จำนวนเนื้อหา: 856
20 / 6 / 1432 , 24/5/2011
คุฏบะฮฺวันศุกร์ : มนุษย์ สิ่งถูกสร้างอันประเสริฐที่สุด กล่าวอธิบายพระคุณอันยิ่งใหญ่ที่พระเจ้าได้ประทานให้กับมนุษย์ สิ่งถูกสร้างที่ได้รับความพิเศษต่างๆ เหนือสรรพสิ่งอื่นๆ ในโลกนี้ อันเป็นเหตุที่จักต้องระลึกในพระคุณดังกล่าว และทำหน้าที่ตามที่ได้รับมาอย่างสมเกียรติ พร้อมอธิบายวิธีการที่จะรักษาและเพิ่มระดับการเอาใจใส่เกียรติที่ได้รับนี้อย่างไร
7 / 6 / 1432 , 11/5/2011
กล่าวถึงประเด็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัญหาของหนุ่มสาวที่ครองโสดจนล่วงเลยวันอันสมควร ด้วยข้ออ้างต่างๆ ที่เป็นสาเหตุในเรื่องนี้ จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์
3 / 6 / 1432 , 7/5/2011
คุฏบะฮฺวันศุกร์ : เกียรติของมนุษย์ กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่อัลลอฮฺได้ยกเกียรติให้แก่มนุษย์ด้วยความพิเศษต่างๆ เหนือกว่าสิ่งอื่นๆ ทั้งหมด ซึ่งมนุษย์มีหน้าที่ต้องรักษาเกียรติที่ได้รับนี้ และต้องขวนขวายเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แก่ตัวเอง รวมทั้งต้องระวังจากกับดักของชัยฏอนที่จะทำให้เราทำลายเกียรติอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์เสียเอง
เราคือประชาชาติเดียวกัน หรือ ประชาชาติเดียวกัน คือ หลักการหนึ่งของ อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ บทวิเคราะห์แนวคิดการแตกเป็นกลุ่มต่างๆ ของประชาชาติมุสลิม และอธิบายจุดยืนของกลุ่มที่รอดพ้น (ฟิรเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ) ต่อกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ ภายใต้กรอบของความเป็นประชาชาติเดียวกัน (อุมมะตัน วาหิดะฮฺ) อันจะนำไปสู่เอกภาพและสันติสุขของมนุษย์โลกทั้งผอง
13 / 5 / 1432 , 17/4/2011
คุฏบะฮฺวันศุกร์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณลักษณะของมุสลิมที่ถูกระบุในท้ายสูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตา หรือ อิบาดุรเราะห์มาน เป็นคำชี้นำเกี่ยวกับบุคลิกภาพของมุสลิมที่อัลกุรอานได้นำเสนอไว้เป็นบรรทัดฐานสำหรับการสร้างคนให้เป็นปัจเจกบุคคลที่มีคุณภาพ
11 / 5 / 1432 , 15/4/2011
รวมหะดีษต่างๆ ของนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าด้วยเตาบะฮฺ การกลับเนื้อกลับตัว จำนวนสิบกว่าหะดีษ จากหนังสือริยาฎุศศอลิฮีน ของอิมาม อัน-นะวะวีย์
2 / 5 / 1432 , 6/4/2011
ความอดทนและการละหมาด คือหนทางสู่ความสำเร็จ บทความที่อธิบายถึงปัจจัยสำคัญสำหรับมุอ์มินผู้ศรัทธาที่มุ่งมั่นไขว่คว้าความสำเร็จ บนเส้นทางชีวิตที่เต็มไปด้วยบททดสอบในโลกนี้ โดยอาศัยโองการของอัลลอฮฺในสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 153 เป็นตัวนำทาง พร้อมคำอธิบายจากบรรดาอุละมาอ์
29 / 4 / 1432 , 4/4/2011
มองเหตุการณ์แผ่นดินไหวจากคำสอนอิสลาม บทความที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน กับคำสอนต่างๆ ในอิสลาม ประกอบด้วย บทนำ การเกิดแผ่นดินไหวตามหลักวิทยาศาสตร์ การเกิดแผ่นดินไหวในทัศนะอิสลาม แผ่นดินไหวคือบทลงโทษจากพระเจ้า แผ่นดินไหวเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ แผ่นดินไหวคือสัญญาณวันสิ้นโลก สรุป
27 / 4 / 1432 , 2/4/2011
คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงตัวอย่างจากประชาชาติของเหล่าศาสนทูตต่างๆ ในอดีต ที่เคยต้องประสบกับภัยพิบัติและความพินาศ อันเนื่องมาจากการที่พวกเขาปฏิเสธคำสอนของพระผู้เป็นเจ้าและก่อความหายนะบนแผ่นดิน เป็นอุทาหรณ์จากอัลกุรอานที่ควรต้องคำนึงถึงและใช้เป็นบทเรียนสำหรับมวลมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งต้องอาศัยอยู่ท่ามกลางภัยพิบัติต่างๆ มากขึ้นทุกวัน
