-ศิฟาต หน้าที่ 75 ท่านอาญุรีย์ในหนังสือ อัช-ชะรีอะฮฺ หน้า 314 ท่านบัยฮะกีย์ ในหนังสือ อัล-อิอฺติกอด หน้า 118 และท่านอิบนุ อับดิลบัร ในหนังสือ อัต-ตัมฮีด เล่ม 7 หน้าที่ 149) 

2. وقال ابن عبد البر: سُئل مالك أيُرى الله يوم القيامة فقال : نعم يقول الله عز وجل: ﴿ وُجُوهٞ يَوۡمَئِذٖ نَّاضِرَةٌ ٢٢ إِلَىٰ رَبِّهَا نَاظِرَةٞ ٢٣ [القيامة: ٢٣ـ٢٢]  وقال لقوم آخرين: ﴿ كَلَّآ إِنَّهُمۡ عَن رَّبِّهِمۡ يَوۡمَئِذٖ لَّمَحۡجُوبُونَ ١٥ [المطففين: ١٥]  (الإنتقاء ص36)

2. ท่านอินนุ อับดิลบัรกล่าวว่า: ท่านอิหม่ามมาลิก เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ถูกถามว่า: “พระองค์อัลลอฮฺจะทรงถูกเห็นในวันกิยามะฮฺหรือไม่?” ท่านตอบว่า: “ใช่ พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงดำรัสว่า: ((ในวันนั้นหลาย ๆ ใบหน้าจะเบิกบาน จ้องมองไปยังพระเจ้าของพวกเขา)) (สูเราะฮฺอัล-กิยามะฮฺ อายะฮฺที่ 22) และพระองค์จะดำรัสแก่กลุ่มอื่นว่า: ((มิใช่เช่นนั้น แท้จริงพวกเขาในวันนั้นจะถูกกั้นจากพระเจ้าของพวกเขา)) (สูเราะฮฺ อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน อายะฮฺที่ 15) (หนังสือ อัต-ตัมฮีด เล่ม 2 หน้าที่ 42) 

3. وأورد القاضي عياض في ترتيب المدارك  عن ابن نافع وأشهب  قالا: وأحدهم يزيد على الآخر يا أبا عبد الله: ﴿ وُجُوهٞ يَوۡمَئِذٖ نَّاضِرَةٌ ٢٢ إِلَىٰ رَبِّهَا نَاظِرَةٞ ٢٣ ينظرون إلى الله قال: نعم بأعينهم هاتين فقلت له: فإن قومًا يقولون لا ينظر إلى الله إن ناظرة بمعنى منتظرة إلى الثواب قال: كذبوا بل ينظر إلى الله أما سمعت قول موسى عليه السلام: ﴿ أَرِنِيٓ أَنظُرۡ إِلَيۡكَۚ  [الاعراف: ١٤٢]  أفترى موسى سأله ربه محالاً فقال الله: ﴿ قَالَ لَن تَرَىٰنِي [الاعراف: ١٤٢] أي في الدنيا لأنها دار فناء ولا ينظر ما يبقى بما يفنى فإذا صاروا إلى دار البقاء نظروا بما يبقى إلى ما يبقى وقال الله: ﴿ كَلَّآ إِنَّهُمۡ عَن رَّبِّهِمۡ يَوۡمَئِذٖ لَّمَحۡجُوبُونَ ١٥ [المطففين: ١٥]   (ترتيب المدارك 2/42)

3. ท่านอัล-กอฎีย์ อิยาฎ ได้ระบุในหนังสือ ตัรตีบ อัล-มะดาริก รายงานจาก อิบนินาฟิอฺ และ อัชฮับ ทั้งสองกล่าวว่า : “โอ้อะบา อับดิลลาฮฺ (อิหม่ามมาลิก) ((ในวันนั้นหลาย ๆ ใบหน้าจะเบิกบาน จ้องมองไปยังพระเจ้าของพวกเขา)) (สูเราะฮฺอัล-กิยามะฮฺ อายะฮฺที่ 22) “พวกเขาจะมองไปยังอัลลอฮฺหรือ?” ท่านตอบว่า: “ใช่ ด้วยกับสองตาของพวกเขา” ฉันกล่าวว่า: “มีกลุ่มคนอ้างว่า: จะไม่ถูกมองไปยังอัลลอฮฺ แท้จริงคำว่า นาซิเราะฮฺ (มอง) หมายถึง รอคอยการตอบแทน”  ท่านตอบว่า: “พวกเขาโกหก ทว่า จะมองไปยังอัลลอฮฺ ท่านไม่ได้ยินคำกล่าวของมูซา อะลัยฮิสลามดอกหรือ? ที่ว่า: ((โอ้พระเจ้าของฉัน ได้โปรดปรากฏตัวเพื่อข้าพระเจ้าได้มองไปยังพระองค์)) (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 143) ท่านคิดว่ามูซาขอจากพระเจ้าในสิ่งที่เป็นไม่ได้กระนั้นหรือ? พระองค์อัลลอฮฺจึงได้ดำรัสกลับว่า: ((เจ้าไม่มีทางเห็นข้าหรอก)) (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 143) หมายถึง ไม่มีทางเห็นในดุนยานี้ เพราะมันคือโลกที่จะต้องสูญสลาย เพราะสิ่งนิรันดร์จะไม่ถูกมองด้วยกับสิ่งที่ต้องสูญสลาย และเมื่อพวกเขาได้เข้าไปอยู่ในโลกที่นิรันดร์แล้วไซร้ พวกเขาก็จะมองไปยังสิ่งที่นิรันดร์ (อัลลอฮฺ) ด้วยกับสิ่งที่นิรันดร์เช่นกัน และพระองค์อัลลอฮฺได้ดำรัสว่า: ((มิใช่เช่นนั้น แท้จริงพวกเขาในวันนั้นจะถูกปิดกั้นจากพระเจ้าของพวกเขา)) (สูเราะฮฺ อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน อายะฮฺที่ 15) (หนังสือตัรตีบ อัล-มะดาริก เล่ม 2 หน้าที่ 42)

