ซุฟอัม อุษมาน - บทความ
จำนวนเนื้อหา: 416
- ไทย นักเขียน : อับดุลร็อซซาก บิน อับดุลมุห์สิน อัล-อับบาด อัล-บัดรฺ แปล : อัสรัน นิยมเดชา ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
กล่าวถึงความดีเจ็ดอย่างที่ส่งผลบุญต่อเนื่องหลังความตาย ที่มุสลิมควรมุ่งมั่นให้ความสำคัญในการปฏิบัติขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ คือ การบริจากกุศลทานถาวร(วะกัฟ) การสร้างมัสยิด การเผยแผ่ความรู้ การขุดแม่น้ำ การขุดบ่อ การปลูกต้นอินทผลัม การแจกจ่ายมุศหัฟ(อัลกุรอาน) การอบรมเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : อันวา สะอุ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายโองการ 123-126 จากสูเราะฮฺ ฏอฮา ซึ่งกล่าวถึงสภาพของชีวิตอันผาสุกที่ได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺด้วยการปฏิบัติตามโองการต่างๆ ของพระองค์ กับอีกชีวิตหนึ่งที่ผลักไสทางนำของพระองค์จึงทำให้ต้องตกอยู่ในความมืดบอดทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : อันวา สะอุ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
บทความว่าด้วยการตักเตือนจากการบริโภคจากทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ถูกต้องชอบธรรม พูดถึงคำสั่งห้ามไม่ให้กระทำดังกล่าวจากโองการอัลกุรอานและหะดีษ และอธิบายพิษภัยของมันจากคำสอนอิสลาม รวมถึงคำเตือนจากบรรดาผู้รู้ในยุคแรกของอิสลามเกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
- ไทย
- ไทย นักเขียน : มัสลัน มาหะมะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
คุฏบะฮฺอีดิลอัฎฮา ฮ.ศ.1433 กล่าวถึงเนื้อหาแห่งสันติภาพที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญอิสลามฉบับแรก ที่ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ประกาศใช้ในเมืองมะดีนะฮฺหลังจากการอพยพ เป็นปฐมบทสารแห่งสันติภาพที่แสดงถึงเจตนารมณ์ของอิสลามอย่างชัดเจนว่าสนับสนุนสันติภาพระหว่างมวลมนุษย์ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด
- ไทย นักเขียน : ซามีย์ วะดีอฺ อับดุลฟัตตาห์ อัล-เกาะดูมีย์ แปล : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
บทความคัดจากหนังสือ “รวมอายะฮฺอัลกุรอานว่าด้วยพฤติกรรมการเยาะเย้ยอิสลามและนักดาอีย์” อธิบายวิธีการตอบโต้ผู้ดูหมิ่นอิสลามตามแนวทางของอัลกุรอาน ประกอบด้วย การประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้ดูหมิ่นอิสลาม การตัดขาดจากวงชุมนุมของการดูหมิ่นล้อเลียน การโยนการเยาะเย้ยกลับไปยังผู้ดูหมิ่นเอง และการดะอฺวะฮฺเชิญชวนผู้ดูหมิ่น
- ไทย นักเขียน : ดานียา เจ๊ะสนิ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของจารีตประเพณีและอิทธิพลของจารีตประเพณีที่มีต่อกฎหมายอิสลาม โดยมุ่งเน้นนำเสนอถึงอิทธิพลของจารีตประเพณีมีต่อมนุษย์และกฎหมายทั่วไป โดยเฉพาะกฎหมายอิสลาม ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลมาก ทั้งนี้อาจเป็นในฐานะแหล่งที่มาหรือเป็นหลักการหนึ่งของการวินิจฉัยที่จำเป็นต้องพิจารณาในการใช้กฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่นักกฎหมายอิสลามจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับจารีตประเพณี ทั้งนี้เพื่อใช้ในการตีความ เพื่อเข้าใจในตัวบทกฎหมาย เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการค้นคว้าตำรากฎหมายเพื่อใช้เป็นข้อพิจารณาในการเข้าใจสถานการณ์ และสุดท้ายเพื่อใช้เป็นแนวในการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้การวิเคราะห์เอกสาร พบว่าจารีตที่มีอิทธิพลต่อกฎหมายนั้นจะต้องมีเงื่อนไขดังนี้คือ ต้องเป็นจารีตประเพณีที่ไม่ขัดกับตัวบท ต้องถูกยอมรับและใช้กันโดยทั่วไปหรือจากผู้คนส่วนใหญ่ ต้องเป็นที่ยังนิยมใช้กันอยู่ และต้องไม่มีคำยืนยันจากผู้ใช้ว่ามีเจตนาเป็นอย่างอื่นที่ผิดไปจากจารีตประเพณีดังกล่าว
