معلومات المواد باللغة العربية

มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา - บทความ

จำนวนเนื้อหา: 12

  • ไทย

    ความรู้ตามทัศนะอัลกุรอาน เป็นบทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับอิสลาม โดยอาศััยปฐมโองการที่ถูกประทานลงมาจากอัลกุรอานเป็นหลักในการวิเคราะห์ นั่นคือ อายะฮฺ "อิกเรา่ะอ์" จากสูเราะฮฺ อัล-อะลัก โองการที่ 1-5

  • ไทย

    นะศีหะฮฺเตือนใจที่ฉายภาพตัวอย่างในอดีตจากยุคของบรรดาเศาะหาบะฮฺที่มีความมุ่งมั่นอยู่กับการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺตลอดเวลา ด้วยการหมั่นละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ ทำให้พวกเขาได้รับการสมญานามจากอัลลอฮฺเป็นกลุ่มชนที่มีลักษณะ รุกกะอัน สุจญะดัน หมายถึงรุกูอฺและสุญูดอย่างมากมาย บทความชิ้นนี้จะชักชวนให้เราทบทวนตัวเองและมองย้อนไปยังอดีตอันรุ่งโรจน์เพื่อเอาเยี่ยงอย่างในการใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมปัจจุบัน

  • ไทย

    นักเขียน : มัสลัน มาหะมะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    คุฏบะฮฺอีดิลอัฎฮา ฮ.ศ.1433 กล่าวถึงเนื้อหาแห่งสันติภาพที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญอิสลามฉบับแรก ที่ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ประกาศใช้ในเมืองมะดีนะฮฺหลังจากการอพยพ เป็นปฐมบทสารแห่งสันติภาพที่แสดงถึงเจตนารมณ์ของอิสลามอย่างชัดเจนว่าสนับสนุนสันติภาพระหว่างมวลมนุษย์ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด

  • ไทย

    นักเขียน : ดานียา เจ๊ะสนิ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของจารีตประเพณีและอิทธิพลของจารีตประเพณีที่มีต่อกฎหมายอิสลาม โดยมุ่งเน้นนำเสนอถึงอิทธิพลของจารีตประเพณีมีต่อมนุษย์และกฎหมายทั่วไป โดยเฉพาะกฎหมายอิสลาม ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลมาก ทั้งนี้อาจเป็นในฐานะแหล่งที่มาหรือเป็นหลักการหนึ่งของการวินิจฉัยที่จำเป็นต้องพิจารณาในการใช้กฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่นักกฎหมายอิสลามจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับจารีตประเพณี ทั้งนี้เพื่อใช้ในการตีความ เพื่อเข้าใจในตัวบทกฎหมาย เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการค้นคว้าตำรากฎหมายเพื่อใช้เป็นข้อพิจารณาในการเข้าใจสถานการณ์ และสุดท้ายเพื่อใช้เป็นแนวในการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้การวิเคราะห์เอกสาร พบว่าจารีตที่มีอิทธิพลต่อกฎหมายนั้นจะต้องมีเงื่อนไขดังนี้คือ ต้องเป็นจารีตประเพณีที่ไม่ขัดกับตัวบท ต้องถูกยอมรับและใช้กันโดยทั่วไปหรือจากผู้คนส่วนใหญ่ ต้องเป็นที่ยังนิยมใช้กันอยู่ และต้องไม่มีคำยืนยันจากผู้ใช้ว่ามีเจตนาเป็นอย่างอื่นที่ผิดไปจากจารีตประเพณีดังกล่าว

  • ไทย

    บทความโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อธิบายถึงความหมายของคำว่า อะมานะฮฺ หรือหน้าที่และความรับผิดชอบ อันเป็นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคน และจำเป็นต้องดำเนินการให้บรรลุผลตามความสามารถอย่างเต็มกำลัง รวมถึงอธิบายเงื่อนไขบางประการในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

