ผู้ที่ไปพบหมอดูถือว่าเขานั้นเป็นกุฟรฺหรือไม่?
ผู้ฟัตวา : มุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด
แปล: กฤติยา (ลาฏีฟา) เพศยนาวิน
ตรวจทาน: อัสรัน นิยมเดชา
สำนักพิมพ์: สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
คำอธิบาย
คำถาม: เราสามารถผนวกหะดีษสองบทนี้ให้สอดคล้องกันได้อย่างไร? "ผู้ใดที่ไปหาหมอดูเพื่อถามบางสิ่งและเชื่อหมอดู การละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับเป็นเวลาสี่สิบวัน" (บันทึกโดย มุสลิม) และหะดีษที่ว่า "ผู้ใดที่ไปหาหมอดู และเขาเชื่อในสิ่งที่หมอดูพูด เช่นนั้นเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่ประทานมาให้แก่มุฮัมมัด" (บันทึกโดย อบู ดาวูด) ในหะดีษแรกไม่ได้บ่งชี้ลงไปว่าเป็นกุฟรฺ แต่หะดีษที่สองนั้นชี้เฉพาะลงไป ?ฟัตวาจากเว็บไซต์อิสลามถามตอบ โดยเชคมุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด
-
1
ผู้ที่ไปพบหมอดูถือว่าเขานั้นเป็นกุฟรฺหรือไม่?
PDF 182.6 KB 2019-05-02
-
2
ผู้ที่ไปพบหมอดูถือว่าเขานั้นเป็นกุฟรฺหรือไม่?
DOC 1.4 MB 2019-05-02
รายละเอียดแบบเต็ม
ผู้ที่ไปพบหมอดูแล้วถามหมอดูเกี่ยวกับบางสิ่ง ถือว่าเขานั้นเป็นกุฟรฺหรือไม่?
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด
แปลโดย : กฤติยา เพศยนาวิน
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : เว็บไซต์ islamqa.com
2014 - 1435
هل يكفر من أتى عرافا وسأله عن شيء؟
« باللغة التايلاندية »
محمد صالح المنجد
ترجمة: لطيفة بنت عبدالقادر
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: موقع الإسلام سؤال وجواب
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ผู้ที่ไปพบหมอดูแล้วถามหมอดูเกี่ยวกับบางสิ่ง ถือว่าเขานั้นเป็นกุฟรฺหรือไม่?
คำถาม: เราสามารถผนวกหะดีษสองบทนี้ให้สอดคล้องกันได้อย่างไร?
« مَنْ أَتَى عَرَّافاً فَسَأَلَهُ عَنْ شَيْءٍ فَصَدَّقَهُ لَمْ تُقْبَلْ لَهُ صَلَاةٌ أَرْبَعِيْنَ يَوْماً » [رواه مسلم في صحيحه]
"ผู้ใดที่ไปหาหมอดูเพื่อถามบางสิ่งและเชื่อหมอดู การละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับเป็นเวลาสี่สิบวัน" (บันทึกโดย มุสลิม)
« مَنْ أَتَى كَاهِناً فَصَدَّقَهُ بِمَا يَقُولُ فَقَدْ كَفَرَ بِمَا أُنْزِلَ عَلى مُحَمَّد » [رواه أبو داود]
"ผู้ใดที่ไปหาหมอดู และเขาเชื่อในสิ่งที่หมอดูพูด เช่นนั้นเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่ประทานมาให้แก่มุฮัมมัด" (บันทึกโดย อบู ดาวุด)
ในหะดีษแรกไม่ได้บ่งชี้ลงไปว่าเป็นกุฟรฺ แต่หะดีษที่สองนั้นชี้เฉพาะลงไป
คำตอบ : การสรรเสริญทั้งมวลนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างสองหะดีษนี้
ความหมายจากหะดีษที่ว่า
« مَنْ أَتَى كَاهِناً فَصَدَّقَهُ بِمَا يَقُولُ فَقَدْ كَفَرَ بِمَا أُنْزِلَ عَلى مُحَمَّد » [رواه أبو داود]
"ผู้ใดที่ไปหาหมอดู และเขาเชื่อในสิ่งที่หมอดูพูด เช่นนั้นเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่ประทานมาให้แก่มุฮัมมัด" (บันทึกโดย อบู ดาวุด)
คือ ผู้ใดก็ตามที่ไปถามหมอดู และ “เชื่อ" ว่าคำทำนายของหมอดูนั้นเป็นเรื่องจริง เชื่อว่าหมอดูรอบรู้ในสิ่งเร้นลับ ถือว่าเป็นการกระทำที่กุฟรฺ (ปฏิเสธศรัทธา) เพราะมีความขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ قُلْ لَا يَعْلَمُ مَنْ فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ الْغَيْبَ إِلَّا اللَّهُ ﴾ [النمل: 65]
"จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ไม่มีผู้ใดในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินจะรู้ในสิ่งพ้นญาณวิสัยนอกจากอัลลอฮฺ และพวกเขาจะไม่รู้ว่า เมื่อใดพวกเขาจะถูกให้ฟื้นคืนชีพ" (อัน นัมลฺ: 65)
สำหรับหะดีษอีกบทหนึ่งคือ
« مَنْ أَتَى عَرَّافاً فَسَأَلَهُ عَنْ شَيْءٍ فَصَدَّقَهُ لَمْ تُقْبَلْ لَهُ صَلَاةٌ أَرْبَعِيْنَ يَوْماً » [رواه مسلم في صحيحه]
"ผู้ใดที่ไปหาหมอดูเพื่อถามบางสิ่งและเชื่อหมอดู การละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับเป็นเวลาสี่สิบวัน" (บันทึกโดย มุสลิม)
หะดีษนี้ไม่มีคำว่า "และเชื่อหมอดู" ทำให้เราทราบว่า ผู้ใดก็ตามที่ไปหาหมอดูแล้วเขาได้ถามบางสิ่งบางอย่างกับหมอดู การละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับเป็นเวลา 40 วัน แต่ถ้าหากเขาเชื่อหมอดู ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายกุฟรฺ
وبالله التوفيق، وصلى الله على نبينا محمد، وآله وصحبه وسلم
คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการและการฟัตวา
ชัยคฺ อับดุลอะซีซ บิน บาซ, ชัยคฺ อัลดุรฺเราะซัก อะฟีฟีย์, ชัยคฺ อับดุลลอฮฺ บิน ฆ็อดยาน (ฟัตวาอัล-ลัจญนะฮฺ อัด-ดาอิมะฮฺ)
ที่มา: http://islamqa.com/en/ref/HYPERLINK "http://islamqa.com/en/ref/112069"112069
http://islamqa.com/ar/ref/HYPERLINK "http://islamqa.com/ar/ref/112069"112069
หมวดหมู่เนื้อหา: