ซุฟอัม อุษมาน - เนื้อหาทั้งหมด
จำนวนเนื้อหา: 856
- ไทย ผู้บรรยาย : ซุฟอัม อุษมาน
อธิบายสูเราะฮฺ นูห์ และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมดหกตอน เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของท่านนบีนูห์ และการทำงานเผยแผ่คำสอนของอัลลอฮฺแก่พรรคพวกของท่านอย่างแข็งขันเป็นระยะเวลาถึง 950 ปี เรื่องราวของท่านถือเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับคนรุ่นหลังไม่ว่าจะเป็นบรรดานบีหรือผู้คนที่ทำงานอิสลามทั่วไป มีทั้งการอธิบายกระบวนการและวิธีการทำงานของท่าน ผลที่เกิดขึ้น และสภาพความดื้อรั้นของกลุ่มคนที่ชิริกต่ออัลลอฮฺ ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อันยาวนานในอดีตแต่กลับสะท้อนให้เห็นภาพปัจจุบันอย่างชัดเจนเหลือเชื่อและน่าแปลกเป็นอย่างยิ่ง
- ไทย ผู้บรรยาย : ซุฟอัม อุษมาน
กล่าวถึงธรรมชาติที่อัลลอฮฺสร้างให้มนุษย์ชอบที่จะมีชีวิตอย่างมีเกียรติ ต่างก็แสวงหาเกียรติจากทุกที่ที่ตนคิดว่าจะหามันได้ ในขณะที่อิสลามได้อธิบายอย่างชัดเจนว่าเกียรติยศที่แท้จริงของมุสลิมนั้นมาจากอัลลอฮฺและการเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับบทบัญญัติของพระองค์เท่านั้น ทั้งจากหลักฐานในอัลกุรอานและสุนนะฮฺ รวมทั้งชนรุ่นแรกแห่งอิสลามก็ได้ยืนยันอย่างหนักแน่น คุฏบะฮฺยังได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์การสูญสลายของอาณาจักรอันดาลุสซึ่งเกิดมาจากสาเหตุแห่งการแสวงหาเกียรติอื่นนอกจากเกียรติแห่งอัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้า
- ไทย ผู้บรรยาย : ซุฟอัม อุษมาน
อัลกุรอานพูดถึงมนุษย์หลายประเภท ทั้งผู้ศรัทธา ผู้ปฏิเสธ และผู้กลับกลอก ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ให้รู้จักอย่างถ่องแท้ เพื่อให้มีการตื่นตัว นิฟากหรือการกลับกลอกไม่จริงใจในการเป็นมุสลิมเป็นโรคร้ายที่ดำรงอยู่ในสังคมมุสลิมทุกยุคสมัย การพูดถึงนิฟากเพื่อให้มุสลิมป้องกันตัวเองจากการเป็นโรคนิฟาก และไม่หลงกลตกเป็นเหยื่อของมุนาฟิก ภัยนิฟากมีความรุนแรงเยี่ยงเดียวกันกับการปฏิเสธศรัทธา และอาจจะอันตรายมากกว่าด้วยซ้ำเนื่องจากมันแฝงอยู่ในคนมุสลิมด้วยกัน คุฏบะฮฺได้ยกตัวอย่างการตื่นตัวของบรรดาเศาะหาบะฮฺและชาวสะลัฟที่ระแวดระวังต่อปัญหานิฟาก ซึ่งเป็นประเด็นที่คนเหล่านี้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สะท้อนถึงอันตรายของโรคนิฟากนี้ได้อย่างชัดเจน
- ไทย ผู้บรรยาย : ซุฟอัม อุษมาน
คุฏบะฮฺวันศุกร์ สรุปโดยสังเขปว่าด้วยอายะฮฺอัลกุรอานที่ประกาศว่าท่านนบีมุหัมมัด เป็นความเมตตาแก่มนุษย์ทั้งปวง พร้อมยกตัวอย่างภาพอันเป็นรูปธรรมของความเมตตาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งสอดคล้องกับอายะฮฺอัลกุรอานที่ได้ประกาศไว้จริงๆ อาทิ ความเมตตาในครอบครัว คู่ครอง ลูกหลาน กับคนรับใช้ แม้กระทั่งกับสัตว์ก็เช่นกัน มนุษย์ต่างมีต้องการความเมตตาทั้งในชีวิตบนโลกดุนยาและในวันอาคิเราะฮฺ จึงต้องขอดุอาอ์เพื่อให้อัลลอฮฺทรงเมตตา และต้องทำตัวและประพฤติปฏิบัติให้สอดคล้องกับฉายาแห่งความเมตตาที่อัลลอฮฺประทานให้มา
- ไทย ผู้บรรยาย : ซุฟอัม อุษมาน
คุฏบะฮฺวันศุกร์ อธิบายความสำคัญของการขอดุอาอ์ในเดือนเราะมะฎอน ซึ่งอัลลอฮฺได้พูดถึงไว้ในอายะฮฺที่ทรงประทานบัญญัติการถือศีลอดและเดือนเราะมะฎอน พร้อมกระตุ้นให้มุสลิมจริงจังและมุ่งมั่นในการขอดุอาอ์ รวมทั้งยกตัวอย่างวิธีการและรูปแบบการขอดุอาอ์ที่สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นจริงได้