 4.أخرج أبو نعيم عن جعفر بن عبد الله قال : كنا عند مالك بن أنس فجاءه رجل فقال : يا أبا عبد الله  ﴿ ٱلرَّحۡمَٰنُ عَلَى ٱلۡعَرۡشِ ٱسۡتَوَىٰ ٥ [طه: ٥]  كيف استوى   وقال : الكيف منه غير معقول , والاستواء منه غير مجهول , والإيمان به واجب والسؤال عنه بدعة وأظنك صاحب بدعة وأمر به فأخرج. (حلية الأولياء ص6/ 325-326  وأخرجه أيضًا الصابوني في عقيدة السلف أصحاب الحديث ص17- 18 من طريق جعفر بن عبد الله عن مالك وابن عبد البر في التمهيد 7/151 من طريق عبد الله بن نافع عن مالك والبيهقي في الأسماء والصفات  ص408 من طريق عبد الله بن وهب عن مالك قال الحافظ بن حجر في فتح الباري 13/406-407  إسناده جيد وصححه الذهبي في العلو ص103)

4. ท่านอะบูนะอีม ได้รายงาน จาก ญะอฺฟัร บิน อับดิลลาฮฺ กล่าวว่า : “ขณะที่พวกเราได้อยู่พร้อมกับ ท่านอิหม่ามมาลิก บิน อะนัส เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ได้มีชายคนหนึ่งมาและถามท่านอิหม่ามมาลิกว่า: “โอ้ท่านอะบาอับดิลลาฮฺ ((ผู้ทรงกรุณาปรานีนั้น ประทับอยู่เหนือ อะรัช)) (ซูเราะฮฺ ตอฮา อายะฮฺที่ 5) แล้วพระองค์ ประทับอย่างไรกัน?” ท่านกล่าวตอบว่า : “วิธีการประทับของพระองค์ไม่สามารถจินตนาการได้ และการประทับเป็นที่รู้จัก การศรัทธาต่อมันเป็นเรื่องจำเป็น และการถามถึงมัน เป็นบิดอะฮฺ และฉันคิดว่า ท่านเป็นพวกบิดอะห์” แล้วท่านก็สั่งให้นำตัวเขาออกไป” (หนังสือ หิลยะฮฺ อัลเอาลิยาอ์ เล่ม 6 หน้าที่ 325-326 รายงานโดยท่านอัศ-ศอบูนีย์เช่นกันในหนังสือ อะกีดะฮฺ อัส-สะลัฟ อัศหาบุลหะดีษ หน้าที่ 17-18 โดยสายรายงานจาก ท่าน ญะอฺฟัร บิน อับดิลลาฮฺ จากอิหม่ามมาลิก และท่านอิบนิ อับดิลบัรรายงานในหนังสือ อัต-ตัมฮีด เล่ม7 หน้าที่ 151 โดยสายรายงานจากท่านอับดิลลาฮฺ บิน นาฟิอฺ จากอิหม่ามมาลิก และท่านบัยฮะกีย์ระบุในหนังสือ อัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต หน้าที่ 408 โดยสายรายงานท่าน อับดิลลาฮฺ บิน วะฮฺบฺ จากอิหม่ามมาลิก และ ท่านอิบนุหะญัร กล่าวในหนังสือ ฟัตฮุลบารีย์ เล่ม 13 หน้าที่ 406-407 ว่า สายรายงานดี และอัซ-ซะฮะบีย์กล่าวในหนังสือ อัล-อุลูว์ หน้า 103 ว่า รายงานถูกต้อง) 

5.وأخرج ابن عبد البر عن عبد الله بن نافع قال: كان مالك بن أنس يقول من قال القرآن مخلوق يوجع ضربًاويحبس حتى يتوب. )الإنتقاء ص35)

5. ท่านอิบนุอับดิลบัร รายงานจากท่าน อับดิลลาฮฺ บิน นาฟิอฺ ท่านกล่าวว่า: “อิหม่ามมาลิกเคยกล่าวว่า: “ผู้ใดพูดว่า กุรอ่านเป็นมัคลูก จำเป็นที่จะต้องทำโทษด้วยการโบย และกักขัง จนกว่าจะกลับตัว(เตาบัต) (หนังสือ อัล-อินติกออ์ หน้าที่ 35)

6.وأخرج أبو داود عن عبد الله بن نافع قال: قال مالك: الله في السماء وعلمه في كل مكان. (رواه أبو داود في مسائل الإمام أحمد ص263)

6.ท่านอะบูดาวูดรายงานจากท่านอับดิลลาฮฺ บิน นาฟิอฺ กล่าวว่า: อิหม่ามมาลิก กล่าวว่า : “พระองค์อัลลอฮฺทรงอยู่เหนือชั้นฟ้าและความรู้ของพระองค์อยู่ครอบคลุมทุกหนแห่ง” (รายงานโดยอะบูดาวูด ในหนังสือ มะสาอิล อิหม่าม อะหฺมัด หน้าที่ 263)


 อะกีดะฮฺอิหม่าม มุฮัมมัด บิน อิดรีส อัช-ชาฟิอีย์ ในประเด็นพระนาม และคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา 

1. وأورد ابن القيم في اجتماع الجيوش عن الشافعي أنه قال: القول في السنة التي أنا عليها ورأيت أصحابنا عليها أهل الحديث الذين رأيتهم وأخذت عنهم مثل سفيان ومالك وغيرهما الإقرار بشهادة أن لا إله إلا الله وأن محمدًا رسول الله وأن الله تعالى على عرشه في سمائه يقرب من خلقه كيف شاء وأن الله تعالى ينزل إلى سماء الدنيا كيف شاء. (اجتماع الجيوش الإسلامية ص165 إثبات صفة العلو ص124 وانظر مجموع الفتاوى4/181-183 والعلو للذهبي ص120)

1. ท่านอิบนุลก็อยยิม รายงานในหนังสือ อิจญ์ติมาอฺ อัล-ญุยูช อัล-อิสลามมียะฮฺ จากอิหม่าม อัช-ชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ท่านกล่าวว่า: “คำกล่าวในสุนนะฮฺที่ฉันดำรงอยู่ และจากสหายของเราที่ดำรงอยู่ จากบรรดาชาวหะดีษที่ฉันได้เห็นพวกเขาและรับความรู้จากพวกเขา อาทิ ท่านสุฟยาน มาลิก และท่านอื่นๆ คือยอมรับด้วยชะฮาดะฮฺ ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรกราบไหว้ เว้นแต่อัลลอฮฺ และมุฮัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ และแท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่เหนืออะรัช บนชั้นฟ้า พระองค์จะทรงใกล้ชิดบ่าวของพระองค์ด้วยวิธีการที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮฺจะทรงลงสู่ฟากฟ้าดุนยาด้วยวิธีการที่พระองค์ทรงประสงค์” (หนังสือ อิจญ์ติมาอฺ อัล-ญุยูช อัล-อิสลามมียะฮฺ หน้าที่ 165 หนังสือ อิษบาต ศิฟะฮฺ อัล-อุลูว์ หน้าที่ 124 หนังสือ มัจมูอฺ อัล-ฟัตวา เล่ม 4 หน้าที่ 181-183 และหนังสือ อัลอุลูว์ ของ อัซ-ซะฮะบีย์ หน้าที่ 120)

2.وأخرج ابن عبد البر عن يونس بن عبد الأعلى  قال : سمعت الشافعي يقول : إذا سمعت الرجل يقول الاسم غير المسمى أو الشيء غير الشيء فاشهد عليه بالزندقة. (الإنتقاء ص89)

2. ท่านอิบนุ อับดิลบัร รายงานจากท่านยูนุส บิน อับดิลอะอฺลา กล่าวว่า: “ฉันได้ยิน อัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า: “เมื่อท่านได้ยินบุคคลใดกล่าวว่า: “นามนั้นไม่ใช่ตัวตนของผู้ที่ถูกขนานนาม หรือสิ่งหนึ่งไม่ใช่ตัวตนของอีกสิ่งหนึ่ง” ก็จงตราหน้าเขาว่าเป็นพวก ซินดีก (นอกลู่)(หนังสือ อัล-อินติกออ์ หน้าที่ 89)

3. وقال الشافعي في كتابه الرسالة: :والحمد لله ... الذي هو كما وصف به نفسه وفوق ما يصفه به خلقه. )الرسالة ص7)

3. ท่านอิหม่าม อัช-ชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวไว้ในหนังสืออัร-ริสาละฮฺ ของท่านว่า: “มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของพระองค์อัลลอฮฺ.... พระผู้ซึ่งมีคุณลักษณะดังที่พระองค์ได้บรรยายไว้กับตัวพระองค์เอง และมีคุณลักษณะเหนือการบรรยายของมนุษย์”  (หนังสือ อัร-ริสาละฮฺ หน้าที่ 7-8 )

4.وأورد الذهبي في السير عن الشافعي أنه قال: «نثبت هذه الصفات التي جاء بها القرآن ووردت بها السنة وننفي التشبيه عنه كما نفى عن نفسه فقال: ﴿ لَيۡسَ كَمِثۡلِهِۦ شَيۡءٞۖ  [الشورى: ١١] .  (السير 20/341 )

4. ท่านอัซ-ซะฮะบีย์ระบุในหนังสือ สิยัรอะลาม อันนุบะลาอ์ จากอิหม่ามอัช-ชาฟิอีย์ ท่านกล่าวว่า: “พวกเรายืนยันคุณลักษณะต่างๆเหล่านี้ของอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ปรากฏในอัล-กุรอ่าน และอัส-สุนนะฮฺ และพวกเราปฏิเสธการเปรียบเทียบพระองค์อัลลอฮฺกับสิ่งอื่น ดังเช่นที่พระองค์ได้ปฏิเสธด้วยตัวของพระองค์เอง พระองค์ได้ดำรัสว่า: ((และไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์))” (สูเราะฮฺ อัช-ชูรอ อายะฮฺที่ 11)(หนังสือ สิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 20 หน้าที่ 341 ) 

5.وأخرج ابن عبد البر عن الربيع بن سليمان قال: «سمعت الشافعي يقول في قول الله عز وجل ﴿ كَلَّآ إِنَّهُمۡ عَن رَّبِّهِمۡ يَوۡمَئِذٖ لَّمَحۡجُوبُونَ ١٥ [المطففين: ١٥] أعلمنا بذلك أن ثم قومًا غيرمحجوبين ينظرون إليه لا يضامون في رؤيته.  (الإنتقاء ص79)

