จำนวนเนื้อหา: 856
29 / 8 / 1432 , 31/7/2011
คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงความพิเศษของเดือนเราะมะฎอน ที่เวียนบรรจบมาในแต่ละปี ซึ่งเต็มไปด้วยบรรยากาศที่อบอวลด้วยจิตวิญญาณแห่งการเข้าหาอัลลอฮฺและการประกอบความดีงามต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังห่างไกลจากปัจจัยแห่งความชั่วร้ายทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมารร้ายชัยฏอนและสิ่งอื่นๆ ซึ่งบรรยากาศแบบเราะมะฎอนนี่เองที่เป็นเทศกาลแห่งความสุขที่แท้จริงของมนุษย์
25 / 8 / 1432 , 27/7/2011
เนื้อหาคุฏบะฮฺวันศุกร์ว่าด้วยหลักฐานต่างๆ ที่ระบุถึงการปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ ในเดือนเราะมะฎอน โดยเน้นในสองประการคือ การถือศีลอดและการละหมาดตะรอวีหฺ ซึ่งต้องอาศัยเงื่อนไขหลักสองอย่างคือการศรัทธาและการหวังในผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ ผู้เขียนได้ใช้วิธีการอธิบายหลักฐานโดยยกอ้างจากความเห็นของอุละมาอ์ รวมทั้งให้บทสรุปสั้นๆ ที่ได้ใจความอย่างน่าสนใจ
24 / 8 / 1432 , 26/7/2011
บทความที่วิเคราะห์เกี่ยวกับเป้าหมายของการถือศีลอด นั่นคือ เพื่อการสร้างตักวา หรือความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า เป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิต จากสภาพเดิมที่คลุกเคล้ากับการละเลยและละเมิดคำสอนของอัลลอฮฺ สู่บุคลิกใหม่ที่เป็นคุณลักษณะของผู้ศรัทธาที่แท้จริง
15 / 8 / 1432 , 17/7/2011
หนังสือที่ให้ข้อมูลและตักเตือนถึงความร้ายกาจของชัยฏอนมารร้าย ที่คอยยุแหย่ล่อลวงมนุษย์ให้กระทำความผิด ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพของระดับการศรัทธาของมุสลิม ประกอบด้วยข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงหลักคืออัลกุรอานและคำสอนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พร้อมคำอธิบายวิธีการรับมือกับภัยร้ายนี้ .. (ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 4-10-2011)
8 / 8 / 1432 , 10/7/2011
บทบรรยายสั้นๆ ที่สะกิดเตือนให้เห็นถึงความสำคัญของความพึงพอใจในสิ่งที่ตนมี ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ดีประการหนึ่งของมุสลิม เป็นวิสัยทัศน์ที่ควรค่าแก่การทบทวนและให้ความสำคัญ เพื่อชีวิตที่เรียบง่ายที่มีความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
บทบรรยายสั้นๆ ที่สะกิดเตือนให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของการปฏิบัติตามบทบัญญัติต่างๆ ในอิสลาม ซึ่งมีเรื่องง่ายๆ อีกมากมายที่มีภาคผลบุญอย่างใหญ่ หลวง แต่มักจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่หลงลืม แต่กลับไปยุ่งกับเรื่องบางเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิต
คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องตรวจสอบตนเองก่อนที่จะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺ ซึ่งในจำนวนสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์จะถูกถามก็คือ อายุขัยของเขาในชีวิตโลก ร่างกายของเขา ความรู้ของเขา และทรัพย์สินของเขา
27 / 7 / 1432 , 29/6/2011
อันตรายของการนิฟากกลับกลอก หรือการเป็นมุนาฟิก กล่าวถึงปัญหาร้ายแรงประการหนึ่งของประชาชาติมุสลิม เป็นโรคร้ายภายในสังคมที่กัดกร่อนความเข้มแข็งของประชาคมมุสลิม อธิบายประเภทและตัวอย่างต่างๆ ของสภาพมุนาฟิก พร้อมคำแนะนำที่จะทำให้รอดพ้นจากสภาพดังกล่าว จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์
23 / 7 / 1432 , 25/6/2011
คำแนะนำแด่คุณครู กล่าวถึงคำแนะนำบางประการที่จำเป็นสำหรับผู้มีหน้าที่อบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษา อาทิ การอิคลาศ การตักวา การเป็นตัวอย่าง การมีนิสัยที่ดี การสำนึกในหน้าที่รับผิดชอบ จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์