- ไทย นักเขียน : ฟุอาด ซัยดาน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายเป้าหมายของสูเราะฮฺ อัล-อันฟาล คือการอธิบายกฎเกณฑ์แห่งชัยชนะ ต้องมีทั้งด้าน ร็อบบานียะฮฺ(เงื่อนไขด้านการศรัทธาเชื่อมั่น) และด้าน มาดดียะฮฺ (เงื่อนไขทางด้านวัตถุปัจจัย) สูเราะฮฺอัล-อันฟาล เป็นสูเราะฮฺมะดะนียะฮฺ ซึ่งถูกประทานลงมาหลังจากเกิดสงครามบะดัรฺ โดยถือเป็นสงครามแรกในประวัติศาสตร์อิสลามอันรุ่งโรจน์ และถือเป็นชัยชนะแรกของกองทัพแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ได้ชื่อว่า อัร-เราะหฺมาน กระทั่งเศาะหาบะฮฺบางท่านได้ตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ว่า “สูเราะฮฺบะดัร” และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ในอัลกุรอานว่า “อัลฟุรกอน” เนื่องจากสูเราะฮฺนี้มีการกล่าวถึงเหตุการณ์นี้อย่างยืดยาว และยังมีการนำเสนอแบบแผนของการทำสงครามอย่างละเอียด พร้อมทั้งยังมีการชี้แจงถึงความจำเป็นที่มุสลิมต้องเป็นวีรบุรุษ และมีจุดยืนต่อความเท็จด้วยความกล้าหาญชาญชัยและยืนหยัดอย่างมั่นคง
- ไทย นักเขียน : อัสรัน นิยมเดชา ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
มาร้องไห้กันเถอะ ! เป็นบทความสั้นๆ ที่รวบรวมหลักฐานจากหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และเศาะหาบะฮฺบางท่านเกี่ยวกับการร้องไห้ อันเนื่องด้วยสาเหตุแห่งความยำเกรงและรำลึกถึงอัลลอฮฺ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการร้องไห้ในลักษณะดังกล่าว ซึ่งจำเป็นที่มุสลิมจะต้องสำรวจตนเองและนำมาใช้เป็นแบบอย่าง
- ไทย นักเขียน : มัสลัน มาหะมะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
บทความนี้เป็นบทวิเคราะห์ของอิบนุล ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ เกี่ยวกับน้ำตาและเสียงร้องไห้ สาเหตุต่างๆ และประเภทต่างๆ ของการร้องไห้ ที่มีความลุ่มลึกและละเอียดอ่อนที่ได้รับกลั่นกรองจากรัศมีแห่งอีมานและทางนำแห่งความรู้ ของอุละมาอ์นามอุโฆษยุคฮิจญ์เราะฮฺศตวรรษที่ 8 ผู้นี้ อยากให้ทุกท่านดื่มด่ำกับบรรยากาศแห่งความรู้ เพื่อเติมเต็มอีมานที่กำลังร่อยหรอลงไปทุกวัน ให้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง
- ไทย นักเขียน : ฟุอาด ซัยดาน แปล : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายเป้าหมายของสูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ คือการย้ำให้มนุษย์เข้มแข็งในจุดยืนและไม่เป็นคนที่เหลาะแหละหรือเป็นคนในแง่ลบ สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ เป็นหนึ่งในสูเราะฮฺมักกียะฮฺที่มีเนื้อหายืดยาวที่สุด และถือเป็นสูเราะฮฺแรกที่นำเสนอเรื่องราวของบรรดานบีอย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่เรื่องราวการสร้างนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม จนถึงช่วงสุดท้ายของการสร้าง ตามด้วยเรื่องราวของท่านนบีนูหฺ ท่านนบีฮูด ท่านนบีศอลิหฺ ท่านนบีลูฏ ท่านนบีชุอัยบฺ ท่านนบีมูซา และท่านนบีมุหัมมัดของเรา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : อิสมาน จารง ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