  • ไทย

    นักเขียน : มัสลัน มาหะมะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    ภาพสะท้อนบางประการจากหัจญ์ กล่าวถึงภาพสะท้อนบางประการจากการทำหัจญ์ อาทิ 1) หัจญ์คือสัญลักษณ์ความเป็นเอกภาพ 2) หัจญ์คือภาพสะท้อนแห่งสาสน์สากลของอิสลาม 3) หัจญ์คือการปฏิเสธความเหลื่อมล้ำและวรรณะของมนุษย์ 4) หัจญ์คือโอกาสให้มุสลิมหวนรำลึกประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ของอิสลาม 5) หัจญ์ คือ กระบวนการพัฒนาจิตวิญญาณและขัดเกลาจิตใจ 6) หัจญ์ คือ การสัญจรสู่ถนนแห่งอาคิเราะฮฺ 7) หัจญ์คือเวทีภาคปฏิบัติจรรยามารยาทอันสูงส่ง 8) หัจญ์คือการประยุกต์ใช้สาสน์แห่งสันติภาพ

  • ไทย

    โอวาท 10 ข้อสำหรับหุจญาตที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนา เป็นข้อคิดและคำสั่งเสียสิบข้อที่มอบให้บรรดาหุจญาตใช้เป็นเสบียงในการปฏิบัติอะมัลและรักษาสภาพแห่งการทำดีต่างๆ ไว้เสมอ เมื่อกลับไปยังภูมิลำเนาและบ้านเกิดเมืองนอนของแต่ละคน นับเป็นคำสั่งเสียที่ควรค่าแก่การทบทวนและนำไปใช้สำหรับผู้ทำหัจญ์ทุกคน

  • ไทย

    นักเขียน : มัสลัน มาหะมะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    โรคคร้านอิบาดะฮฺ อธิบายอาการและสาเหตุที่ทำให้เกิดความขี้เกียจและไม่กระตือรือร้นในการทำความดีต่างๆ รวมถึงระบุผลเสียที่เิกิดจากโรคดังกล่าว พร้อมทั้งแนะนำวิธีการแก้ไขเพื่อไม่ให้ปัญหานี้ลุกลามและทำลายบุคลิกภาพการเป็นมุสลิมที่ดี

  • ไทย

    บทความว่าด้วยการส่งเสริมให้ทำการบริจาคทานในช่วงพิธีการหัจญ์ สำหรับหุจญาตผู้แสวงบุญ นำเสนอหลักฐานจากสุนนะฮฺที่ระบุถึงความประเสริฐของการทำทานที่เรียกว่า อัส-สิกอยะฮฺ วะ อัร-ริฟาดะฮฺ หรือการให้น้ำและอาหารแกุ่หุจญาต เพื่อเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้ได้รับซึ่งหัจญ์มับรูรที่มีผลตอบแทนเป็นสวนสวรรค์

  • ไทย

    นักเขียน : มัสลัน มาหะมะ ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    บทความในรูปคุฏบะฮฺ เชิญชวนให้สำรวจตนเองในเดือนเราะมะฎอน เพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพให้ดีขึ้นจากเดิม โดยการละทิ้งนิสัยบางประการที่ไม่เหมาะไม่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูบบุหรี่ ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้เดือนเราะมะฎอนเป็นจุดเริ่มต้นการเลิกบุหรี่

  • ไทย

    เนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ข้าพเจ้าขอมอบโอวาท 10 ประการเกี่ยวกับเนื้อแท้ของความรู้แก่พี่น้องทั้งชายและหญิง ดังต่อไปนี้

  • ไทย

    บทความที่อธิบายความหมายของความเป็นประชาชาติเดียวกันของประชาคมมุสลิม ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ อาทิ 1. ความเป็นมาของประชาชาติเดียวกัน 2. ความขัดแย้งและความเป็นเอกภาพของประชาชาติ 3. ประชาชาติเดียวกันในมิติของธรรมชาติแห่งการสร้าง 4. ประชาชาติเดียวกันในมิติของงานดะอฺวะฮฺ/ชะรีอะฮฺของอัลลอฮฺ 5. ประชาชาติเดียวกันคือประชาชาติที่ดีเลิศที่สุด 6. ความขัดแย้งที่ถูกตำหนิ 7. วิธีที่จะได้มาซึ่งความเป็นประชาชาติเดียวกัน เนื้อความเดิมเป็นบทบรรยายของ ดร.อิสมาอีล ลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เนื่องโอกาสประชุมใหญ่สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทยปี 2010