การลดสายตาลงต่ำ กล่าวถึงฟิตนะฮฺและอันตรายที่เกิดจากการไม่ระวังสายตา และอธิบายคำแนะนำในการลดสายตา ตามหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ พร้อมยกตัวอย่างข้อดีจากการลดสายตา จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์
21 / 7 / 1432 , 23/6/2011
บางส่วนจากประวัติของท่านอบู บักรฺ อัศ-ศิดดีก กล่าวถึงชีวประวัติโดยสังเขปของเคาะลีฟะฮฺอบูบักรฺ ระบุหะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงความประเสริฐของท่าน บทบาทของท่านและสถานะอันสูงส่งของท่านในอิสลาม จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์
18 / 7 / 1432 , 20/6/2011
คุฏบะฮฺวันศุกร์ พูดถึงกฎเกณฑ์ในการทดสอบต่างๆ ที่อัลลอฮฺกำหนดมาสำหรับบรรดาผู้ที่เป็นประชาชาติของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากเหล่าผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับการเผยแผ่ของท่านด้วยการสร้างความเดือดร้อนในรูปแบบต่างๆ พร้อมกับกล่าวถึงแนวทางว่าบางประการว่าควรเผชิญหน้ากับบททดสอบต่างๆ เหล่านั้นอย่างไร
อธิบายสองอายะฮฺสุดท้ายจากสูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ กล่าวถึงการแต่งตั้งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นศาสนทูต และคุณลักษณะอันประเสริฐของท่านที่มีความเอาใจใส่และเป็นห่วงเป็นใยมวลมนุษยชาติ รวมถึงผลพวงที่ท่านได้รับจากบรรดาผู้ต่อต้านการเผยแผ่ และคำแนะนำที่อัลลอฮฺได้ใช้ให้ท่านกล่าวขอพรจากพระองค์
12 / 7 / 1432 , 14/6/2011
คำถาม ขอทราบหุก่มของผู้ที่ละทิ้งการถือศีลอดเราะมะฎอนเป็นเวลาสองวัน โดยไม่ได้ถือศีลอดชด จนกระทั่งเดือนเราะมะฎอนของปีใหม่มาถึง อะไรคือหุก่มสำหรับกรณีนี้ ขอให้ท่านได้อธิบายด้วย ? ตอบโดยเชค อับดุลอะซีซ บิน บาซ
คำถาม ฉันได้ละทิ้งการถือศีลอดบางวันในเดือนเราะมะฎอนของปีที่แล้ว ตอนนี้ฉันรู้สึกกังวลใจ เนื่องจากว่าเดือนเราะมะฎอนของปีนี้กำลังใกล้เข้ามา โดยที่ฉันยังไม่ได้ถือศีลอดชดใช้ของปีที่แล้ว ดังนั้น จะให้ฉันถือศีลอดชดใช้ของปีที่แล้ว หรือว่าให้ฉันยืดเวลาชดออกไปแล้วให้ฉันถือศีลอดของปีนี้ไปก่อน? ตอบโดยเชค อับดุลอะซีซ บิน บาซ
2 / 7 / 1432 , 4/6/2011
สู่การเป็น ค็อยเราะอุมมะฮฺ หรือ ประชาชาติที่ดีเลิศ ด้านจริยธรรม วินัย และจิตบริการ อธิบายแนวทางจากอัลกุรอานสู่การสร้างปัจเจกบุคคล และกลุ่มชนที่ทำงานทำนุบำรุงความดีงามให้แก่สังคมและโลก วิเคราะห์จากหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เดิมเป็นสาส์นจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามเนื่องในโอกาสค่ายพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยปี 2011.
26 / 6 / 1432 , 30/5/2011
นะศีหะฮฺกล่าวเตือนสะกิดใจให้เห็นถึงพิษภัยบางประการของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ที่ผู้คนส่วนใหญ่อาจจะไม่เคยคำนึงถึง ซึ่งมักจะใช้มันในทางที่ผิดและก่อผลเสียให้กับตัวเองโดยไม่รู้ตัว แม้กระทั่งตัวเองได้เสียชีวิตไปแล้วก็ตาม
22 / 6 / 1432 , 26/5/2011
บทความตักเตือนว่าด้วยเรื่องการพูดขำขันและหยอกล้อโดยไม่คำนึงถึงมารยาทที่ดี ซึ่งอาจจะมีผลเสียแฝงอยู่มากมาย โดยยกตัวอย่างผลเสียดังกล่าวบางประการ และจำเป็นที่มุสลิมจะต้องระวังตัว จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์
กล่าวถึงความสำคัญของฮิดายะฮฺ หรือทางนำจากพระผู้เป็นเจ้า และระบุประเภทต่างๆ ของทางนำ รวมถึงวิธีการที่จะทำให้ได้มาซึ่งทางนำจากพระเจ้า และรักษามันไว้ตลอดไป จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์
20 / 6 / 1432 , 24/5/2011
หนึ่งบทใคร่ครวญกับอายะฮฺ โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่ากล่าวว่า “รออินา” แต่จงกล่าวว่า “อุนซุรนา” เป็นโองการที่กล่าวถึงมารยาทต่อท่านนบี และห้ามเลียนแบบชาวยิวที่เล่นลิ้นด่าทอท่าน