5. ท่านอิบนุอับดิลบัร รายงานจากท่าน อัร-รอบีอฺ บิน สุลัยมาน กล่าวว่า: “ฉันได้ยิน อัช-ชาฟิอีย์อธิบาย ดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า: ((มิใช่เช่นนั้น แท้จริงพวกเขาในวันนั้นจะถูกปิดกั้นจากการมองเห็นพระเจ้าของพวกเขา)) (สูเราะฮฺ อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน อายะฮฺที่ 15) อายะฮฺนี้ได้แจ้งให้เราทราบว่า ณ ตอนนั้น จะมีกลุ่มชนที่จะไม่ถูกปิดกั้น (จากการมองเห็นอัลลอฮฺ) พวกเขาจะมองเห็นพระองค์ โดยปราศจากการบดบัง” (หนังสือ อัล-อินติกออ์ หน้าที่ 79) 

6.وأخرج ابن عبد البر عن الجارودي قال: ذكر عند الشافعي إبراهيم بن إسماعيل ابن علية  فقال: أنا مخالف له في كل شيء وفي قول لا إله إلا الله لست أقول كما يقول أنا أقول: لا إله إلا الله الذي كلّم موسى عليه السلام تكليمًا من وراء حجاب وذلك يقول لا إله إلا الله الذي خلق كلامًا أسمعه موسى من وراء حجاب. (الإنتقاء ص79  والقصة ذكرها الحافظ عن مناقب الشافعي للبيهقي  اللسان 1/35)

6. ท่านอิบนุอับดิลบัร รายงานจากท่าน อัล-ญารูดีย์ กล่าวว่า: “อิบรอฮีม บิน อิสมาอีล บิน อุลัยยะฮฺ (หนึ่งในบรรดาผู้ที่กล่าวว่า อัล-กุรอ่านเป็นมัคลูก) ถูกกล่าวขึ้นต่อหน้า อิหม่าม อัช-ชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ท่านจึงกล่าวว่า: “ฉันมีมีทัศนะที่ขัดแย้งกับเขาในทุกๆประเด็นและในประเด็น: “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่คู่ควรแก่การกราบไหว้เว้นแต่อัลลอฮฺ" และฉันจะไม่กล่าวอย่างที่เขากล่าว ฉันกล่าวว่า: “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่คู่ควรแก่การกราบไหว้เว้นแต่อัลลอฮฺ ผู้ซึ่งได้ดำรัสกับมูสา อะลัยฮิสลาม อย่างแท้จริง จากเบื้องหลังม่าน แต่เขาคนนั้น (อิบรอฮีม บิน อิสมาอีล)ได้กล่าวว่า: “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่คู่ควรแก่การกราบไหว้เว้นแต่อัลลอฮฺ ผู้ซึ่งทรงสร้างคำดำรัสขึ้นและทำให้มูซา อะลัยฮิสสลามได้ยินจากเบื้องหลังม่าน” (หนังสือ อัล-อินติกออ์ หน้าที่ 79 และอัลหาฟิซอิบนุหะญัรได้อ้างอิงเรื่องราวดังกล่าวจากหนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ ของท่านบัยหะกีย์ ในหนังสือ ลิสาน อัลมีซาน เล่ม 1 หน้าที่ 35) 

7.وأخرج اللالكائي عن الربيع بن سليمان  قال الشافعي:  من قال القرآن مخلوق فهو كافر(شرح أصول اعتقاد أهل السنة والجماعة 1/252 )

7. ท่านอัล-ลาละกาอีย์รายงานจากท่าน อัร-รอบีอฺ บิน สุลัยมาน ท่านอินหม่าม อัช-ชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า: “ผู้ใดที่อ้างว่าอัล-กุรอ่าน เป็นมัคลูก แน่นอนเขาเป็นผู้ปฏิเสธ” (หนังสือ ชัรห์ อุสูลอิอฺติกอด อะลิสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เล่ม1 หน้า 252)

8.وأخرج البيهقي عن أبي محمد الزبيري قال:  قال رجل للشافعي أخبرني عن القرآن خالق هو  قال الشافعي: اللهم لا. قال: فمخلوق  قال الشافعي: اللهم لا. قال: فغير مخلوق  قال الشافعي: اللهم نعم. قال: فما الدليل على أنه غير مخلوق  فرفع الشافعي رأسه وقال: تُقر بأن القرآن كلام الله  قال: نعم. قال الشافعي: سبقت في هذه الكلمة قال الله تعالى ذكره: ﴿وَإِنْ أَحَدٌ مِّنَ الْمُشْرِكِينَ اسْتَجَارَكَ فَأَجِرْهُ حَتَّى يَسْمَعَ كَلاَمَ اللّهِ [التوبة: ٦]   ﴿ وَكَلَّمَ ٱللَّهُ مُوسَىٰ تَكۡلِيمٗا ١٦٤ [النساء : ١٦٤]  .قال الشافعي: فتقر بأن الله كان وكان كلامه  أو كان الله ولم يكن كلامه  فقال الرجل: بل كان الله وكان كلامه. قال: فتبسم الشافعي وقال: يا كوفيون إنكم لتأتوني بعظيم من القول إذا كنتم تقرون بأن الله كان قبل القبل وكان كلامه فمن أين لكم الكلام: إن الكلام الله  أو سوى الله  أو غير الله  أو دون الله  قال: فسكت الرجل وخرج. (مناقب الشافعي ص1/407ـ408 )