- ไทย นักเขียน : อับดุลร็อซซาก บิน อับดุลมุห์สิน อัล-อับบาด อัล-บัดรฺ แปล : ยูซุฟ อบูบักรฺ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
มีปรากฏหลักฐานในอัลกุรอานจำนวนมากที่กำชับใช้ให้มีการขออภัยโทษ ส่งเสริม กระตุ้น และอธิบายถึงผลที่ได้รับ รวมถึงร่องรอยของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เสร็จสิ้นจากการเคารพภักดี และหลังจากที่ได้ประกอบอิบาดะฮฺอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นที่ประจักษ์ว่าส่วนหนึ่งจากจริยวัตรของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านจะปิดท้ายการประกอบคุณงามความดีด้วยการขออภัยโทษ (อิสติฆฟารฺ)
- ไทย ผู้บรรยาย : ซุฟอัม อุษมาน
บทเรียนจากหะดีษญิบรีลที่ได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และกล่าวถึงบุคคลสามประเภทที่ต้องประสบกับความหายนะ หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือผู้ที่มีชีวิตในเดือนเราะมะฎอน แต่บาปของเขายังอยู่กับเขาและไม่ได้รับการอภัยโทษแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่เราะมะฎอนคือฤดูกาลแห่งความดีงามและการอภัยโทษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแล้ว
- ไทย ผู้บรรยาย : ซุฟอัม อุษมาน
บทเรียนจากอายะฮฺอัลกุรอานที่กล่าวถึงคำสั่งให้ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ใคร่ครวญและค้นหาแง่คิดรวมถึงวิทยปัญญาแห่งการถือศีลอดในเดือนนี้ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการถือศีลอดและการประทานอัลกุรอาน เพื่อใช้เป็นแนวทางกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่ากับคัมภีร์ของอัลลอฮฺตลอดเดือนอันบะเราะกะฮฺนี้
- ไทย
งานเขียนที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ว่าด้วยความหมายของคำว่า อุมมะตัน วะสะฏอ หรือประชาชาติสายกลาง ตามที่อัลลอฮฺได้ประกาศในคัมภีร์อัลกุรอาน โดยวิเคราะห์จากหลักฐานต่างๆ ในหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และความเห็นของบรรดาอุละมาอ์ รวมทั้งตอบข้อสงสัยต่างๆ ที่เป็นความคลุมเครือเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของอุมมะตัน วะสะฏอ
- ไทย ผู้บรรยาย : ซุฟอัม อุษมาน
คุฏบะฮฺที่พูดถึงการชุโกรว่าเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องมีการกระตุ้นเตือนให้สำนึกในเรื่องดังกล่าวด้วยการใคร่ครวญตัวเอง และพูดถึงดุอาอ์ที่กระตุ้นให้มุสลิมต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการถ่อยทอดอิสลามได้แม้ไม่ต้องใช้คำพูด อย่าให้คนอื่นเรียนสิ่งเลวๆ จากคนเป็นมุสลิม ตัวอย่างที่จะพาไปสวรรค์มีน้อยกว่า จึงต้องช่วยกันสร้างตัวเองให้เป็นตัวอย่างที่จะผู้คนไปสู่สวรรค์ของอัลลอฮฺ ควรดูตัวอย่างที่ดีเพื่อเอามาใช้กับตัวเอง
- ไทย แปล : ซุฟอัม อุษมาน แปล : ซุกรีย์นูร จงรักศักดิ์ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การรักกันในหนทางของอัลลอฮฺและการปฏิสัมพันธ์ฉันพี่น้องในกรอบศาสนาอิสลามถือเป็นอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีเงื่อนไขหลายประการที่คนรักเพื่อนจะต้องปฏิบัติกับเพื่อนเพื่ออัลลอฮฺ งานชิ้นนี้จะอธิบายประเด็นต่างๆ อาทิ ผลและความดีของการรักกันเพื่ออัลลอฮฺ จะเลือกคบหาและมอบความสนิทสนมให้กับใครดี ลักษณะของ ผู้รักกันในหนทางของอัลลอฮฺ หน้าที่และเงื่อนไขของการคบเพื่อนและการรักกัน ตัวอย่างภาพแห่งมิตรภาพอันเข้มข้นจากหัวใจ ข้อพึงระวังในการคบเพื่อน
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
สุริยุปราคา และจันทรุปราคาเป็นหนึ่งในสัญญานของอัลลอฮฺที่พระองค์ทรงทำให้บ่าวเกิดความวิตกหวาดกลัว และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บัญญัติว่าเมื่อเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นจากทั้งสองให้รีบไปสู่การละหมาด สู่การรำลึก และการขออภัยโทษ และอ้อนวอนขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺจนกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะคลายไป เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อัลลอฮฺทรงบัญญัติหลักปฏิบัติหลายประการสำหรับการละหมาดสุนัต แตกต่างจากละหมาดฟัรฎูเพื่อทำให้เกิดความสะดวกและเป็นการผ่อนปรนให้บ่าวของพระองค์ อาทิ อนุญาตให้ละหมาดบนพาหนะได้ ถึงแม้มันไม่ได้หันไปทางกิบละฮฺก็ตาม ซึ่งในละหมาดฟัรฎูจะทำอย่างนั้นไม่ได้ และอนุญาตให้นั่งละหมาดสุนัตได้แม้ไม่มีสาเหตุสุดวิสัยก็ตามเป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การละหมาดเป็นเรื่องที่ดีที่สุด และเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่บ่าวจะใช้มันเพื่อใกล้ชิดกับพระผู้อภิบาลของเขา ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกกล่าวว่า การทำละหมาดมากๆ นั้นเป็นเหตุให้ได้เข้าสวรรค์ และท่านได้ใช้ให้ผู้ชายละหมาดสุนัตหรือละหมาดที่ไม่ใช่ฟัรฎูในบ้านของเขา เพราะเป็นการทำความดีแบบลับๆ และเป็นการสอนครอบครัว และทำให้พวกเขาเคยชินกับการละหมาด เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
สุนนะฮฺประการหนึ่งของท่านเราะสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม คือให้ละหมาดสุนัตฟัจญ์รฺเบาๆ ไม่ยาว และท่านก็อ่านสูเราะฮฺสั้น ๆ บางบทเป็นการเฉพาะ หรือเพียงไม่กี่อายะฮฺสั้น ๆ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ละหมาดสุนัตฟัจญ์รฺเป็นอิบาดะฮฺอันประเสริฐที่ท่านนบีรักษามันไว้ และสนับสนุนเศาะหาบะฮฺให้ทำมัน และกล่าวถึงมันว่า –เพราะมันมีผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่- ดีกว่าดุนยาและสิ่งทั้งหมดในนั้น และเมื่อท่านเห็นผู้ใดละหมาดสุนัตหลังละหมาดฟัจญ์รฺ ท่านจะแสดงความรังเกียจ แต่พอทราบว่าเป็นการละหมาดชดใช้สุนัตฟัจญ์รฺ ท่านก็นิ่งและยอมรับในเรื่องดังกล่าว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำแบบอย่างให้ละหมาดสุนนะฮฺก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู และท่านก็ได้ทำมันอย่างสม่ำเสมอ และสนับสนุนให้รักษามัน และด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่าเป็น สุนัตเราะวาติบ(ละหมาดสุนัตที่ทำเป็นประจำ) ดังนั้น มุสลิมควรเอาใจใส่และรักษามันไว้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย ผู้บรรยาย : ซุฟอัม อุษมาน
อธิบายสูเราะฮฺ อัล-เกาะลัม รวมบทเรียนต่างๆ ที่ได้จากสูเราะฮฺ อาทิ การยืนยันถึงความประเสริฐของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ลบล้างคำครหาต่างๆ ที่ผู้ปฏิเสธศรัทธาได้โจมตีท่าน และได้ยกอุทาหรณ์ให้บรรดาผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อท่านได้เห็นถึงอันตรายจากพฤติกรรมเหล่านั้น รวมถึงการให้กำลังใจเพื่อให้ท่านได้ทำหน้าที่อย่างยืนหยัดมั่นคงต่อไป
- ไทย นักเขียน : อิบบรอเฮง อาลฮูเซน ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายข้อสงสัยที่อาจจะมีการตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศที่มิใช่อิสลามจึงมีความเจริญมากกว่า ซึ่งมีนัยให้คิดตามมาว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว อิสลามเป็นศาสนาที่ถูกต้องจริงหรือเปล่า และอิสลามเป็นศาสนาของพระเจ้าจริงหรือไม่? บทความนี้ได้นำเสนอคำตอบต่อข้อสงสัยเหล่านี้ไว้แล้ว