แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ - บทความ
จำนวนเนื้อหา: 35
- ไทย นักเขียน : มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ความสัมพันธ์ระหว่างชะฮาดะฮฺกับประเภทต่างๆของเตาฮีด บทความจากคำฟัตวาของชัยคฺมุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน ซึ่งได้คัดลอกจากหนังสือ “ฟิกฮฺ อัล-อิบาดาต” ของท่าน
- ไทย นักเขียน : มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ประเภทของเตาฮีด บทความจากคำฟัตวาของชัยคฺมุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน ซึ่งได้คัดลอกจากหนังสือ “ฟิกฮฺ อัล-อิบาดาต” ของท่าน
- ไทย นักเขียน : มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ฟัตวาว่าด้วยความหมายของเตาฮีด ตอบโดยชัยคฺมุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน เป็นส่วนหนึ่งของฟัตวาจากหนังสือ “ฟิกฮฺ อัล-อิบาดาต” โดยชัยคฺมุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน
- ไทย
อธิบายเป้าหมายและนัยต่างๆ เชิงความหมายที่บรรจุอยู่ในสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ ซึ่งเป็นสูเราะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอัลกุรอาน เป็นสูเราะฮฺแม่บทที่รวบรวมเนื้อหาสาระหลักทั้งในด้านความเชื่อ หลักการปฏิบัติเคารพ และวิถีการดำเนินชีวิต และบทเรียนอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งควรค่าแก่ทำความเข้าใจ เพราะเป็นสูเราะฮฺสำคัญที่มุสลิมใช้อ่านเป็นประจำในการละหมาด
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายความหมายของอิคลาศ หรือการบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ ความสำคัญของมัน สิ่งที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับอิคลาศ รวมทั้งผลได้จากการที่มุสลิมคนหนึ่งมีความอิคลาศ เป็นบทความโดยสรุปประกอบด้วยหลักฐานสนับสนุนจากอัลกุรอาน หะดีษ และคำกล่าวของอุละมาอ์ไว้อย่างครบถ้วน
- ไทย นักเขียน : อาดิล บิน อับดุลอะซีซ อัล-มะฮฺลาวีย์ แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายความสำคัญของการอ่านใคร่ครวญอัลกุรอานเพื่อให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อชีวิต เฉกเช่นที่อัลกุรอานได้เคยสร้างอิทธิพลต่อจิตใจและการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของบรรดาสะลัฟมาแล้วก่อนหน้านี้ โดยแนะนำวิธีการบางข้อที่สามารถฝึกฝนและใช้ได้จริง
- ไทย นักเขียน : มุหัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ อัร-เราะบีอะฮฺ แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
กล่าวถึงแนวทางของชาวสะลัฟในการเรียนและตะดับบุรอัลกุรอาน อาทิ รู้ถึงตำแหน่งอันสูงส่งของอัลกุรอานและเข้าใจในวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของมัน เรียนรู้และสอนอีมานก่อนอัลกุรอาน เรียนรู้อัลกุรอาน เพื่อปฏิบัติตามและปรับใช้ในชีวิต อ่านอัลกุรอานอย่างช้าๆ ชัดถ้อยชัดคำ และให้มีความรู้สึกซาบซึ้ง (ในเนื้อหา) รวมทั้งให้อ่านมันในละหมาดกิยามุลลัยลฺ