8. ท่านบัยฮะกีย์รายงานจาก ท่านอะบี มุฮัมมัด อัซ-ซุบัยดีย์ กล่าวว่า: “ชายคนหนึ่งได้กล่าวแก่อิหม่าม อัช-ชาฟิอีย์เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ว่า: “โปรดบอกฉันด้วยเถิดว่าอัล-กุรอ่านคือผู้สร้างหรือ? ท่านอัช-ชาฟิอีย์ตอบว่า: “โอ้อัลลอฮฺ ไม่ใช่” ชายคนนั้นถามต่ออีกว่า: “ถ้าอย่างนั้นก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้าง?” ท่านอัช-ชาฟิอีย์ตอบว่า : “โอ้อัลลอฮฺ ไม่ใช่" แล้วชายคนนั้นก็ถามอีกว่า: “ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้าง?” ท่านอัช-ชาฟิอีย์ตอบว่า :"โอ้อัลลอฮฺ ใช่” ชายคนนั้นก็ถามว่า: “แล้วอะไรคือหลักฐานที่บ่งบอกว่าอัล-กุรอ่าน ไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้าง?” ท่านอัช-ชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ เงยหน้าขึ้นและกล่าวว่า: “ท่านยอมรับว่าอัล-กุรอ่านเป็นดำรัสของอัลลอฮฺใช่ไหม?” เขาตอบว่า: “ใช่” ท่านอัช-ชาฟิอีย์ กล่าวว่า: “คำๆนี้มีปรากฏมาแล้วในดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺที่ว่า: ((และหากว่ามีคนใดในหมู่มุชริกได้ขอให้เจ้าคุ้มครอง ก็จงคุ้มครองเขาเถิด จนกว่าเขาจะได้ยินดำรัส ของอัลลอฮฺ)) (สูเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ อายะฮฺที่6) และดำรัสที่ว่า ((และอัลลอฮฺทรงดำรัสกับมูซาจริง)) (สูเราะฮฺ อันนิสาอ์ อายะฮฺที่164) ท่านอัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า: “ดังนั้นคุณยอมรับใช่ไหมว่าอัลลอฮฺทรงมีและพร้อมกับดำรัสของพระองค์? หรือพระองค์ทรงมีและก่อนที่จะมีดำรัสของพระองค์?” ชายคนนั้นพูดว่า: “หามิได้ อัลลอฮฺทรงมีพร้อมกับดำรัสของพระองค์” ท่านอัช-ชาฟิอีย์อมยิ้มและกล่าวว่า: “โอ้ ชาวกูฟะฮฺทั้งหลาย พวกท่านนำคำกล่าวที่อันตรายยิ่งมาหาฉัน ในเมื่อพวกท่านยอมรับว่า: “พระองค์อัลลอฮฺนั้นทรงมีก่อนสิ่งอื่นใดและการดำรัสก็มีมาพร้อมพระองค์ แล้วพวกท่านนำคำกล่าวเหล่านี้มาจากไหนว่า: คำดำรัสคืออัลลอฮฺ หรืออื่นจากอัลลอฮฺ หรือมิใช่อัลลอฮฺ หรือต่ำต้อยกว่าอัลลอฮฺ” ชายคนนั้นนิ่งเงียบแล้วเดินออกไป” (หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1หน้าที่ 407-408)

9.وفي جزء الاعتقاد المنسوب للشافعي  من رواية أبي طالب العشاري ما نصّه قال: وقد سُئل عن صفات الله عز وجل وما ينبغي أن يؤمن به  فقال:  لله تبارك وتعالى أسماء وصفات جاء بها كتابه وأخبر بها نبيه صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  أمته لا يسع أحدًا من خلق الله عز وجل قامت لديه الحجة إن القرآن نزل به وصحيح عنده  قول النبي  صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ   فيما روى عنه العدل خلافه  فإن خالف ذلك بعد ثبوت الحجة عليه فهو كافر بالله  عز وجل  فأما قبل ثبوت الحجة عليه من جهة الخبر فمعذور بالجهل لأن علم ذلك لا يدرك بالعقل ولا بالدراية   والفكر.

ونحو ذلك إخبار الله عز وجل أنه سميع وأن له يدين بقوله عزّ وجل:  ﴿ بَلْ يَدَاهُ مَبْسُوطَتَانِ  [المائ‍دة: ٦٤]   وأن له يمينًا بقوله عز وجل: ﴿وَالسَّماوَاتُ مَطْوِيَّاتٌ بِيَمِينِهِ [الزمر: ٦٦]  وإن له وجهًا بقوله عز وجل: ﴿ كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ [القصص: ٨٨]   وقوله ﴿ وَيَبْقَى وَجْهُ رَبِّكَ ذُو الْجَلَالِ وَالْإِكْرَامِ ٢٧ [الرحمن: ٢٧]  وأن له قدمًا بقوله  صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: ((حتى يضع الرب عز وجل فيها قدمه  يعني جهنم)) لقوله صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ :  للذي قتل في سبيل الله عز وجل أنه:  لقي الله عز وجل وهو يضحك إليه  وأنه يهبط كل ليلة إلى السماء الدنيا بخبر رسول الله صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ   بذلك وأنه ليس بأعور لقول النبي  صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  إذ ذكر الدجال فقال:  إنه أعور وإن ربكم ليس بأعور .وإن المؤمنين يرون ربهم عز وجل يوم القيامة بأبصارهم كما يرون القمر ليلة البدر وإن له أصبعًا بقوله  صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:  ما من قلب إلا هو بين أصبعين من أصابع الرحمن عز وجل.

وإن   هذه المعاني التي وصف الله عز وجل بها نفسه ووصفه بها رسوله صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ   لا يدرك   حقه   ذلك بالفكر والدراية  ولا يكفر بجهلها أحد إلا بعد انتهاء الخبر إليه وإن   كان الوارد بذلك خبرًا يقوم في الفهم مقام المشاهدة في السماع  وجبت الدينونة  على سامعه بحقيقته والشهادة عليه كما عاين وسمع من رسول الله  صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  ولكن نثبت   هذه الصفات وننفي   التشبيه كما نفى ذلك عن نفسه تعالى ذكره فقال: ﴿ لَيۡسَ كَمِثۡلِهِۦ شَيۡءٞۖ  [الشورى: ١١]....  آخر الاعتقاد.  