กล่าวถึงบทบัญญัติเกี่ยวกับการจ่ายซะกาตฟิฏรฺ หรือ ซะกาตฟิตเราะฮฺ ระบุหลักฐานจากหะดีษที่เป็นต้นบัญญัติของอะมัลดังกล่าว รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนของซะกาต สิ่งใดที่ใช้ออกซะกาต ผู้ที่สามารถรับซะกาตฟิฏรฺได้ เป็นต้น เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : ยูซุฟ อบูบักรฺ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายสาเหตุต่างๆ ที่จะนำไปสู่ความเบิกบานใจ อาทิ การให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ การหาความรู้ที่ถูกต้อง การกลับตัวกลับใจสู่หนทางที่เที่ยงตรง การรำลึกถึงอัลลอฮฺ การทำดีต่อผู้อื่น การละทิ้งเรื่องไร้สาระ เป็นต้น เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
- ไทย นักเขียน : มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน แปล : อัสรัน นิยมเดชา ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
บทความอธิบายความประเสริฐที่ยิ่งใหญ่ของการละหมาดในยามค่ำคืนโดยเฉพาะในเดือนเราะมะฎอน กล่าวถึงรูปแบบต่างๆ ของการละหมาดวิติรฺในยามค่ำคืน ที่ปรากฎในแนวทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และอธิบายหุก่มการออกไปละหมาดของสตรีที่มัสยิด
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : อุษมาน อิดรีส ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
กล่าวถึงข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นกับผู้ถือศีลอด อาทิ การละเลยเวลาละหมาด การละทิ้งละหมาดญะมาอะฮฺ การอดนอนเพื่อดูสิ่งที่ไร้สาระ การสูบบุหรี่ การนอนกลางวันมากเกินไป การไม่ระวังคำพูดที่ไม่ดี ฯลฯ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
- ไทย นักเขียน : อิสมาอีล บิน กอซิม ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
คุณจะต้อนรับเราะมะฎอนอย่างไร? บทความสะกิดเตือนใจมุสลิมให้เห็นถึงความสำคัญที่แท้จริงของเดือนเราะมะฎอน ด้วยการรู้จักคุณค่าของมัน เพื่อที่จะให้หัวใจผูกพันกับมัน และตั้งใจปฏิบัติอิบาดะฮฺด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในเดือนอันยิ่งใหญ่นี้
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : อันวา สะอุ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
วิเคราะห์บทเรียนจากอัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-กะฮ์ฟฺ อายะฮฺที่ 28 กล่าวถึงความประเสริฐของการรำลึกถึงอัลลอฮฺและการเป็นเพื่อนกับคนดี หลีกเลี่ยงการคบหากับคนชั่ว เนื่องจากเป็นสิ่งที่ส่งอิทธิพลในชีวิตของคนคนหนึ่งอย่างมากทีเดียว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
- ไทย แปล : อันวา สะอุ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
บทความแนะนำแนวคิดกลุ่มอัซ-ซัยดียะฮฺโดยสรุป อาทิ นิยามกลุ่ม ผู้ก่อตั้งแนวคิด คุณลักษณะเฉพาะ ปราชญ์ในแนวคิดนี้ และข้อมูลทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการแพร่กระจายของกลุ่มลัทธินี้ในอดีตและปัจจุบัน
- ไทย
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : อิสมาน จารง ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อธิบายหะดีษบทหนี่ง เป็นคำสั่งเสียของมลาอิกะฮฺญิบรีลได้กำชับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับการกลับไปสู่โลกอาคิเราะฮฺ และเน้นในเรื่องการเตรียมตัวด้วยการกิยามุลลัยลฺ และไม่ยึดติดกับมนุษย์ด้วยกันเอง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์