- ไทย นักเขียน : อิมาด หะสัน อบู อัลอัยนัยนฺ แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายถึงเรื่องราวของชาวสะลัฟ หรือกัลยาณชนอิสลามรุ่นแรก ในการให้ความสำคัญและความผูกพันของพวกเขาที่มีต่ออัลกุรอาน ด้วยการปรับใช้เนื้อหาต่างๆ ในคัมภีร์อันยิ่งใหญ่นี้สู่วิถีชีวิตจริงในแต่ละวัน พร้อมตัวอย่างต่างๆ จากอัตชีวประวัติของสะลัฟบางท่านไว้ด้วย
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
บทความเกี่ยวกับความประเสริฐของอัลกุรอาน และการอ่านอัลกุรอาน อธิบายบทบาทและความสำัคัญของอัลกุรอานต่อมวลมนุษย์ พร้อมหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว จากพระัดำรัสของอัลลอฮฺและหะีดีษของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายความหมายของการมีคุณลักษณะนิสัยที่ดี ความสำคัญและความประเสริฐของมัน โดยยกหลักฐานจากอัลกุรอาน หะดีษ และตัวอย่างจากกัลยาณชนรุ่นแรก อาศัยการอธิบายที่เรียบง่าย กระชับ แต่แฝงด้วยเนื้อหาที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง เหมาะแก่การใช้สำหรับตักเตือนในโอกาสต่างๆ ได้
- ไทย นักเขียน : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ทีมงานภาษาไทย เว็บอิสลามเฮ้าส์ สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
เราะมะฎอน คือโอกาสที่ดีสำหรับผู้ศรัทธาที่จะคืนดีกับอัลกุรอาน ด้วยการอ่าน ตะดับบุร และศึกษาความหมาย รวมทั้งการนำมันมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะหากไม่ใช่เดือนนี้แล้วก็คงเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ง่ายอย่างแน่นอน ดังนั้น เรามาคืนดีกับอัลกุรอานกันเถิด ด้วยการอ่านอัลกุรอานให้จบเล่มอย่างน้อยหนึ่งครั้งในเดือนนี้
- ไทย นักเขียน : ฟุอาด ซัยดาน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
เป้าหมายของสูเราะฮฺฮูด เป็นการตอกย้ำให้ทำหน้าที่ฟื้นฟูปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง โดยไม่บันดาลโทสะหรือสิ้นหวัง สูเราะฮฺนี้และสูเราะฮฺยูนุสก่อนหน้านี้ และสูเราะฮฺยูสุฟที่จะมาหลังจากนี้ คือสามสูเราะฮฺแรกที่เป็นชื่อบรรดานบี ซึ่งทุกชื่อสูเราะฮฺที่ใช้ชื่อนบีนั้น ก็จะเป็นที่เข้าใจว่าเรื่องราวของนบีคนนั้นคือเนื้อหาแก่นหลักของสูเราะฮฺ และในตอนท้ายของสูเราะฮฺก็จะมีอายะฮฺที่เป็นบทสรุปของเรื่องราวนั้นๆ จนดูประหนึ่งว่ามันเป็นกฎ (กออิดะฮฺ) ของทุกสูเราะฮฺที่ใช้ชื่อบรรดานบีเป็นชื่อสูเราะฮฺ
- ไทย
บทความแนะนำแก่ผู้ที่ประสงค์จะไปทำหัจญ์ ด้วยคำแนะนำเก้าข้อ ก่อนที่จะเดินทางเพื่อบำเพ็ญหัจญ์ เช่น การศึกษาสิ่งที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับหัจญ์ การเตาบัตตัวก่อนไปหัจญ์ การขออภัยจากพี่น้องเพื่อนฝูง การเตรียมค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว การร่วมเดินทางกับคนดี การใช้ทรัพย์สินที่หะลาล การเขียนวะศียะฮฺ การบริสุทธิ์ใจ เป็นต้น
- ไทย แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
เราะมะฎอน คือเดือนแห่งอัลกุรอาน ซึ่งอัลกุรอานถูกประทานลงมาเริ่มแรกในเดือนนี้ อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาด้วยการกล่าวถึงการถือศีลอดและผลดีของมัน และอัลลอฮฺยังได้กำหนดให้อ่านอัลกุรอานในเดือนนี้ให้ได้มากที่สุด และนี่คือตารางอ่านอัลกุรอานเพื่อให้เคาะตัมจบเล่ม หนึ่งรอบ สองรอบ และสามรอบ (ในหนึ่งเดือน) พร้อมกับระบุจำนวนหน้าที่ให้อ่านในแต่ละวันและคืน และช่วงเวลาที่แนะนำให้อ่าน.