(قاله الذهبي في الميزان ص3/656  وابن أبي يعلى في الطبقات ص1/382   وابن القيم في اجتماع الجيوش ص165 والذهبي نفسه في السير10/79 )

9. และส่วนหนึ่งจากความเชื่อที่มีการพาดพิงถึงอิหม่าม อัช-ชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ จากรายงานของท่านอะบี ฏอลิบ อัลอิชารีย์ ท่านกล่าวว่า: “ท่านอิหม่าม อัช-ชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ถูกถามถึงคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงมีเกีรยติและสู่งส่ง  และสิ่งที่สมควรต้องเชื่อ ท่านตอบว่า: “สำหรับพระองค์อัลลอฮฺผู้ทรงจำเริญและสูงส่งนั้น มีพระนามและคุณลักษณะต่างๆ ตามที่มีระบุในคำภีร์และศาสนทูตของพระองค์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เล่าแก่ประชาติของท่าน ผู้ใดที่จำนนต่อหลักฐานแล้วว่า แท้จริงอัล-กุรอ่านถูกประทานลงมาด้วยกับเขา และคำกล่าว (หะดีษ) ของท่านนะบี ศอลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่เขาเชื่อว่าถูกต้อง จากการรายงานของผู้ที่ทรงธรรมแล้ว ไม่อนุญาตให้เขา (เชื่อและปฏิบัติ) ขัดแย้งกับสิ่งดังกล่าว และหากเขาขัดแย้งกับสิ่งดังกล่าวหลังจากที่จำนวนต่อหลักฐานแล้วไซร้ เขาจะเป็นผู้ปฏิเสธต่ออัลลอฮฺ ผู้ทรงมีเกียติและสูงส่ง แต่หากว่าเขาขัดแย้งกับสิ่งดังกล่าวก่อนที่จะจำนนต่อหลักฐาน เขาจะได้รับการอนุโลมให้เนื่องจากความเขลา เพราะความรู้ดังกล่าวไม่สามารถเข้าใจด้วยสติปัญญา การตีความ จินตนาการ และอื่นๆ สิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺผู้ทรงมีเกียติและสูงส่งบอก คือพระองค์เป็นผู้ที่ได้ยิน พระองค์มีสองพระหัตถ์ ด้วยดำรัสของพระองค์ที่ว่า: ((ทว่า พระหัตถ์ทั้งสองของอัลลอฮฺนั้นทรงแผ่กว้างเสมอ)) (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ อายะฮฺ ที่ 64) และพระองค์ทรงมีพระหัตถ์ขวา ด้วยดำรัสที่ว่า : ((และชั้นฟ้าทั้งหลายจะถูกม้วนพับด้วยพระหัตถ์ขวาของพระองค์)) (สูเราะฮฺ อัซ-ซุมัร อายะฮฺที่ 67) และพระองค์ทรงมีพระพักตร์ ด้วยดำรัสที่ว่า ((ทุกๆสิ่งจะพินาศยกเว้นพระพักตร์ของพระองค์)) (สูเราะฮฺ อัล-เกาะศ่อศ อายะฮฺที่ 88) และดำรัสที่ว่า:((และพระพักตร์ของพระผู้อภิบาลของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะยังคงเหลืออยู่)) (สูเราะฮฺ อัร-เราะหฺมาน อายะฮฺที่ 27) และพระองค์นั้นทรงมีพระบาท ด้วยคำกล่าวของท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ว่า: ((จนกระทั่งพระเจ้าผู้ทรงมีเกียติและสูงส่งวางพระบาทของพระองค์ลงไปในมัน (นรก) )) และคำกล่าวของท่านสำหรับผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺว่า เขาจะพบกับพระองค์โดยที่พระองค์ทรงหัวเราะพวกเขา และพระองค์อัลลอฮฺจะทรงเสด็จลงสู่ชั้นฟ้าดุนยาในทุกค่ำคืนตามที่ระบุในหะดีษของท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และตาของพระองค์ไม่ได้บอดข้าง ดังคำกล่าวของท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อครั้งที่มีการกล่าวถึงดัจญาล ว่า: ((แท้จริงดัจญาลตาจะบอดข้างและพระเจ้าของพวกเจ้าไม่เป็นเช่นนั้น)) และบรรดาผู้ศรัทธจะได้มองเห็นพระเจ้าของพวกเขาในวันกิยามะฮฺด้วยกับสองตาของพวกเขา ดังเช่นที่พวกเขามองเห็นพระจันทร์ในคืนจันทร์เพ็ญ และพระองค์ทรงมีนิ้ว เช่นที่ระบุในคำกล่าวของท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ว่า: ((ไม่มีหัวใจใดเว้นแต่จะอยู่ระหว่างสองนิ้วจากนิ้วต่างๆของพระผู้ทรงเมตตาที่มีเกียติและสูงส่ง))

บรรดาความหมายของคุณลักษณะต่างๆที่พระองค์อัลลอฮฺได้พรรณนาถึงตัวพระองค์เอง และพรรณนาโดยท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่สามารถรับรู้ความเป็นจริงของมันได้ด้วยสติปัญญาและการทำความรู้จัก ซึ่งผู้ใดก็ตามจะไม่กลายเป็นผู้ปฏิเสธอันเนื่องจากความเขลาในประเด็นนี้เว้นแต่หลังจากตัวบทหลักฐานได้ถึงเขาแล้ว ถึงแม้ว่าสิ่งที่ระบุดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องเล่าแทนการมองเห็นภาพด้วยกับฟังก็ตาม ผู้ฟังก็จำเป็นต้องน้อมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวและเป็นพยานต่อมัน เสมือนกับว่าเขาได้เห็นและได้ยินจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมเอง เพียงแต่ เราจำเป็นต้องยืนยันบรรดาคุณลักษณะต่างๆของอัลลอฮฺ พร้อมกับปฏิเสธการเปรียบเทียบ ดังที่อัลลอฮฺได้ปฏิเสธมันจากตัวของพระองค์ พระองค์ดำรัสว่า : ((ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์)) (สูเราะฮฺ อัช-ชูรอ อายะฮฺที่ 11)....

( อัซ-ซะฮะบีย์กล่าวในหนังสือ มีซาน อัลอิอฺติดาล เล่ม3 หน้าที่ 656 อิบนุ อะบียะอฺลา ในหนังสือ เฏาะบะกอต อัลหะนาบิละฮฺ เล่ม1 หน้าที่ 382 อิบนุลก็อยยิม ใน หนังสือ อิจญ์ติมาอฺ อัลญุยูช อัล-อิสลามมียะฮฺ หน้าที่ 165 และ อัซ-ซะฮะบีย์ ในหนังสือ สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 10 หน้าที่ 79(


 อะกีดะฮฺอิหม่ามอะหฺมัด บิน หัมบัล ในประเด็น พระนามและคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺ ตะอาลา

1.وجاء في كتاب المحنة لحنبل أن الإمام أحمد قال: لم يزل الله عزّ وجل متكلمًا والقرآن كلام الله عزّ وجل غير مخلوق وعلى كل جهة ولا يوصف الله بشيء أكثر مما وصف به نفسه عز وجل. (كتاب المحنة ص68)

1. มีระบุในหนังสือ อัล-มิหฺนะฮฺ ของ ท่านหัมบัล ว่าท่านอิหม่าม อะหฺมัด เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า : “พระองค์อัลลอฮฺผู้มีเกียติและสูงส่งยังคงเป็นผู้ทรงดำรัส และอัล-กุรอ่านคือดำรัสของอัลลอฮฺมิใช่มัคลูก และอัลลอฮฺจะไม่ถูกพรรณนาถึงคุณลักษณะของพระองค์มากไปกว่าสิ่งที่พระองค์ได้พรรณนาไว้กับตัวพระองค์เองในทุกๆด้าน และไม่อนุญาตให้พรรณนาถึงคุณลักษณะของอัลลอฮฺมากไปกว่าสิ่งที่พระองค์ได้พรรณนาถึงพระองค์เอง”  (หนังสือ อัลมิหฺนะฮฺ หน้าที่ 68 )

2.وأورد ابن أبي يعلى عن أبي بكر المروزي قال: سألت أحمد بن حنبل عن الأحاديث التي تردها الجهمية في الصفات والرؤية والإسراء وقصة العرش فصححها وقال: تلقتها الأمة بالقبول وتمر الأخبار كما جاءت. (طبقات الحنابلة ص1/65)

2.ท่านอิบนุ อะบี ยะอฺลา รายงานจากท่านอะบีบักรฺ อัล-มัรวะซีย์ กล่าวว่า : ฉันได้ถามท่านอิหม่ามอะหฺมัด บินหัมบัล เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ถึง หะดีษต่างๆ ที่พวกญะฮฺมียะฮฺได้ปฏิเสธและเปลี่ยนความหมายเป็นอื่นในประเด็น คุณลักษณะของอัลลอฮฺ การมองเห็นพระองค์ การอิสรออ์ และเรื่องราวเกี่ยวกับอะรัช ท่านอิหม่ามยอมรับว่าบรรดาหะดีษดังกล่าวเป็นหะดีษที่ถูกต้อง และกล่าวว่า : “อุมมะฮฺ (อุละมาอ์) ต่างให้การยอมรับต่อบรรดาหะดีษดังกล่าวและศรัทธาต่อมันตามที่มันถูกระบุมา” (หนังสือ เฏาะบะกอต อัลหะนาบิละฮฺ เล่ม1 หน้าที่ 65)

3.قال عبد الله بن أحمد في كتاب السنة: إن أحمد قال: من زعم أن الله لا يتكلم فهو كافر إلا أننا نروي هذه الأحاديث كما جاءت.   (السنة ص71  ط دار الكتب العلمية)

3. ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อะหฺมัด ได้กล่าวในหนังสือ อัส-สุนนะฮฺ ว่า “ท่านอิหม่ามอะหฺมัด กล่าวว่า: “ผู้ใดอ้างว่า พระองค์อัลลอฮฺไม่ทรงดำรัส เขาคือผู้ปฏิเสธ เพียงแต่เรารายงานบรรดาหะดีษดังกล่าวตามที่มันถูกระบุมา”” (หนังสือ อัส-สุนนะฮฺ หน้าที่ 71 สำนักพิมพ์ ดาร อัล-กุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ)

4.وأخرج اللالكائي عن حنبل أنه سأل الإمام أحمد عن الرؤية فقال:  أحاديث صحاح نؤمن بها ونقر  وكل ما روي عن النبي صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بأسانيد جيدة نؤمن به ونقر.  (شرح اعتقاد أهل السنة والجماعة ص2/507)