22 / 4 / 1432 , 28/3/2011
บทตักเตือนทั่วไป เกี่ยวกับการเอาใจใส่เรื่องละหมาด การรักษาอะมานะฮฺหรือสิ่งที่ได้รับมอบหมาย การหลีกห่างจากบาปและความผิด และการมีจรรยามารยาทที่ดี พร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์
13 / 4 / 1432 , 19/3/2011
คุฏบะฮฺวันศุกร์ พูดถึงเหตุการณ์อันเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ด้วยมุมมองที่อิงจากคำสอนของอิสลาม และเปรียบเทียบกับตัวอย่างต่างๆ ในอดีตของมนุษยชาติที่ถูกระบุไว้ในอัลกุรอาน พร้อมเรียกร้องให้ทบทวนบทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวนี้
5 / 4 / 1432 , 11/3/2011
บทความเกี่ยวกับการความประเสริฐของกิยามุลลัยลฺ หรือการละหมาดในยามค่ำคืน อันเป็นภารกิจสุดประเสริฐที่อิสลามกระตุ้นและสนับสนุน พร้อมยกตัวอย่างจากการปฏิบัติจริงของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และเศาะหาบะฮฺของท่าน จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์
2 / 4 / 1432 , 8/3/2011
คุฏบะฮฺวันศุกร์ ว่าด้วยคุณลักษณะของผู้ที่ตักวาต่ออัลลอฮฺ (ยกอ้างอายะฮฺที่ 133-135 จากสูเราะฮฺ อาลอิมรอน) ซึ่งประการหนึ่งก็คือการกลับตัวสู่อัลลอฮฺเมื่อผิดพลาดไปกระทำความผิด และการหมั่นอิสติฆฟารฺ โดยได้อธิบายถึงความสำคัญและเหตุจูงใจที่ทำให้มุสลิมต้องกล่าวอิสติฆฟารฺอย่างสม่ำเสมอ พร้อมยกตัวอย่างจากบรรดาผู้คนในอดีตที่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวนี้
26 / 3 / 1432 , 2/3/2011
คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงสุนนะฮฺต่างๆ ที่เป็นภารกิจของมุสลิมในวันศุกร์ อันเป็นวันสำคัญประจำสัปดาห์ในศาสนาอิสลาม ซึ่งควรที่มุสลิมจะต้องเอาใจใส่และให้ความสำคัญด้วยการเอาปฏิบัติภารกิจต่างๆ เหล่านั้นให้สมบูรณ์ตามที่มีแบบอย่างมาจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
21 / 3 / 1432 , 25/2/2011
หนึ่งบทใคร่ครวญต่อพระดำรัสของอัลลอฮฺจากสูเราะฮฺ อาล อิมรอน อายะฮฺที่ 14-17 เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสันดานมนุษย์ที่มีความปรารถนาในทรัพย์สินและลาภยศ จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์
2 / 3 / 1432 , 6/2/2011
คุฏบะฮฺวันศุกร์ ณ มัสยิดวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ว่าด้วยเรื่องสภาพของหนุ่มสาวมุสลิมกับวันวาเลนไทน์ เป็นข้อตักเตือนเพื่อให้สังคมเห็นถึงพิษภัยของปัญหาการละเมิดขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง ในเทศกาลของศาสนิกอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อ หมิ่นเหม่ต่อการสูญเสียสภาพความเป็นมุสลิม
เกร็ดวิธีการท่องจำอัลกุรอาน เรียบเรียงโดยเชค อับดุลมุหฺสิน อัล-กอสิม อิมาม และเคาะฏีบ มัสยิดนะบะวีย์ นครมะดีนะฮฺ อธิบายถึงวิธีการและการจัดเรียงสูเราะฮฺต่างๆ ที่ผู้ท่องจำควรนำไปปฏิบัติ เพื่อการท่องจำที่ง่ายขึ้น รวดเร็ว และแม่นยำ
26 / 2 / 1432 , 1/2/2011
คุฏบะฮฺวันศุกร์ อธิบายถึงคุณค่าของการได้เป็นมนุษย์และการที่อัลลอฮฺได้ให้เกียรติแก่เขา ด้วยการสร้างสรรค์รูปร่างที่สง่างามและประทานทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์มีความจำเป็นต้องใช้ ในขณะเดียวกันมนุษย์กลับไม่สำนึกถึงคุณค่าดังกล่าว ซ้ำยังได้ทำลายมันด้วยการทำความชั่วและก่อความอธรรมแก่ตัวเอง
ตารางเพื่อการท่องจำและทบทวนอัลกุรอาน ที่เรียบเรียงไว้เพื่อเป็นตัวช่วยแด่ครูผู้สอนท่องอัลกุรอานในการทำหน้าที่สอนท่องอัลกุรอานแก่นักเรียนหรือผู้สนใจ และเพื่อง่ายต่อการทบทวนและติดตามนักเรียนให้สมบูรณ์มากขึ้น เหมาะสำหรับใช้ทั้งในระบบหะละเกาะฮฺหรือใช้ส่วนตัว