- ไทย นักเขียน : ฟุอาด ซัยดาน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
วิเคราะห์สาระสำคัญของสูเราะฮฺ ยูนุส ที่ได้มุ่งเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการสำคัญของความเชื่อแห่งศาสนาอิสลาม(อุศูล อัล-อะกีดะฮฺ อัล-อิสลามียะฮฺ) นั่นคือ การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ การศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูต การศรัทธาต่อวันแห่งการฟื้นคืนชีพและวันแห่งการตอบแทน โดยเฉพาะการศรัทธาต่ออัล-เกาะฎออ์และอัล-เกาะดัรฺ หรือบันทึกกฎสภาวะต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เป็นการยืนยันถึงแก่นแท้ของการศรัทธาในความเอกะของอัลลอฮฺ ญัลละวะอะลา และการศรัทธาต่ออัล-เกาะฎออ์และอัล-เกาะดัรฺ ในรูปแบบต่างๆ บางครั้งก็มาในรูปแบบของเรื่องราวของบรรดานบี และบางครั้งก็มาในรูปแบบของการย้ำเตือนให้มนุษย์รำลึกถึงเดชานุภาพของอัลลอฮฺ ความปรีชาของพระองค์ และความยุติธรรมของพระองค์ในการบริหารสรรพสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่
- ไทย
วิเคราะห์สาระสำคัญของสูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ ที่ได้เปิดเผยธาตุแท้ของพวกปฏิเสธศรัทธา พวกมุนาฟิกูนผู้กลับกลอก และพวกที่หันหลังให้กับศาสนา รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ของพวกเขา เป็นเนื้อหาของอัลกุรอานส่วนสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และถือเป็นข้อเรียกร้องสุดท้ายที่มีต่อมนุษย์ทุกคน ซึ่งหลังจากที่อัลลอฮฺได้เปิดเผยถึงพฤติกรรมของพวกปฏิเสธศรัทธา พวกมุนาฟิกูนผู้กลับกลอก และผู้ที่หันหลังให้กับศาสนา พระองค์ก็ยังได้เตือนสติผู้ศรัทธาทุกคนถึงความจำเป็นที่ต้องให้พวกเขาได้รับรู้ว่าประตูแห่งการกลับเนื้อกลับตัว(เตาบะฮฺ)นั้นเปิดอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นที่พวกเขาต้องรีบเร่งกลับเนื้อกลับตัวก่อนที่จะเกิดความหายนะ
- ไทย นักเขียน : ฝ่ายวิชาการสำนักพิมพ์อัล-วะฏ็อน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : อุษมาน อิดรีส สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การถือศีลอดนั้นมีคุณค่าและความประเสริฐอันใหญ่หลวงมากมาย และสำหรับผู้ถือศีลอดก็มีมารยาทบางประการที่งดงามสมควรที่จะต้องให้ความสำคัญและเอาใจใส่ เพื่อให้การถือศีลอดมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นและงดงามยิ่งขึ้นไปอีก อาทิ การอดทน มีอะมานะฮฺ ความเมตตาเอื้อเฟื้อ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การไกล่เกลี่ยระหว่างพี่น้อง จึงขอเรียกร้องไปยังมุสลิมทุกคน ทุกประเภทอาชีพและหน้าที่มาร่วมกันฟื้นฟูมารยาทอันดีงามเหล่านี้ในเดือนเราะมะฎอน เพื่อหวังผลบุญที่ยิ่งใหญ่จากเอกองค์อัลลอฮฺ
- ไทย นักเขียน : ฟุอาด ซัยดาน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายเป้าหมายของสูเราะฮฺ อัล-อันฟาล คือการอธิบายกฎเกณฑ์แห่งชัยชนะ ต้องมีทั้งด้าน ร็อบบานียะฮฺ(เงื่อนไขด้านการศรัทธาเชื่อมั่น) และด้าน มาดดียะฮฺ (เงื่อนไขทางด้านวัตถุปัจจัย) สูเราะฮฺอัล-อันฟาล เป็นสูเราะฮฺมะดะนียะฮฺ ซึ่งถูกประทานลงมาหลังจากเกิดสงครามบะดัรฺ โดยถือเป็นสงครามแรกในประวัติศาสตร์อิสลามอันรุ่งโรจน์ และถือเป็นชัยชนะแรกของกองทัพแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ได้ชื่อว่า อัร-เราะหฺมาน กระทั่งเศาะหาบะฮฺบางท่านได้ตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ว่า “สูเราะฮฺบะดัร” และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ในอัลกุรอานว่า “อัลฟุรกอน” เนื่องจากสูเราะฮฺนี้มีการกล่าวถึงเหตุการณ์นี้อย่างยืดยาว และยังมีการนำเสนอแบบแผนของการทำสงครามอย่างละเอียด พร้อมทั้งยังมีการชี้แจงถึงความจำเป็นที่มุสลิมต้องเป็นวีรบุรุษ และมีจุดยืนต่อความเท็จด้วยความกล้าหาญชาญชัยและยืนหยัดอย่างมั่นคง
- ไทย นักเขียน : ฟุอาด ซัยดาน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายเป้าหมายของสูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ คือการย้ำให้มนุษย์เข้มแข็งในจุดยืนและไม่เป็นคนที่เหลาะแหละหรือเป็นคนในแง่ลบ สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ เป็นหนึ่งในสูเราะฮฺมักกียะฮฺที่มีเนื้อหายืดยาวที่สุด และถือเป็นสูเราะฮฺแรกที่นำเสนอเรื่องราวของบรรดานบีอย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่เรื่องราวการสร้างนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม จนถึงช่วงสุดท้ายของการสร้าง ตามด้วยเรื่องราวของท่านนบีนูหฺ ท่านนบีฮูด ท่านนบีศอลิหฺ ท่านนบีลูฏ ท่านนบีชุอัยบฺ ท่านนบีมูซา และท่านนบีมุหัมมัดของเรา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- ไทย