4. ท่านอัล-ลาละกาอีย์รายงานจากท่านหัมบัล ว่าท่านได้ถามอิหม่ามอะหฺมัด เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ถึงการมองเห็นพระองค์อัลลอฮฺ ท่านอิหม่ามได้ตอบว่า: “บรรดาหะดีษศอหี้หฺเราศรัทธาและยอมรับมัน และทุกๆสิ่งที่ถูกรายงานมาจากท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ด้วยสายรายงานที่ดีนั้น เราศรัทธาและยอมรับมัน”. (หนังสือ ชัรห์ อิอฺติกอด อะลิสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เล่ม2 หน้าที่ 507)

5.وأورد ابن الجوزي في المناقب وفيه: صفوا الله بما وصف به نفسه وانفوا عن الله ما نفاه عن نفسه ... (مناقب الإمام أحمد ص221)

5. ท่านอิบนุลเญาซีย์ระบุในหนังสือ อัล-มะนากิบ ว่า: “พวกท่านจงพรรณนาถึงคุณลักษณะของอัลลอฮฺด้วยกับสิ่งที่พระองค์ใช้พรรณนาตัวพระองค์เอง และจงปฏิเสธคุณลักษณะต่างๆจากอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงปฏิเสธจากตัวพระองค์เอง” (หนังสือ มะนากิบ อัล-อิหม่ามอะหฺมัด หน้าที่ 221)

6.جاء في كتاب الرد على الجهمية للإمام أحمد قوله: وزعم جهم بن صفوان  أن من وصف الله بشيء مما وصف به نفسه في كتابه أو حدّث عن رسوله كان كافرًا وكان من المشبهة. (الرد على الجهمية ص104)

6.มีระบุในหนังสือ อัร-ร็อด อะลา อัล-ญะฮฺมียะฮฺ ของอิหม่าม อะหฺมัด เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ความว่า: “และ ญะฮฺม์ บิน ศอฟวาน ได้อ้างว่า: ผู้ใดพรรณนาถึงคุณลักษณะของอัลลอฮฺด้วยุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งที่พระองค์ได้พรรณนาไว้ในอัล-กุรอ่านเกี่ยวกับตัวพระองค์ หรือคุณลักษณะที่ได้เล่าจากท่านเราะสูล เขาจะกลายเป็นผู้ปฏิเสธ และเป็นพวกมุชับบิฮะฮฺ (ผู้เปรียบเทียบพระเจ้ากับสิ่งถูกสร้าง) (หนังสือ อัรร็อด อะลา อัล-ญะฮฺมียะฮฺ หน้าที่ 104) 

7.وأورد ابن يعلى عن أحمد أنه قال: من زعم أن الله لا يرى في الآخرة فهو كافر مكذب بالقرآن. (طبقات الحنابلة ص1/59، 145)

7.ท่านอิบนุ อะบียะอฺลา ได้รายงานจากท่านอิหม่ามอะหฺมัด เราะหิมะฮุ้ลลอฮฺ ท่านกล่าวว่า: “ผู้ใดที่อ้างว่า จะไม่สามารถมองเห็นพระองค์อัลลอฮฺในวันอาคิเราะฮฺ เขาเป็นผู้ปฏิเสธ และปฏิเสธ (ไม่ศรัทธา) ต่อกุรอ่าน” (หนังสือ อัฏ-เฏาะบะกอต อัล-หะนาบิละฮฺ เล่ม1หน้าที่ 59,145)

8.وأورد ابن أبي يعلى عن عبد الله بن أحمد قال: سألت أبي عن قوم يقولون: لما كلّم الله موسى لم يتكلم بصوت فقال أبي: تكلم الله بصوت وهذه الأحاديث نرويها كما جاءت. (طبقات الحنابلة ص1/185 )

8.ท่านอิบนุอะบียะอฺลาได้รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อะหฺมัด ท่านกล่าวว่า: “ฉันได้ถามท่านพ่อ (อิหม่ามอะหฺมัด) ถึงกลุ่มคนที่กล่าวว่า “ขณะที่พระองค์อัลลอฮฺทรงดำรัสกับมูซา อะลัยฮิสลาม พระองค์มิได้ทรงดำรัสด้วยเสียง” ท่านตอบว่า: “พระองค์อัลลอฮฺนั้นทรงดำรัสด้วยเสียง และบรรดาหะดีษเหล่านี้เรารายงานมัน ตามที่มีระบุมา”(หนังสือ เฏาะบะกอต อัล-หะนาบิละฮฺ เล่ม1 หน้าที่185)

9.وأخرج اللالكائي عن عبدوس بن مالك العطار قال: سمعت أبا عبد الله أحمد بن حنبل يقول: ... والقرآن كلام الله وليس بمخلوق ولا تضعف أن تقول ليس بمخلوق فإن كلام الله منه وليس منه شيء مخلوق. (شرح أصول اعتقاد أهل السُّنَّة والجماعة ص1/157)

9.ท่านอัล-ลาละกาอีย์ได้รายงานจากท่าน อับดูส บิน มาลิก อัล-อะฏ็อร ท่านกล่าวว่า: “ฉันได้ยินท่าน อะบาอับดิลลาฮฺ อะหฺมัด บินหัมบัล กล่าวว่า : "อัล-กุรอ่านคือ ดำรัสของอัลลอฮฺ มิใช่มัคลูก และท่านอย่าได้อ่อนแอที่จะกล่าวว่า: “มันไม่ใช่มัคลูกเพราะดำรัสของอัลลอฮฺมาจากพระองค์และสิ่งที่มาจากพระองค์ไม่ใช่มัคลูก”(หนังสือ ชัรห์อุศูล อิอฺติกอด อะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เล่ม 1 หน้าที่ 157)

وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وأصحابه

ومن تبعهم بإحسان إلى يوم الدين