- กุรอานและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
- ซุนนะฮฺและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
- ความเชื่อและศรัทธา
- เตาฮีด
- อิบาดะฮฺ
- การเชิญชวนและวัฒนธรรมอิสลาม
- การศรัทธา
- ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับอีหม่าน
- อิหสาน
- การปฏิเสธศรัทธา
- การกลับกลอก
- การตั้งภาคี
- บิดอะฮฺ (อุตริกรรม)
- เศาะหาบะฮฺและวงศ์วานของท่านนบี
- การตะวัสสุล
- วะลายะฮฺและกะรอมาตเอาลิยาอ์
- ญิน
- วะลาอ์และบะรออ์
- อะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ
- ศาสนาต่างๆ
- กลุ่ม แนวคิด และศาสนาต่างๆ
- กลุ่มต่างๆในอิสลาม
- แนวความคิดร่วมสมัย
- ฟิกฮฺและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
- ฟิกฮฺอิบาดาต
- นิติศาสตร์ธุรกรรมการเงิน
- การบนบาน
- นิติศาสตร์ครอบครัว
- การแพทย์ การรักษา และการเสกเป่าตามหลักชะรีอะฮฺ
- อาหารและเครื่องดื่ม
- ความผิดทางอาญา
- นิติศาสตร์ว่าด้วยความขัดแย้งและการตัดสินความ
- การญิฮาด
- นิติศาสตร์ร่วมสมัย
- นิติศาสตร์ว่าด้วยชนกลุ่มน้อย
- การเมืองการปกครอง
- มัซฮับฟิกฮฺ
- ฟัตวา
- อุศูลุลฟิกฮฺ
- หนังสือเกี่ยวกับอัลฟิกฮฺ
- ความประสริฐของอามัลและฏออัตและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
- ภาษาอาหรับ
- การเรียกร้องสู่ศาสนาของอัลลอฮ์
- มุสลิมต้องทำอะไร?
- การขัดเกลาจิตใจ และการตักเตือน
- การใช้ให้ทำความดีและยับยั้งความชั่ว
- สภาพการณ์การดะวะฮฺ
บทความ
จำนวนเนื้อหา: 858
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การแต่งงานเป็นเรื่องธรรมชาติที่อัลลอฮฺสร้างมา และเป็นแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ที่ได้กระทำและใช้ให้ปฏิบัติ และส่งเสริมให้กระทำเพราะเป็นการปกป้องอวัยวะเพศ และทำให้สามารถควบคุมจิตใจ และทำให้มีลูกหลานมุสลิมอย่างมากมาย เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
อะมานะฮฺเป็นเรื่องใหญ่ อัลลอฮฺทรงให้ใช้รักษา ทำตาม และดูแลอะมานะฮฺ และทรงชมเชยคนที่มีอะมานะฮฺ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่า ไม่มีศาสนา สำหรับคนไม่มีอะมานะฮฺ และการปล่อยให้มันสูญหายไปเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาณของกาลอวสาน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
มารยาทในที่ชุมนุมประการหนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม มีสุนนะฮฺไว้ เพื่อยับยั้งสิ่งต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจกันในระหว่างมุสลิมด้วยกัน คือ ไม่ให้คนสองคนคุยกระซิบความลับกันโดยไม่บอกคนที่สามเมื่อในที่ชุมนุมมีเพียงสามคนเท่านั้น และเช่นกันท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการที่คนๆหนึ่งจะเข้าไปนั่งแทรกคนสองคน นอกจากจะต้องขออนุญาตทั้งสองนั้นเสียก่อน เพราะบางทีทั้งสองอาจกำลังมีเรื่องที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ก็ได้ และมารยาทอีกประการหนึ่งคือให้จบการนั่งชุมนุมด้วยดุอาอ์กัฟฟาเราะฮฺ(สิ่งลบล้าง)การชุมนุม เพื่อที่จะลบล้างความผิดเล็กๆน้อยๆที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมได้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
มารยาทในการชุมนุมประการหนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ชี้แนะให้รวมกันในที่ชุมนุม ไม่แตกแยกแบ่งกลุ่มกัน และไม่ให้คนใดใช้ให้อีกคนลุกขึ้นเพื่อที่เขาจะได้เข้าไปนั่งแทน และให้ผู้ชุมนุมช่วยกันขยายวงให้กว้างขึ้น และเช่นกันผู้ใดที่ได้ลุกออกไปแล้วกลับเข้ามายังที่เดิมของเขา เขาก็ย่อมมีความชอบธรรมที่สุดที่จะนั่งตรงที่เดิมนั้น และผู้ที่มาใหม่นั้นตามสุนนะฮฺคือให้นั่งต่อท้ายที่ชุมนุม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ที่ชุมนุมและการนั่งชุมนุมกันในอิสลามนั้นมีมารยาทและสุนนะฮฺต่างๆ ที่มุสลิมทั้งหลายควรพยายามรักษาเอาไว้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ให้คำชี้แนะถึงมัน เพื่อที่การชุมนุมของเรานั้นจะได้การเป็นชุมนุมที่ดีมีความจำเริญ และอัลลอฮฺทรงพอพระทัย เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การขออนุญาตนั้นเป็นมารยาทหนึ่งที่อิสลามส่งเสริมให้กระทำ เพราะเพื่อเป็นการปกปิดป้องกันเอาเราะฮฺและเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น การขออนุญาตถูกกำหนดให้ทำสามครั้งโดยการเคาะที่ประตู หรือการขอเข้าไป หากได้รับอนุญาตก็ดี แต่หากไม่ก็จงกลับไป และไม่ให้ขอเกินสามครั้ง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การตอบรับคำเชิญนั้นเป็นสิทธิของมุสลิมที่พี่น้องของเขาจะต้องกระทำให้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้กำชับใช้มันเพราะเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ทางสังคมและครอบครัวมุสลิมให้แข็งแกร่ง และการละทิ้งการตอบรับคำเชิญเพื่อร่วมรับประทานอาหารนั้นถือเป็นการฝ่าฝืนต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ความฝันนั้นมีสิ่งที่เป็นมารยาทและสุนนะฮฺต่างๆที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม มีแบบอย่างไว้ สมควรที่มุสลิมจะต้องพยายามรักษาเพื่อให้เขารอดพ้นจากชัยฏอนและจากการกระซิบกระซาบของมันด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ ที่มันพยายามใช้มันทำร้ายผู้ศรัทธา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ความฝันเรื่องราวของมันนั้นยิ่งใหญ่ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เคยถามถึงความฝันของบรรดาเศาะหาบะฮฺ และตีความให้พวกเขา และท่านก็บอกกล่าวว่า การฝันดีนั้นมาจากอัลลอฮฺ และการฝันร้ายนั้นมาจากชัยฏอน และท่านก็ได้เตือนไม่ให้โกหกเรื่องของความฝัน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การนอนนั้นมีมารยาทและสุนนะฮฺต่างๆ ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำเป็นแบบอย่าง และได้สอนมันแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน หนึ่งในนั้นก็คือ ให้นอนโดยมีน้ำละหมาดอยู่ และให้กล่าวดุอาอ์ก่อนนอนและดุอาอ์หลังตื่นนอน และท่าทางการนอนที่ถูกต้อง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
สุนัขนั้นถือเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ศาสนาห้ามมีไว้ครอบครอง ไม่มีข้ออนุโลมใดๆ นอกจากจะเป็นจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น เพราะมันมีผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพ และเพราะมลาอิกะฮฺไม่เข้าบ้านที่ข้างในมีสุนัขอยู่ หรือเพราะเหตุผลอื่นๆอีกที่อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง ดังนั้น มุสลิมจึงควรระวังไม่มักง่ายนำสุนัขเข้ามาในบ้านโดยไม่มีความจำเป็น เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การสร้าง หรือวาดภาพของสิ่งที่มีวิญญาณเป็นบาปใหญ่ประเภทหนึ่ง ผู้ทำรูปภาพจะถูกลงโทษอย่างหนักที่สุดในวันกิยามะฮฺ จะถูกลงโทษจากรูปทุกใบที่เขาเขียนขึ้นมา และจะมีเสียงกล่าวแก่พวกเขาว่า จงให้ชีวิตแก่สิ่งที่พวกเจ้าสร้างมาด้วยสิ และไม่มีการแยกใดๆ ระหว่างการปั้นเป็นรูป และการวาดรูปด้วยมือ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
สุนนะฮฺในวันศุกร์ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้ทำและสัญญาว่าจะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่ คือการอ่านสุเราะฮฺอัล-กะฮ์ฟฺ และเช่นกันท่านยังได้แนะนำให้เศาะละวาตแก่ท่านให้มากๆ อีกทั้งยังมีมารยาทอีกประการหนึ่งในวันศุกร์คือการหลีกเลี่ยงสิ่งใดๆก็ตามอันเป็นการรบกวนคนมาละหมาด หรือทำให้พวกเขาเสียสมาธิ ไม่ว่าจะโดยการก้าวข้ามตัวเขา หรือพูดคุยกับคนมาละหมาด ถึงแม้ว่าจะทำไปเพื่อฃเป็นการแสดงความรังเกียจก็ตาม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
วันศุกร์ คือวันชุมนุมพบปะของพี่น้องมุสลิม ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงส่งเสริมคนมาละหมาดให้ทำความสะอาด และให้ใช้เครื่องหอม เพื่อให้เขามีกลิ่นหอม จะได้ไม่สร้างความรำคาญกับผู้คนรอบข้างเขา และได้มีหะดีษหลายบทที่ชี้ให้เห็นถึงการเน้นย้ำใช้ให้อาบน้ำยกหะดัษ จนกระทั้งปราชญ์ผู้รู้บางคนถึงกับกล่าวว่าการอาบน้ำยกหะดัษเป็นวาญิบสำหรับการละหมาดวันศุกร์เลยทีเดียว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : อุศนา พ่วงศิริ ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
กล่าวถึงภาวะแห่งความรู้สึกปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮฺ ซึ่งนำไปสู่การหลงลืมและกระทำสิ่งที่ผิดโดยไม่แยแส รวมทั้งอธิบายภาวะความสิ้นหวังจากเมตตาของอัลลอฮฺ โดยอธิบายผ่านหลักฐานต่างๆ จากอัลกุรอาน หะดีษ และคำพูดของบรรดาอุละมาอ์ ซึ่งสองภาวะนี้ถือว่าอันตรายทั้งสิ้น บ่าวจึงจำเป็นจะต้องให้มีความสมดุลระหว่างความกลัวและความหวังที่มีต่ออัลลอฮฺ เป็นบทความจากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
- ไทย นักเขียน : อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปล : อุศนา พ่วงศิริ ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
กล่าวถึงผลบุญแห่งความดีบางประการที่ผู้ตายยังคงได้รับหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว อาทิ ดุอาอ์ที่มุสลิมขอให้แก่เขา ผู้ปกครองหรือญาติถือศีลอดชดใช้แทนผู้ตาย การชดใช้หนี้สินแทนผู้เสียชีวิต คุณงามความดีที่ลูกได้กระทำ ร่องรอยความดีงามและกุศลทานที่ส่งผลต่อเนื่อง เป็นบทความจากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การรักเพื่ออัลลอฮฺ คือการที่ท่านรักคนๆหนึ่งเพราะเขาเป็นบ่าวคนที่เชื่อฟังอัลลอฮฺ และความรักที่มีต่อเขานั่นก็จะพูนขึ้นตามเมื่อการเชื่อฟังอัลลอฮฺของเขาเพิ่มขึ้นด้วย และความรักแบบนี้นั้นเป็นหนึ่งในอะมัลที่ดีที่สุด เพราะมันเกิดขึ้นไม่ได้นอกจากจะต้องมีความบริสุทธิ์ใจจริงๆต่ออัลลอฮฺเท่านั้น ปราศจากเป้าหมายใดๆในดุนยา และรางวัลตอบแทนของเขาคือความรักของอัลลอฮฺจะบังเกิดแก่เขา และพระองค์จะให้เขาได้อยู่ใต้ร่มเงาของพระองค์ในวันกิยามะฮฺ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การเยี่ยมเยียนกันเพื่ออัลลอฮฺมีความประเสริฐอย่างยิ่งและมีรางวัลตอบแทนอย่างใหญ่หลวง มันคือสิ่งที่เกิดจากการรักเพื่ออัลลอฮฺ และการหวังผลบุญจากพระองค์ ไม่ได้เป็นเพราะผลประโยชน์ในดุนยานี้แต่อย่างใด ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกกล่าวว่า รางวัลของมันนั้นคือ ความรักของอัลลอฮฺ และชัยชนะด้วยสวรรค์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การรักและการโกรธเพื่ออัลลอฮฺนั้นคือสายใยศรัทธาที่แน่นแฟ้นที่สุด และผู้ศรัทธานั้นถูกใช้ให้มีความรักต่อผู้ศรัทธาและคนดีทั้งหลาย และ(ถูกใช้)ให้โกรธไม่พอใจพวกผู้ปฏิเสธ และความรักความโกรธแบบนี้นั้นเป็นเรื่องศาสนาเพื่อการใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ และคนเรานั้นจะถูกต้อนให้มารวมอยู่กับคนที่เขารักในวันกิยามะฮฺ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
- ไทย นักเขียน : รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม แปล : สะอัด วารีย์ ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี สำนักพิมพ์ : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
การผ่อนปรนของอัลลอฮฺที่มีต่อประชาชาตินี้ และยกเอาความลำบากออกไปจากพวกเขาประการหนึ่ง คือการที่พระองค์ทรงบัญญัติให้ย่อละหมาดที่มีสี่ร็อกอะฮฺในช่วงเดินทาง ให้เหลือละหมาดสองร็อกอะฮฺ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ในช่วงเดินทางของท่าน ท่านจะย่อละหมาดที่มีสี่ร็อกอะฮฺ และไม่อ่านเพิ่มเกินจากสองร็อกอะฮฺ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม