ซุฟอัม อุษมาน - บทความ
จำนวนเนื้อหา: 416
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ละหมาดสุนัตฟัจญ์รฺเป็นอิบาดะฮฺอันประเสริฐที่ท่านนบีรักษามันไว้ และสนับสนุนเศาะหาบะฮฺให้ทำมัน และกล่าวถึงมันว่า –เพราะมันมีผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่- ดีกว่าดุนยาและสิ่งทั้งหมดในนั้น และเมื่อท่านเห็นผู้ใดละหมาดสุนัตหลังละหมาดฟัจญ์รฺ ท่านจะแสดงความรังเกียจ แต่พอทราบว่าเป็นการละหมาดชดใช้สุนัตฟัจญ์รฺ ท่านก็นิ่งและยอมรับในเรื่องดังกล่าว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำแบบอย่างให้ละหมาดสุนนะฮฺก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู และท่านก็ได้ทำมันอย่างสม่ำเสมอ และสนับสนุนให้รักษามัน และด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่าเป็น สุนัตเราะวาติบ(ละหมาดสุนัตที่ทำเป็นประจำ) ดังนั้น มุสลิมควรเอาใจใส่และรักษามันไว้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : อิบบรอเฮง อาลฮูเซน ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายข้อสงสัยที่อาจจะมีการตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศที่มิใช่อิสลามจึงมีความเจริญมากกว่า ซึ่งมีนัยให้คิดตามมาว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว อิสลามเป็นศาสนาที่ถูกต้องจริงหรือเปล่า และอิสลามเป็นศาสนาของพระเจ้าจริงหรือไม่? บทความนี้ได้นำเสนอคำตอบต่อข้อสงสัยเหล่านี้ไว้แล้ว
- ไทย นักเขียน : อะหมัด อับดุรเราะหฺมาน อัลกอฎี แปล : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
บทความที่อธิบายมุมมองของอิสลามเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองปีใหม่สากล ว่าเป็นเทศกาลรื่นเริงของต่างศาสนิกที่ไม่อนุญาตให้มุสลิมเข้าร่วม เนื่องจากเป็นการลอกเลียนแบบที่ทำลายอัตลักษณ์ทางด้านศาสนาของผู้ศรัทธา และเป็นพฤติกรรมที่สวนทางกับความเชื่อและบทบัญญัติของอิสลามอย่างชัดเจน
- ไทย นักเขียน : ฟุอาด ซัยดาน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
เป้าหมายของสูเราะฮฺฮูด เป็นการตอกย้ำให้ทำหน้าที่ฟื้นฟูปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง โดยไม่บันดาลโทสะหรือสิ้นหวัง สูเราะฮฺนี้และสูเราะฮฺยูนุสก่อนหน้านี้ และสูเราะฮฺยูสุฟที่จะมาหลังจากนี้ คือสามสูเราะฮฺแรกที่เป็นชื่อบรรดานบี ซึ่งทุกชื่อสูเราะฮฺที่ใช้ชื่อนบีนั้น ก็จะเป็นที่เข้าใจว่าเรื่องราวของนบีคนนั้นคือเนื้อหาแก่นหลักของสูเราะฮฺ และในตอนท้ายของสูเราะฮฺก็จะมีอายะฮฺที่เป็นบทสรุปของเรื่องราวนั้นๆ จนดูประหนึ่งว่ามันเป็นกฎ (กออิดะฮฺ) ของทุกสูเราะฮฺที่ใช้ชื่อบรรดานบีเป็นชื่อสูเราะฮฺ
- ไทย
ตักเตือนสะกิดใจถึงผลเสียของโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการพูดถึงมารยาทและข้อควรปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ และตระหนักถึงข้อดีข้อเสียของมัน เพราะผู้ที่ใช้สื่อเหล่านี้โดยที่ไม่มีความตระหนักในเรื่องดังกล่าว ย่อมไม่ต่างอะไรกับผู้ที่ล่องเรือลำเล็กกลางมหาสมุทรที่เต็มไปด้วยคลื่นใหญ่ ซึ่งก็คงไม่อาจจะทัดทานได้ไหว และอาจจมหายหรือถูกคลื่นซัดพังได้ไม่ยาก
- ไทย แปล : อัสรัน นิยมเดชา ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
กฏสิบข้อที่ได้จากการใคร่ครวญอายะฮฺที่ 17-19 จากสูเราะฮฺ อัน-นัมล เป็นเรื่องราวของมดในยุคท่านนบีสุลัยมาน อะลัยฮิสสลาม ทั้งสิบข้อนั้นคือ การเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวม, การมั่นใจในตัวเอง, ความรับผิดชอบ, ความคิดริเริ่ม, ลงมือทำ, นำเสนอทางออก, มองการณ์ไกล, ตื่นตัว, มองโลกในแง่ดี, การยิ้ม
- ไทย นักเขียน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
บทความว่าด้วยข้อปฏิบัติเมื่อได้ยินเสียงอะซาน เช่น การตอบรับอะซาน, เตรียมความพร้อมเพื่อละหมาดที่มัสญิด, อาบน้ำละหมาดที่บ้าน, ไปมัสญิดด้วยใจที่สงบนิ่งและไม่รีบเร่ง, มารยาทเมื่อเข้ามัสญิด, และเข้าแถวแรก พร้อมด้วยหลักฐานประกอบจากหะดีษ
- ไทย
กล่าวถึงความเมตตาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อผู้อ่อนแอ และใครคือผู้อ่อนแอที่แท้จริง และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำตัวอย่างเอาไว้อย่างไรบ้างในการให้ความสำคัญและดูแลเอาใจใส่บรรดาผู้อ่อนแอเหล่านั้น ต้นฉบับเดิมจาก http://www.rasoulallah.net/index.php/ar/articles/article/14561
- ไทย
บทความเกริ่นนำว่าด้วยความเมตตาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับชาวมุสลิม ตามที่ปรากฏและยืนยันโดยอัลกุรอาน และตามที่ระบุในหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เอง ต้นฉบับเดิมจาก http://www.rasoulallah.net/index.php/ar/articles/article/14559
- ไทย
บทความแนะนำแก่ผู้ที่ประสงค์จะไปทำหัจญ์ ด้วยคำแนะนำเก้าข้อ ก่อนที่จะเดินทางเพื่อบำเพ็ญหัจญ์ เช่น การศึกษาสิ่งที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับหัจญ์ การเตาบัตตัวก่อนไปหัจญ์ การขออภัยจากพี่น้องเพื่อนฝูง การเตรียมค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว การร่วมเดินทางกับคนดี การใช้ทรัพย์สินที่หะลาล การเขียนวะศียะฮฺ การบริสุทธิ์ใจ เป็นต้น
- ไทย นักเขียน : มุนีร มุฮัมมัด ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
จิตสำนึกเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่ ภาระรับผิดชอบ และการทำงาน บทความนี้กล่าวถึงจิตสำนึกบางประการที่เป็นผลมาจากอะมัลต่างๆ ที่มุสลิมได้ปฏิบัติในเดือนเราะมะฎอน อาทิ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความอดทน เศรษฐกิจพอเพียง การช่วยเหลือเกื้อกูล การให้อภัยซึ่งกัน ต้นฉบับจากเว็บอิสลามมอร์
- ไทย แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
เราะมะฎอน คือเดือนแห่งอัลกุรอาน ซึ่งอัลกุรอานถูกประทานลงมาเริ่มแรกในเดือนนี้ อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาด้วยการกล่าวถึงการถือศีลอดและผลดีของมัน และอัลลอฮฺยังได้กำหนดให้อ่านอัลกุรอานในเดือนนี้ให้ได้มากที่สุด และนี่คือตารางอ่านอัลกุรอานเพื่อให้เคาะตัมจบเล่ม หนึ่งรอบ สองรอบ และสามรอบ (ในหนึ่งเดือน) พร้อมกับระบุจำนวนหน้าที่ให้อ่านในแต่ละวันและคืน และช่วงเวลาที่แนะนำให้อ่าน.
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : อัสรัน นิยมเดชา ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีความสำคัญสำหรับการลบล้างบาปได้ อาทิ การเตาบะฮฺกลับตัวด้วยความจริงใจ อิสติฆฟารฺขออภัยโทษ การทำความดี ทุกข์ภัยความลำบาก ดุอาอ์และการขออภัยโทษที่ผู้ศรัทธาขอให้ ผลบุญที่ผู้ตายได้รับการอุทิศให้ การลงโทษในหลุมฝังศพ ความน่าสะพรึงกลัวของวันกิยามะฮฺ ชะฟาอะฮฺ(การช่วยเหลือ)ของผู้ที่มีสิทธิให้ความช่วยเหลือ การให้อภัยของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตาเหนือผู้ใดทั้งปวง อ้างจากหนังสือชัรหฺ อัฏเฏาะหาวิยะฮฺ
- ไทย นักเขียน : อิสมาอีล ลุตฟี จะปะกียา แปล : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
บทความนี้คัดแปลมาจากหนังสือ “นะศีหะฮฺ คือ หัวใจของอุมมะฮฺวาหิดะฮฺ” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีล ลุตฟี จะปะดียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีย์ กล่าวถึง เงื่อนไขบางประการที่จะทำให้หน้าที่ในการนะศีหะฮฺอันเป็นภารกิจของผู้ศรัทธาทุกคนประสบผลสำเร็จ เริ่มตั้งแต่การมีเจตนาที่บริสุทธิ์ ความอ่อนโยนและสุภาพ การใช้หิกมะฮฺ ความกล้าหาญและอดทน พร้อมบทสรุปที่ควรต้องคำนึงถึงอยู่เสมอในการนะศีหะฮฺ
- ไทย นักเขียน : ศอลิหฺ บิน เฟาซาน อัล-เฟาซาน แปล : อัสรัน นิยมเดชา ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ความเป็นพี่น้องร่วมศาสนา บทความถอดเทปจากคุฏบะฮฺของเชคศอลิหฺ บิน เฟาซาน อัล-เฟาซาน กล่าวถึงความสำคัญของการพี่น้องในอิสลามซึ่งแน่นแฟ้นและมั่นคงกว่าการพี่น้องร่วมสายเลือด ท่านได้กล่าวถึงหลักฐานต่างๆ จากอัลกุรอานและสุนนะฮฺที่ระบุถึงความจำเป็นที่มุสลิมต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวและต้องไม่แตกแยก เพราะถ้าหากพวกเขาทำเช่นนั้นได้ก็จะสามารถนำโลกนี้ให้สันติสุขได้เช่นที่บรรดาบรรพบุรุษอิสลามได้เคยนำมาแล้ว ท่านยังได้ยกตัวอย่างต่างๆ ที่เป็นสิ่งพึงระวังในการปฏิสัมพันธ์ที่อาจจะบ่อนทำลายความเป็นพี่น้องกันอีกด้วย
- ไทย นักเขียน : ฟุอาด ซัยดาน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
วิเคราะห์สาระสำคัญของสูเราะฮฺ ยูนุส ที่ได้มุ่งเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการสำคัญของความเชื่อแห่งศาสนาอิสลาม(อุศูล อัล-อะกีดะฮฺ อัล-อิสลามียะฮฺ) นั่นคือ การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ การศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูต การศรัทธาต่อวันแห่งการฟื้นคืนชีพและวันแห่งการตอบแทน โดยเฉพาะการศรัทธาต่ออัล-เกาะฎออ์และอัล-เกาะดัรฺ หรือบันทึกกฎสภาวะต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เป็นการยืนยันถึงแก่นแท้ของการศรัทธาในความเอกะของอัลลอฮฺ ญัลละวะอะลา และการศรัทธาต่ออัล-เกาะฎออ์และอัล-เกาะดัรฺ ในรูปแบบต่างๆ บางครั้งก็มาในรูปแบบของเรื่องราวของบรรดานบี และบางครั้งก็มาในรูปแบบของการย้ำเตือนให้มนุษย์รำลึกถึงเดชานุภาพของอัลลอฮฺ ความปรีชาของพระองค์ และความยุติธรรมของพระองค์ในการบริหารสรรพสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่
- ไทย
วิเคราะห์สาระสำคัญของสูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ ที่ได้เปิดเผยธาตุแท้ของพวกปฏิเสธศรัทธา พวกมุนาฟิกูนผู้กลับกลอก และพวกที่หันหลังให้กับศาสนา รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ของพวกเขา เป็นเนื้อหาของอัลกุรอานส่วนสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และถือเป็นข้อเรียกร้องสุดท้ายที่มีต่อมนุษย์ทุกคน ซึ่งหลังจากที่อัลลอฮฺได้เปิดเผยถึงพฤติกรรมของพวกปฏิเสธศรัทธา พวกมุนาฟิกูนผู้กลับกลอก และผู้ที่หันหลังให้กับศาสนา พระองค์ก็ยังได้เตือนสติผู้ศรัทธาทุกคนถึงความจำเป็นที่ต้องให้พวกเขาได้รับรู้ว่าประตูแห่งการกลับเนื้อกลับตัว(เตาบะฮฺ)นั้นเปิดอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นที่พวกเขาต้องรีบเร่งกลับเนื้อกลับตัวก่อนที่จะเกิดความหายนะ
- ไทย
ผู้ศรัทธาที่ชาญฉลาดนั้น ความมุ่งมั่นของเขาจะไม่หยุดอยู่เฉพาะในเดือนเราะมะฎอน แต่เขาจะใช้โอกาสของเดือนเราะมะฎอนเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่คุณความดีในเดือนอื่นๆ และเป็นเสมือนโรงเรียนที่ให้ผู้ศรัทธาได้ปรับปรุงทบทวนเจตนาและความตั้งใจของตน พร้อมมุ่งมั่นที่จะยืนหยัดในการเคารพภักดีอัลลอฮฺ บทความนี้จะนำคุณไปสู่การทำความเข้าใจบทเรียนจากเดือนเราะมะฎอนในด้านต่างๆ อาทิ บทเรียนด้านจิตวิญญาณ บทเรียนด้านการอบรมขัดเกลา บทเรียนด้านจรรยามารยาท บทเรียนด้านสังคม เพื่อสานต่อบรรยากาศแห่งความดีที่ยั่งยืนตลอดทั้งปี
- ไทย แปล : ซุฟอัม อุษมาน แปล : รุสดี การีสา ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
กล่าวถึงประเด็นต่างๆ ที่น่ารู้เกี่ยวกับดุอาอ์กุนูตในละหมาดวิติรฺ เช่น - ประเด็นที่หนึ่ง หุก่มการกุนูตในละหมาดวิติรฺ - ประเด็นที่สอง ช่วงขณะไหนที่ให้อ่านกุนูต? - ประเด็นที่สาม การเริ่มต้นกุนูตด้วยการสรรเสริญสดุดีอัลลอฮฺ - ประเด็นที่สี่ การขอดุอาอ์กุนูตด้วยเสียงที่เป็นจังหวะและท่วงทำนอง - ประเด็นที่ห้า หุก่มการเจาะจงตัวบุคคลในดุอาอ์กุนูต - ประเด็นที่หก การกล่าว อามีน ในดุอาอ์ด้วยการออกเสียงดัง - ประเด็นที่เจ็ด หุก่มการอ่านดุอาอ์เคาะตัมอัลกุรอานในการละหมาดตะรอวีหฺ - ประเด็นที่แปด การอ่านดุอาอ์กุนูตเป็นระยะเวลานาน