จำนวนเนื้อหา: 416
21 / 1 / 1430 , 18/1/2009
บทความว่าด้วยความประเสริฐของกิริยามารยาทที่ดี เช่น ความอดทน การมีสัจจะวาจา การกลับตัว ความยำเกรง การมอบหมายต่ออัลลอฮฺ การเสียสละ การหวังในเมตตาของอัลลอฮฺ ความเมตตาปรานี ความอ่อนโยน ความละอาย เป็นต้น
14 / 11 / 1429 , 13/11/2008
รู้จักและเข้าใจเนื้อหาของอิสลาม ผ่านโองการอัลกุรอาน จากสูเราะฮฺ อัด-ดุคอน เหมาะสำหรับผู้สนใจอิสลาม ที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของอิสลาม จากพระมหาคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า
รู้จักและเข้าใจเนื้อหาของอิสลาม ผ่านโองการอัลกุรอาน จากสูเราะฮฺ ฟาฏิร เหมาะสำหรับผู้สนใจอิสลาม ที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของอิสลาม จากพระมหาคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า
9 / 2 / 1429 , 17/2/2008
ถ้อยคำตักเตือนที่ทรงคุณค่าว่าด้วยการการทำความดีต่อบิดามารดา และห้ามอกตัญญูและเนรคุณต่อทั้งสอง ใช้สำนวนภาษาที่ง่าย พร้อมด้วยหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ ยกตัวอย่างจากเรื่องราวในอดีตบางตัวอย่างประกอบด้วย
16 / 10 / 1428 , 28/10/2007
ผู้เีขียนได้อธิบายถึงความสำคัญของการอดทน อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มุสลิมฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ในโลกดุนยานี้ เพื่อทำการภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์จะประทานผลตอบแทนเป็นสวนสวรรค์ในโลกอาคิเราะฮฺ
5 / 10 / 1428 , 17/10/2007
บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินคำว่า “ตักวา” ได้ยินบ่อยจนชาชินโดยไม่มีความรู้สึกใดๆ ต่อคำๆนี้อีก ความคุ้นชินทำให้เราไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย ทั้งๆ ที่ไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เพราะความหมายที่แท้จริงของคำว่า“ตักวา” มีนัยยะอันทรงพลังยิ่งใหญ่มากในชีวิตของมนุษย์ผู้หนึ่งที่ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า และประชาชาติมุสลิมทั้งหมดที่น้อมรับการศรัทธาต่อพระองค์
4 / 10 / 1428 , 16/10/2007
หนึ่งในสามสิบบทเรียนอิสลามสำหรับเยาวชนและผู้เริ่มต้น ด้วยวิธีการอธิบายที่ง่ายๆ และพร้อมด้วยหลักฐาน.
3 / 10 / 1428 , 15/10/2007
2 / 9 / 1428 , 14/9/2007
บทความว่าด้วยความหมายของการถือศีลอด หุก่มการถือศีลอด วิทยปัญญาที่มีการบัญญัติให้ถือศีลอด ความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน และความประเสริฐบางประการของการถือศีลอด โดยอ้างอิงหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดีษ
21 / 9 / 1436 , 8/7/2015
มีปรากฏหลักฐานในอัลกุรอานจำนวนมากที่กำชับใช้ให้มีการขออภัยโทษ ส่งเสริม กระตุ้น และอธิบายถึงผลที่ได้รับ รวมถึงร่องรอยของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เสร็จสิ้นจากการเคารพภักดี และหลังจากที่ได้ประกอบอิบาดะฮฺอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นที่ประจักษ์ว่าส่วนหนึ่งจากจริยวัตรของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านจะปิดท้ายการประกอบคุณงามความดีด้วยการขออภัยโทษ (อิสติฆฟารฺ)
22 / 7 / 1436 , 11/5/2015
สุริยุปราคา และจันทรุปราคาเป็นหนึ่งในสัญญานของอัลลอฮฺที่พระองค์ทรงทำให้บ่าวเกิดความวิตกหวาดกลัว และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บัญญัติว่าเมื่อเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นจากทั้งสองให้รีบไปสู่การละหมาด สู่การรำลึก และการขออภัยโทษ และอ้อนวอนขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺจนกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะคลายไป เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
อัลลอฮฺทรงบัญญัติหลักปฏิบัติหลายประการสำหรับการละหมาดสุนัต แตกต่างจากละหมาดฟัรฎูเพื่อทำให้เกิดความสะดวกและเป็นการผ่อนปรนให้บ่าวของพระองค์ อาทิ อนุญาตให้ละหมาดบนพาหนะได้ ถึงแม้มันไม่ได้หันไปทางกิบละฮฺก็ตาม ซึ่งในละหมาดฟัรฎูจะทำอย่างนั้นไม่ได้ และอนุญาตให้นั่งละหมาดสุนัตได้แม้ไม่มีสาเหตุสุดวิสัยก็ตามเป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
การละหมาดเป็นเรื่องที่ดีที่สุด และเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่บ่าวจะใช้มันเพื่อใกล้ชิดกับพระผู้อภิบาลของเขา ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกกล่าวว่า การทำละหมาดมากๆ นั้นเป็นเหตุให้ได้เข้าสวรรค์ และท่านได้ใช้ให้ผู้ชายละหมาดสุนัตหรือละหมาดที่ไม่ใช่ฟัรฎูในบ้านของเขา เพราะเป็นการทำความดีแบบลับๆ และเป็นการสอนครอบครัว และทำให้พวกเขาเคยชินกับการละหมาด เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
21 / 7 / 1436 , 10/5/2015
สุนนะฮฺประการหนึ่งของท่านเราะสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม คือให้ละหมาดสุนัตฟัจญ์รฺเบาๆ ไม่ยาว และท่านก็อ่านสูเราะฮฺสั้น ๆ บางบทเป็นการเฉพาะ หรือเพียงไม่กี่อายะฮฺสั้น ๆ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม